ระบบนำทาง

ระบบนำทางเป็นออพชั่นหนึ่งของระบบออนบอร์ดมอนิเตอร์

ระบบจะทำงานผ่านแผงควบคุมออนบอร์ดมอนิเตอร์ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางควบคุมเส้นทางที่วางแผนไว้ สัญญาณเสียงและการแสดงผลที่มองเห็นได้จะสร้างจากโมดูลวิดีโอ

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางต่อไปยังโมดูลวิดีโอ ผ่านสายข้อมูล ARCNET

คอมพิวเตอร์ระบบนำทาง จะไม่มีส่วนที่ต่อเข้ากับบัสการวิเคราะห์ในตัวของมันเอง ดังนั้นจึงต้องทำการวิเคราะห์ผ่านทางสายข้อมูล ARCNET และโมดูลวิดีโอ

ฟังก์ชั่นเริ่มต้นจากเทอร์มินอล R

การทำงาน

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางอยู่ที่ด้านหลังของรถยนต์ ซึ่งประกอบด้วยไดรฟ์ซีดี สำหรับใช้ในการโหลดซีดีที่มีข้อมูลแผนที่ถนนแบบดิจิตอล

เครื่องรับ GPS (ดาวเทียม) (GPS = ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก) จะทำการกำหนดตำแหน่งของรถในขณะนั้น

นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางยังรับข้อมูลที่เกี่ยวกับทิศทาง จากเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก และ ข้อมูลที่สัมพันธ์กับระยะทางที่ใช้จากชุดควบคุม ABS

ผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลตำแหน่งใดๆ โดยใช้ชุดสั่งงานออนบอร์ดมอนิเตอร์ หลังจากนั้น คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะใช้ตำแหน่งนี้ เพื่อวางแผนเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดจากตำแหน่งในขณะนั้น โดยอาศัยหลักเกณฑ์ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเอง (คือ ทางด่วน, ถนนสายหลัก, ถนนสายรอง) แล้วจึงแสดงเส้นทางให้เห็นบนแผนที่ถนน

ขณะกำลังขับ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะมีเสียงและภาพที่สัมพันธ์กับเส้นทางที่แนะนำ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่รับจาก GPS เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก และ ชุดควบคุม ABS เช่น ข้อมูลการเลี้ยว รวมทั้งระยะทางที่จะไปถึงทางแยก หรือ ข้อมูลการเข้าเลนที่ถูกต้องให้ทันเวลา เป็นต้น

ถ้าคนขับไม่ขับตามเส้นทางที่แนะนำ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะแนะนำ เส้นทางให้เลือก

ระบบทำงานเฉพาะในบริเวณที่เป็นดิจิตอล (ทั้ง บริเวณที่เป็นแผนที่โดยละเอียด และ บริเวณที่เป็นแผนที่โดยสังเขป) ของซีดีแผนที่

อุปกรณ์

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางพร้อมไดรฟ์ซีดี

ชุดควบคุมระบบนำทาง จะรวมมาพร้อมกับไดรฟ์ซีดีในชุดเดียวกัน ชุดควบคุมจะมีปุ่มนำออกสำหรับซีดี และ LED ซึ่งทำหน้าที่เป็นไฟแสดงว่า "เปิดเครื่อง" และ "มีซีดีอยู่"

ใส่ซีดีแผนที่ถนนรุ่นปัจจุบันในไดรฟ์ซีดี ระบบนำทางทำงานได้เฉพาะเมื่อใส่แผ่นซีดีแผนที่ถนนแล้วเท่านั้น ไฟ LED "มีซีดีอยู่" บนคอมพิวเตอร์ระบบนำทาง จะติดสว่างเมื่อโหลดซีดีเข้าไปอย่างถูกต้อง และสามารถโหลดซอฟท์แวร์ระบบนำทางรุ่นใหม่ จากซีดีซอฟท์แวร์โดยการใส่เข้าไปในไดรฟ์ได้อีกด้วย (อ้างถึง "การโหลดซอฟท์แวร์")

