ระบบควบคุมแดมเปอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ III Plus (EDC III +) คือ ระบบควบคุมแรงหน่วงของแดมเปอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จุดมุ่งหมายของระบบคือ การปรับแรงหน่วงในการสั่นสะเทือนของแดมเปอร์ที่จำเป็น ให้เข้ากับสภาวะการขับขี่ และ สภาพถนน เพื่อให้สามารถขับรถได้ปลอดภัยที่สุด พร้อมทั้ง มีความนุ่มนวลสูงสุด
เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว คุณลักษณะของระบบจะใช้เซ็นเซอร์ต่อไปนี้ ในการบันทึกสภาพการขับขี่ เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว, เซ็นเซอร์ความเร็ว, เซ็นเซอร์อัตราเร่งตัวถังรถด้านหน้า, เซ็นเซอร์อัตราเร่งตัวถังรถด้านหลัง
โดยขึ้นอยู่กับข้อมูลของเซ็นเซอร์ที่สัมพันธ์กับสภาพการขับขี่เหล่านี้ ชุดควบคุม EDC จะสั่งงานวาล์วแดมเปอร์ที่รวมอยู่ในโช๊คอัพ ในระดับ "นุ่ม", "กลาง" หรือ "แข็ง"
โดยการใช้ปุ่มโปรแกรม EDC คนขับสามารถเลือกใช้โปรแกรมอื่นได้อีก 2 โปรแกรม "โปรแกรมสปอร์ต" ซึ่งเลือกได้จากปุ่มตำแหน่ง "S" และ "โปรแกรมคอมฟอร์ท" ในปุ่มตำแหน่ง "K" ในโปรแกรมสปอร์ต แดมเปอร์เปลี่ยนแปลงยาก คือ จะไม่มีการตั้งแดมเปอร์แบบ "นุ่ม" ในตำแหน่ง "K" ทั้ง 3 ระดับจะทำงาน คือ จะมีเส้นกราฟลักษณะการทำงานของ โปรแกรมสปอร์ต และ โปรแกรมคอมฟอร์ท
เนื่องจาก โปรแกรม EDC ("สปอร์ต" และ "คอมฟอร์ท") เลือกได้โดยการกดปุ่ม (ไม่ใช้สวิตช์โยก) เฉพาะไฟ LED ที่อยู่ภายในปุ่มเท่านั้น ที่แสดงว่าโปรแกรมใดถูกเลือกใช้งานอยู่ในขณะนั้น เมื่อ LED ที่สัญลักษณ์ "S" ติดสว่าง EDC จะทำงานใน "โปรแกรมสปอร์ต" ถ้าไฟ LED ดับ ระบบจะทำงานใน "โปรแกรมคอมฟอร์ท" จะทำงานในลักษณะนี้อย่างแน่นอน ถ้าระบบ EDC ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์
จุดสำคัญ !
ถ้าระบบ EDC ไม่สามารถทำงานได้ (ยกตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ตัวหนึ่งเกิดความบกพร่อง) หรือ เกิดความผิดปกติในลักษณะที่ว่า ไม่สามารถรับรองสมรรถภาพในการเกาะถนน สำหรับทุกสภาพถนนได้ หลักการเพื่อความปลอดภัย (รวมไว้ในซอฟท์แวร์ของชุดควบคุม EDC ) จะปิดระบบ EDC ทั้งหมด ในกรณีเช่นนี้ LED ในสวิตช์เลือกจะดับ ถึงแม้ว่าจะทำงานใน "โปรแกรมสปอร์ต" เพื่อให้แน่ใจในเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของรถยนต์ ในกรณีที่ระบบต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้, แหล่งจ่ายไฟไปยังวาล์วแดมเปอร์ถูกตัด นั่นคือ วาล์วเหล่านั้นจะสั่งให้ทำงานในระดับ "แข็ง" เท่านั้น ถึงแม้ว่า ลักษณะการหน่วงรถยนต์จะแข็งขึ้นโดยทันที ก็จะสามารถทำงานต่อไปได้ โดยไม่เสียสมรรถภาพในการยึดเกาะถนน และ สามารถนำเข้าศูนย์บริการครั้งต่อไปได้อย่างปลอดภัย
ระบบควบคุมแดมเปอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ III Plus มีความสามารถในการวิเคราะห์การรบกวนที่เกิดขึ้นที่ แหล่งจ่ายไฟและสายสัญญาณของวาล์วแดมเปอร์, ความบกพร่องและสภาพที่ผิดปกติของ เซ็นเซอร์และสายที่เกี่ยวข้อง จะบันทึกไว้ในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติของชุดควบคุม
หมายเหตุ
ความผิดปกติในระบบ EDC ที่ตรวจพบในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ โดยอาศัยโปรแกรม "โมดูลทดสอบ"
ตามหลักการทำงานของ E38 โปรแกรม EDC จะเลือกได้โดยการกดปุ่ม (ตรงกันข้ามกับสวิตซ์โยก ที่ใช้ในระบบ EDC ก่อนหน้านี้ )
ปุ่มโปรแกรมที่มีเครื่องหมายตัวอักษร "K" ใช้สำหรับ "โปรแกรมคอมฟอร์ท" และ "S" สำหรับ "โปรแกรมสปอร์ต"
เมื่อเลือกใช้โปรแกรมสปอร์ต ไฟ LED ที่ตัวอักษร "S" จะติดสว่าง ไฟ LED จะดับอยู่เมื่อเลือกใช้โปรแกรมคอมฟอร์ท
ความสว่างของไฟที่ปุ่มจะลดลง เมื่อเปิดไฟหน้า
จุดสำคัญ !
