ระบบปรับอากาศ

 

สามารถเปิดระบบปรับอากาศได้ โดยกดปุ่มระบบปรับอากาศ ไฟแสดงการทำงาน จะแสดงว่า ระบบปรับอากาศอยู่ในโหมดสแตนด์บาย

คอมเพรสเซอร์จะทำงานได้ เมื่อสภาพต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการเปิดใช้งานเท่านั้น อีแวปเพอเรเตอร์ จะผลิตอากาศเย็น ไปถึงอุณหภูมิที่ต้องการ ในโหมดทำความร้อนซ้ำ โดยอาศัยระบบแลกเปลี่ยนความร้อน

เงื่อนไขการเปิดใช้งาน

ON (สภาพต่างๆ ทั้งหมด ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข)

OFF (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง)

โหมดตั้งเวลา (เปิดและปิด ทุกๆ รอบเวลา 20 วินาที)

เทอร์มินอล 15 ON

เทอร์มินอล 15 OFF

อุณหภูมิสารหล่อเย็น มากกว่า 117 o C และ น้อยกว่า120 o C

ปุ่มปรับการไหลอากาศคนขับ ไม่อยู่ที่ตำแหน่งศูนย์

ปุ่มปรับการไหลอากาศคนขับ อยู่ที่ตำแหน่งศูนย์

 

การสแตนด์บายระบบปรับอากาศ ON (ไฟแสดงการทำงาน ON)

การสแตนด์บายระบบปรับอากาศ OFF (ไฟแสดงการทำงาน OFF)

 

อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ > 3 o C

อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ < 2 o C

 

อุณหภูมิสารหล่อเย็น < 117 o C

อุณหภูมิสารหล่อเย็น > 120 o C - 3 o C ฮีสเตอริซีส

 

สัญญาณระบบการปรับอากาศ ส่งจาก DME (คอมเพรสเซอร์ ON)

สัญญาณโหลดเต็มที่ จาก DME เป็นสาเหตุให้มีการตัดการทำงานชั่วคราว

 

ผ่านช่วงเวลาหน่วง 5 วินาที (สำหรับการเร่งความเร็วรอบเครื่องให้ > 600 rpm)

ความเร็วลดลงต่ำกว่าค่าต่ำสุด (400 rpm)

 

ชุดควบคุมคอมเพรสเซอร์

เพื่อที่จะป้องกันการเกิดน้ำแข็งที่อีแวปเพอเรเตอร์ จึงมีการตรวจอุณหภูมิทางออกโดยใช้เซ็นเซอร์ (เซ็นเซอร์อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์) และ คอมเพรสเซอร์ที่ควบคุมด้วยคัปปลิงโซลินอยด์

ถ้าติดตั้งคอมเพรสเซอร์ที่ควบคุมโดยทางกล อุณหภูมิตัดการทำงานของอีแวปเพอเรเตอร์ จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก ถ้าอุณหภูมิภายนอก เพิ่มมากกว่า 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิตัดการทำงาน จะลดลงไป 1 องศาเซลเซียส

หมายเหตุ

สามารถตรวจเช็ค การให้รหัสชุดควบคุม ได้ โดยการใช้การวิเคราะห์ "3 ฟังก์ชั่นบริการ" , "2 การอ่านข้อมูลรหัส" .และ ด้วยวิธีนี้ จะสามารถกำหนดประเภทคอมเพรสเซอร์ได้ (แบบควบคุม/แบบไม่ควบคุม) และ จะทำการติดตั้งและให้รหัสการอินเตอร์เฟส (สัญญาณ PWM/สัญญาณพื้นฐาน)

การอินเตอร์เฟสต่าง ๆ ที่ต่อกับชุดอิเล็กทรอนิกส์เครื่องยนต์ดิจิตอล คือ :

1 : สัญญาณ PWM

เอาต์พุตของชุดควบคุม DME_KO จะใช้เพื่อ ส่งผ่านสัญญาณที่เตรียมไว้ (DME_AC) และ สัญญาณเริ่มทำงาน (DME_KO) ของคอมเพรสเซอร์แบบควบคุมไปยัง DME ขั้นตอนการทำงานแต่ละขั้นตอน จะได้รับการส่งผ่าน โดยใช้การรวมสัญญาณตามความกว้างพัลส์ ที่มีความถี่ 5 Hz

พัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์ ในหน่วย %

การทำงาน

0

ลัดวงจรไปที่แรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือ สายไฟขาด

15

ระบบปรับอากาศ OFF

30

การสแตนด์บายระบบปรับอากาศ (DME_AC) ON

45

คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ON, ระดับ 1 = 5-10 Nm

60

คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ON, ระดับ 2 = 10-15 Nm

75

คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ON, ระดับ 3 = 15-20 Nm

90

คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ON, ระดับ 4 = 20-24 Nm

100

ลัดวงจรลงกราวนด์

เมื่อเป็นสัญญาณย้อนกลับ สัญญาณ DME_KOREL (รีเลย์คอมเพรสเซอร์) จะได้รับการส่งจาก DME ผ่านทางสายที่สอง ไปที่ชุดควบคุมการปรับอากาศ เพื่อที่จะเปิดการทำงานคอมเพรสเซอร์ปรับอากาศ

 

2. สัญญาณพื้นฐาน

กดปุ่มระบบปรับอากาศ เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องปรับอากาศทำงาน ซึ่งจะทำให้ความเร็วรอบเดินเบาเพิ่มขึ้น โดยผ่านสัญญาณ DME_AC ทางสายแยกต่างหากกัน โดยเอาต์พุต DME_KO จะส่งผ่านบนสายอีกสายหนึ่ง ชุดควบคุมการปรับอากาศ จะส่งสัญญาณไปที่ DME เพื่อสั่งให้คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงาน

DME จะสั่งให้ตัวเรือนปีกผีเสื้อเคลื่อนไปในด้าน "อากาศมากขึ้น" และ ยังเพิ่มอัตราการฉีดเชื้อเพลิงด้วย และเมื่อเป็นสัญญาณย้อนกลับ สัญญาณ DME_KOREL (รีเลย์คอมเพรสเซอร์) จาก DME จะได้รับการส่งผ่านทางสายอีกสายหนึ่ง ไปยังชุดควบคุมการปรับอากาศ เพื่อที่จะเริ่มการทำงานคอมเพรสเซอร์ปรับอากาศ ถ้าสภาพต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด ในการเริ่มทำงานของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ ชุดควบคุมจะสั่งให้คอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศทำงานโดยตรง

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง การสูญเสียน้ำมากเกินไปจากอีแวปเพอเรเตอร์ หลังจากปิดระบบการปรับอากาศในขณะขับขี่ ให้ทำการเปิดและปิดคอมเพรสเซอร์พื้นฐาน ตามช่วงเวลา15 นาทีที่ตั้งไว้ ด้วยวิธีนี้ อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ จะค่อยๆ ปรับเข้ากับค่าอุณหภูมิภายนอก โหมดทำงานตามช่วงเวลา จะไม่มีในคอมเพรสเซอร์แบบควบคุมโดยทางกล

ตัวควบคุมแรงดัน

ตัวควบคุมแรงดันแบบสามช่วงควบคุม จะเปิดระบบจ่ายไฟที่จ่ายไปที่คลัทช์อิเล็กทรอแมกเนติก เมื่อความดันของน้ำยาทำความเย็น ลดลงต่ำกว่าความดันต่ำสุดที่ตั้งไว้ หรือเกินกว่าความดันสูงสุดที่กำหนดไว้

ความดันต่ำ

ความดันขนาดกลาง

ความดันสูง

ON < 2.8 +/- 0.2 bar

ON > 20.0 +/- 1 bar

ON > 33.0 +/- 1 bar

OFF >1.9 +/- 0.2 bar

OFF < 17.5 +/- 1 bar

OFF < 23.5 +/- 1 bar

ชุดควบคุมอีแวปเพอเรเตอร์

ตัวควบคุมอุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ ประกอบด้วยตัวควบคุมแบบสองจุด โดยทำงานตาม การเปลี่ยนการทำงานของขั้วบวก ที่มีค่า 1 o K ฮิสเตอรีซิส ระบบทำความเย็นจะได้รับการสั่งให้ทำงาน เมื่ออุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ > 3 o C และ หยุดการทำงานเมื่ออุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์< 2 o C ฟังก์ชั่นนี้ จะป้องกันการเป็นน้ำแข็งที่อีแวปเพอเรเตอร์