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะทำการวางแผนเส้นทางเดิน มีการส่งข้อความที่สัมพันธ์กันผ่านทางสาย ARCNET ไปยังโมดูลวิดีโอซึ่งควบคุมระบบแนะนำโดยใช้ภาพ และ แสดงสัญลักษณ์ด้วยภาพรวมทั้งเสียงคำแนะนำด้วย ระบบนำทางทำงานได้โดยการสั่งงานผ่านชุดสั่งงานของออนบอร์ดมอนิเตอร์

ไฟ LED แสดงการทำงานจะติดสว่าง เมื่อเทอร์มินอล R รายงานว่าไม่มีความผิดปกติภายในในคอมพิวเตอร์ระบบนำทาง และ ไม่มีความผิดปกติบนสาย ARCNET

ไฟ LED แสดงการทำงานจะกระพริบช้าๆ (ประมาณ 1 Hz) ถ้าตรวจพบความผิดปกติภายใน และ กระพริบอย่างเร็ว (ประมาณ 3 Hz) ถ้ามีความผิดปกติในการติดต่อทางสาย ARCNET

ซีดีแผนที่

ซีดีแผนที่ประกอบด้วยแผนที่ถนนแบบดิจิตอล

ระบบนำทางทำงานได้เฉพาะเมื่อใส่แผ่นซีดีแผนที่ถนนแล้วเท่านั้น

แผนที่ถนนแบบดิจิตอลจะประกอบด้วย บริเวณที่เป็นแผนที่โดยละเอียด (แสดงอย่างละเอียด) และ บริเวณที่เป็นแผนที่โดยสังเขป (แสดงโดยสังเขป)

ชุดควบคุม ABS / เซ็นเซอร์ความเร็ว

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะรับสัญญาณของเซ็นเซอร์ความเร็ว ด้านหน้าขวาและด้านหน้าซ้าย จากชุดควบคุม ABS ผ่านสายสองเส้น

จากสัญญาณเหล่านี้ คอมพิวเตอร์ได้รับข้อมูลที่สัมพันธ์กับระยะทางที่ใช้ และการเปลี่ยนทิศทาง และทำการระบุตำแหน่งของรถยนต์เข้ากับแผนที่

เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก ติดตั้งอยู่ในชั้นวางของที่กระจกหลัง และ ช่วยกำหนดทิศทางสัมบูรณ์ในการขับขี่ จุดประสงค์เพื่อที่จะ ระบุตำแหน่งรถยนต์เข้ากับแผนที่ (โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเลี้ยว)

โดยทั่วไป ต้องระมัดระวัง เพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีสิ่งของที่เป็นสื่อแม่เหล็ก (รวมทั้งร่ม) อยู่ในบริเวณใกล้เคียงชั้นวางของที่กระจกหลัง เพราะสิ่งเหล่านี้ จะมีผลต่อการทำงานของเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

GPS

GPS (g lobal p ositioning s ystem) หรือ ระบบการกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก จะกำหนดตำแหน่งที่แท้จริง ระบบนี้ประกอบด้วย เสาอากาศดาวเทียมติดตั้งอยู่ที่ชั้นวางของที่กระจกหลัง และ ชุดควบคุม GPS ซึ่งจะประเมินสัญญาณที่รับได้จากเสาอากาศ และ คำนวณตำแหน่งปัจจุบัน

ระบบพร้อมที่จะทำงานเมื่อเทอร์มินอล R

ถ้าถอดแบตเตอรี่ออก ข้อมูลของ GPS ทั้งหมดที่บันทึกไว้จะหายไป รวมทั้งตำแหน่งสุดท้ายที่บันทึกไว้ด้วย เมื่อต่อแบตเตอรี่ถูกต่อกลับใหม่อีกครั้ง และ เปิดสวิตช์เทอร์มินอล R จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที เพื่อให้ชุดควบคุมกำหนดตำแหน่งปัจจุบันอีกครั้ง