ถ้าการทำงานของระบบ EDC III Plus ถูกรบกวนต่อเนื่องกัน ระบบจะถูกสั่งให้หยุดทำงาน ไฟ LED ในปุ่มโปรแกรมจะดับ
หน้าที่ของเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวคือ การบันทึกมุมพวงมาลัยขณะขับขี่
ชุดควบคุม EDC จะพิจารณาทั้ง มุมบังคับเลี้ยวที่แท้จริง และ ความเร็วของมุมบังคับเลี้ยว คือ การเปลี่ยนมุม ในลักษณะเช่นนี้ ตัวแปรของมุมบังคับเลี้ยว และ ความเร็วของมุมบังคับเลี้ยว จะมีผลกระทบต่อโลจิกการทำงานของระบบ EDC
เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวจะติดตั้งอยู่บนแกนหมุนพวงมาลัย เซ็นเซอร์ประกอบด้วยแกน 2 แกนที่ทำมุมกัน 90 องศา ช่วงการวัดของตัวเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว เริ่มจาก 180 องศาทางด้านซ้าย ไปยัง 180 องศาทางด้านขวา และ ตำแหน่งตรงไปข้างหน้า คือ ตำแหน่งศูนย์กลางของพวงมาลัย ซึ่งเป็นตำแหน่ง 0 องศา
จุดสำคัญ !
ถ้ามีการเปลี่ยนเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว หรือ ถ้ามีความจำเป็นต้องทำงานกับระบบเพลาด้านหน้า หรือ ระบบบังคับเลี้ยวล้อหน้า จะต้องทำการปรับตั้งออฟเซ็ตของมุมบังคับเลี้ยวที่เคยตั้งไว้ หลังจากที่ทำงานนั้นเสร็จแล้วจะใช้โปรแกรมวิเคราะห์ เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว
ออฟเซ็ตของมุมบังคับเลี้ยว จะสามารถเลือกได้ใน ฟังก์ชั่นบริการ หลังจากตั้งให้ล้อหน้าให้อยู่ในตำแหน่งตั้งตรง และทำการกดปุ่มยืนยันการทำงาน ชุดควบคุมจะดำเนินการตามกระบวนการปรับตั้งออฟเซ็ตโดยอัตโนมัติ ตำแหน่งที่ 0 องศา ของเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวในขณะนี้ จะสัมพันธ์กับตำแหน่งตั้งตรงไปข้างหน้าของล้อหน้า
ความเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อยอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากตำแหน่งตรงไปข้างหน้าของพวงมาลัย จะสามารถตั้งได้โดยใช้สายตาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวได้รับการชดเชยโดยชุดควบคุม EDC ขณะที่รถแล่นไป
ชุดควบคุม EDC จะจ่ายไฟเลี้ยง 5 โวล์ทให้กับเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว ข้อมูลจะส่งผ่านไปยังชุดควบคุมผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น
เซ็นเซอร์วัดอัตราเร่งด้านหน้า จะบันทึกอัตราเร่งของตัวถังรถที่ด้านหน้าในทิศทางแนวตั้ง
อัตราเร่งตัวถังรถเกิดขึ้น เนื่องปฏิกริยาตอบสนองของรถยนต์ต่อพื้นผิวถนน นอกจากอัตราเร่งสมบูรณ์แล้ว ยังมีการบันทึกความถี่ของอัตราเร่งด้วย นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงอัตราเร่ง (การสะท้อนของสปริง/การเด้งกลับ) หรือ ในอีกลักษณะหนึ่งคือความถี่ของการสั่นสะเทือนของตัวถังรถยนต์
เซ็นเซอร์อัตราเร่งได้รับไฟเลี้ยง 12 โวล์ทจากชุดควบคุม
สัญญาณเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 0 ถึง 5 โวล์ทจะส่งไปยังชุดควบคุม ค่า 2.5 โวล์ท แสดงถึงตำแหน่งปกติ (อัตราเร่ง = 0) ค่า 0 โวล์ทและ 5 โวล์ทเป็นค่าอัตราเร่งสูงสุด
จุดสำคัญ !