อุณหภูมิสารหล่อเย็น

ชุดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของแผงหน้าปัด (IKE) จะมีเซ็นเซอร์สารหล่อเย็นอยู่ที่ระบบหม้อน้ำ สัญญาณเซ็นเซอร์แบบอนาล็อก จะผ่านกระบวนการใน IKE และ ได้รับการอ่านค่าโดย IHKA ผ่านทาง K บัส

เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูงเกินไป จะมีการตรวจสถานะน้ำหล่อเย็น โดยระบบการปรับอากาศ ที่อุณหภูมิสารหล่อเย็น มากกว่า 117o C คลัทช์คอมเพรสเซอร์ จะทำงานและหยุดทำงานในช่วงเวลา 20 วินาที ถ้าอุณหภูมิสารหล่อเย็น เกินกว่า 120 o C คลัทช์คอมเพรสเซอร์จะหยุดทำงาน จนกระทั่งอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 117o C คลัทช์คอมเพรสเซอร์จะทำงานอีกครั้งหนึ่ง ที่อัตรา100%

การตัดการทำงานขณะโหลดเต็มที่

เพื่อที่จะลดเวลาในการเร่งรอบเครื่องยนต์ จากการเดินเบาจนถึงโหลดเต็มที่ ให้น้อยลง จะหยุดทำงานคลัทช์อิเล็กทรอแมกเนติกตามเวลาที่กำหนดไว้ ขณะที่ปีกผีเสื้อเปิดเต็มที่ เวลาการหยุดการทำงาน อยู่ระหว่าง 7 และ 10 วินาที โดยขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องยนต์

สภาพขณะโหลดเต็มที่ : สัญญาณความเร็ว < 14 km/h และ อัตราเร่ง

การเดินเบาเพิ่มขึ้น (ป้องกันเครื่องดับ)

เพื่อไม่ให้มีการรบกวนการทำงานเนื่องจากโหลดคอมเพรสเซอร์ จะมีสายควบคุม DME_AC และ DME_KO เพื่อที่จะควบคุม DME โดยการใช้ชุดควบคุมการปรับอากาศ

เอาต์พุตชุดควบคุมการปรับอากาศ DME_AC สั่งให้เพิ่มการเดินเบา โดยเปิดการทำงานในชุดการปรับอากาศ โดย DME เมื่อมีสัญญาณ DME จะเพิ่มความเร็วรอบเดินเบา ประมาณ 110 - 200 rpm โดยไม่คำนึงถึงคลัทช์อิเล็กทรอแมกเนติก

ฟังก์ชั่นการเพิ่มรอบเดินเบา (ป้องกันเครื่องดับ) สามารถทำเพิ่มเติมได้ โดยการให้รหัส

ออปชั่น 1 : หลังจากเปิดเครื่องกำจัดฝ้ากระจกหลัง และ โบลเวอร์อยู่ในตำแหน่งสูงสุด, ไฟต่ำหรือไฟสูง

ออปชั่น 2 : เมื่อตรวจพบไฟตก จะสั่งให้ฟังก์ชั่นการเพิ่มรอบเดินเบาทำงาน เมื่อเทอร์มินอล 30 < 11.4 V และ หยุดการทำงานที่เทอร์มินอล 30 > 12.2 V

พัดลมเสริม ระดับ 1

ระบบการปรับอากาศจะเริ่มทำงานที่ระดับ 1 ของพัดลมเสริม โดยการสั่งงานผ่านทางรีเลย์ เมื่อคลัทช์คอมเพรสเซอร์ทำงาน และ อุณหภูมิภายนอก มากกว่า 10 o C พัดลมเสริมจะหยุดทำงาน เมื่อปิดคลัทช์คอมเพรสเซอร์ หรือ เมื่ออุณหภูมิภายนอก น้อยกว่า 8 o C

เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย จะเริ่มการทำงานในระดับ 1 ผ่านทางสวิตช์เทอร์โมสตัทด้วย เมื่ออุณหภูมิสารหล่อเย็นประมาณ 91 o C โดยไม่คำนึงถึง ข้อมูลในชุดควบคุมระบบปรับอากาศ

พัดลมเสริม ระดับ 2

ชุดควบคุมระบบการปรับอากาศ จะไม่เป็นตัวสั่งงานพัดลมเสริมระดับ 2

พัดลมเสริมระดับ 2 จะทำงานโดยผ่านทางรีเลย์ เมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเกินกว่า 99 o C หรือ เมื่อตัวควบคุมแรงดันขนาดกลาง หยุดทำงาน