ถ้ามีการขนส่งรถยนต์เป็นระยะเวลานานโดยปิดสวิตช์เทอร์มินอล R (เช่น รถไฟบรรทุกรถยนต์) จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ในการกำหนดตำแหน่งปัจจุบันได้อีกครั้ง หลังจากเปิดสวิตช์เทอร์มินอล R โดยที่ไม่มีการปิดกั้นการรับสัญญาณดาวเทียม สามารถลดระยะเวลาให้สั้นลงได้ โดยใส่ตำแหน่งใหม่เข้าไปเอง

ต้องระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีสิ่งของที่เป็นสื่อแม่เหล็ก (รวมทั้งร่ม) อยู่ในบริเวณชั้นวางของที่กระจกหลัง เพราะจะมีผลต่อการรับสัญญาณ GPS

ข้อมูลเกี่ยวกับการรับสัญญาณดาวเทียม

ข้อมูลเกี่ยวกับการรับสัญญาณดาวเทียมต่อไปนี้ มีในโหมดระบบนำทาง :

การติดต่อดาวเทียม จะแสดงโดย "เครื่องหมาย GPS" ที่ขอบบนขวาของจอแสดงแผนที่ เครื่องหมาย GPS มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมสีดำขนาดเล็ก และ สัญลักษณ์รูปโลก นอกจากนี้จะแสดงดังต่อไปนี้อีกด้วย :

สัญญาณที่รับได้อาจขาดหายไปชั่วคราว ในบริเวณที่มีสิ่งกีดขวางการติดต่อโดยตรง ระหว่างดาวเทียมกับรถยนต์ ซึ่งได้แก่ตึกสูง หรือ สิ่งกีดขวางทางธรรมชาติ (ตึงสูงหลายชั้น, ต้นไม้ เป็นต้น) ในกรณีนี้ จะไม่ปรากฏสัญลักษณ์ดาวเทียมในเครื่องหมาย GPS แต่จะมีเฉพาะจุดสีเขียวเท่านั้น

สัญญาณไฟถอยหลัง

คอมพิวเตอร์ระบบนำทางรับสัญญาณ "ถอยหลัง" ผ่านเอาต์พุตของโมดูลไฟ สำหรับไฟถอยหลังด้านขวา

ถ้าวงจรจ่ายไฟสำหรับไฟถอยหลังขวาหรือหลอดไฟ ผิดปกติ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะไม่ได้รับสัญญาณใดๆ เมื่อเข้าเกียร์ถอยหลัง ในกรณีนี้ ทำการตรวจสอบค้นหาสาเหตุต่อไปในโมดูลไฟ

เครื่องทำความร้อนกระจกหลัง

เนื่องจากสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นโดยระบบทำความร้อนกระจกหลัง มีผลต่อการวัดของเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะรับข้อมูล "เครื่องทำความร้อนกระจกหลัง เปิด" จากชุดควบคุมการปรับอากาศผ่าน I บัส และ สาย ARCNET เพื่อคำนวณค่าชดเชยสำหรับองค์ประกอบที่เข้ามารบกวน ด้วยเหตุนี้ ต้องแน่ใจว่าที่ทำความร้อนกระจกหลังทำงานอย่างถูกต้อง

ต้องปรับเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็กอีกครั้ง หลังจากซ่อมกระจกหลัง

การปรับเทียบ

ถ้ามีการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ระบบนำทาง หรือ ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่อพ่วงใดๆ จำเป็นต้องทำการขับเพื่อปรับเทียบแบบสมบูรณ์หรือแบบบางส่วน เพื่อปรับอุปกรณ์ต่อพ่วงและคอมพิวเตอร์ให้เข้ากัน