เพื่อที่จะตรวจเช็คการทำงานของเซ็นเซอร์ สามารถเลือก "เซ็นเซอร์อัตราเร่งด้านหน้า" ซึ่งอยู่ในชุดคำสั่ง "การทดสอบการทำงาน" ในโปรแกรมการวิเคราะห์
การตรวจสอบด้านนอกรถยนต์
ถอดเซ็นเซอร์ ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ 12 โวล์ทและขั้วลบ แล้วจึงทำการตรวจเช็คการทำงาน โดยการวัดแรงดันไฟฟ้าที่สัญญาณเอาต์พุต ในขณะที่ขยับตัวเซ็นเซอร์ไปมา ถ้าเซ็นเซอร์ทำงานอย่างถูกต้อง ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ จะมีค่าประมาณอยู่ระหว่าง 0 - 5 โวล์ท (ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ นั่นคือ ขนาดของอัตราเร่ง)
ตำแหน่งติดตั้งเซ็นเซอร์ : เบ้าโช๊คด้านขวามือบนแผงด้านข้าง ใต้แผ่นป้องกันใต้รถ
เซ็นเซอร์อัตราเร่งด้านหลัง จะบันทึกอัตราเร่งของตัวถังรถยนต์ที่ด้านหลังในทิศทางแนวตั้ง
อัตราเร่งตัวถังรถยนต์เกิดจาก ปฏิกริยาตอบสนองของรถยนต์ที่มีต่อพื้นผิวถนน นอกจากอัตราเร่งสมบูรณ์แล้ว ความถี่ของอัตราเร่งก็จะได้รับการบันทึกไว้ด้วย นั่นคือ การเปลี่ยนอัตราเร่ง (การสะท้อนของสปริง/การเด้งกลับ) หรือ อาจเรียกว่า ความถี่การสั่นสะเทือนของตัวถังรถยนต์
เซ็นเซอร์อัตราเร่งจะรับไฟ12 โวล์ทจากชุดควบคุม
เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณเอาต์พุต เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 0 ถึง 5 โวล์ทไปยังชุดควบคุม ค่า 2.5 โวล์ท แสดงถึงตำแหน่งปกติ (อัตราเร่ง = 0) ค่า 0 และ 5 โวล์ท เป็นค่าอัตราเร่งสูงสุด
จุดสำคัญ !
เพื่อที่จะตรวจเช็คการทำงานของเซ็นเซอร์ สามารถเลือก "เซ็นเซอร์อัตราเร่งด้านหน้า" ซึ่งอยู่ในชุดคำสั่ง "การทดสอบการทำงาน" ในโปรแกรมการวิเคราะห์
การตรวจสอบภายนอกรถยนต์
ถอดเซ็นเซอร์ ต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ 12 โวล์ทและขั้วลบ และ ทำการตรวจสอบการทำงาน โดยการวัดค่าแรงดันไฟฟ้าที่สัญญาณเอาต์พุต ในขระที่ขยับเซ็นเซอร์ไปมา ถ้าเซ็นเซอร์ทำงานอย่างถูกต้อง ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 5 โวล์ท (ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหว นั่นคือ ขนาดของอัตราเร่ง)
ตำแหน่งติดตั้งเซ็นเซอร์ เบ้าโช็คด้านหลังทางขวา ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากช่องเก็บสัมภาระ หลังจากถอดแผ่นรองออกแล้ว
ระบบ EDC III Plus ใช้แดมเปอร์รับแรงสะเทือนที่พัฒนาขึ้นใหม่ พร้อมกับชุดวาล์วรวม ซึ่งหน้าสัมผัสต่อกันโดยผ่านทางก้านสูบ
การทำงานร่วมกันของวาล์วสองตัว ทำให้สามารถปรับระดับการหน่วงได้ 3 ระดับ แดมเปอร์ "แข็ง", แดมเปอร์ "ปานกลาง" และ แดมเปอร์ "นุ่ม"
นอกจากการออกแบบที่กระทัดรัดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ EDC ตัวเก่าแล้ว ยังสามารถที่จะลดน้ำหนักของแดมเปอร์รุ่นใหม่ได้อีกด้วย
ชุดควบคุม EDC จะรับสัญญาณความเร็ว จากเซ็นเซอร์ความเร็วล้อหน้าซ้ายของระบบ ABS
จากเซ็นเซอร์ความเร็วดังกล่าว สัญญาณจะส่งผ่านไปยังชุดควบคุม ABS ซึ่งจะส่งสัญญาณต่อไปยังชุดควบคุม EDC สัญญาณความเร็วที่ได้รับจากชุดควบคุม EDC เป็นสัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยม (0 ถึง 12 โวล์ท)
อัตราเร่งด้านข้างและความเร็วเชิงมุมที่สัมพันธ์กัน สามารถคำนวณได้ โดยใช้หลักการวัดค่าความเปลี่ยนแปลงความเร็วรถ และ มุมพวงมาลัย
การคำนวณการเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถยนต์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องคำนวณอัตราเร่งในแนวยาว