อุปกรณ์ที่เปลี่ยน

การปรับเทียบที่จำเป็น

คอมพิวเตอร์ระบบนำทาง

การขับเพื่อปรับเทียบแบบสมบูรณ์

เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

ยางรถ/ล้อ

การปรับเทียบล้อ

GPS

ไม่มี

กระจกหลัง/เครื่องทำความร้อนกระจกหลัง

เซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

เงื่อนไข

หมายเหตุ

ต้องปิดสวิตช์โหลดใช้งานทางไฟฟ้า เช่น เครื่องทำความร้อนกระจกหลัง, ระบบการปรับอากาศ ทั้งหมด ในระหว่างการขับเพื่อปรับเทียบ

ถ้าตำแหน่งไม่เหมาะสม ข้อความที่สอดคล้องกันจะปรากฏบนออนบอร์ดมอนิเตอร์ ในระหว่างการขับเพื่อปรับเทียบ

ฟังก์ชั่นที่ใช้ได้ :

ขั้นตอนการปรับเทียบ :

คำแนะนำจะปรากฏที่ออนบอร์ดมอนิเตอร์

ต้องทำการโหลดซีดีแผนที่

ถ้าคอมพิวเตอร์ระบบนำทางยังใหม่ และ ยังไม่ได้ทำการปรับ เมนูการปรับเทียบจะปรากฏขึ้นทันที หลังจากเลือกระบบนำทาง

มิฉะนั้น จะเข้าสู่เมนูการปรับเทียบโดยเลือกระบบนำทาง : ข้อมูล - การแสดงตำแหน่ง - ให้กดปุ่ม "เมนู" เป็นเวลาประมาณ 5 วินาที

ขั้นตอนการปรับเทียบจะถูกแบ่งเป็น (แต่ละจุดสามารถเลือกแบ่งกันได้) :

การป้อนข้อมูลรถยนต์

ต้องใส่ข้อมูลระยะช่วงล้อหน้า-หลัง และ ความกว้างล้อรถ

การทดสอบเซ็นเซอร์

ข้อความต่อไปนี้ อาจปรากฏที่ออนบอร์ดมอนิเตอร์ในระหว่างการทดสอบเซ็นเซอร์ :

การทดสอบเซ็นเซอร์จะเสร็จสมบูรณ์ เมื่อข้อความแสดงความผิดพลาดหรือ "การปรับเทียบเสร็จสมบูรณ์" ปรากฏขึ้น

ถ้าได้ทำการทดสอบเซ็นเซอร์นี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการตรวจสอบค้นหาสาเหตุแล้ว ควรทำการตรวจสอบค้นหาสาเหตุต่อไป หลังจากเข้าสู่ โปรแกรมวิเคราะห์เมื่อมีข้อความ "การทดสอบเซ็นเซอร์เสร็จสมบูรณ์, ทำการตรวจสอบค้นหาสาเหตุต่อไป"

การปรับเทียบล้อ

มีการส่งสัญญาณเส้นรอบวงยางรถไปยังคอมพิวเตอร์ระบบนำทาง ในระหว่างการปรับเทียบล้อ

มีความจำเป็นต้องทำการปรับเทียบล้อ หลังจากเปลี่ยนยางรถ/ล้อรถ

ต้องแน่ใจว่าความดันลมยางถูกต้อง

ขั้นตอน :

การปรับเทียบเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก

การปรับเทียบเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็กประกอบด้วย 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 :

ส่วนนี้ ต้องวัดเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็กทุกทิศทาง

มีวิธีการ 2 วิธี ที่สามารถนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์นี้ :

ส่วนที่ 2 : สามารถทำได้ หลังจากทำส่วนที่ 1 เสร็จสมบูรณ์แล้วเท่านั้น

มีวิธีการที่สามารถใช้ได้ 3 วิธี (เลือกได้จากเมนูสำหรับการปรับเทียบเซ็นเซอร์สนามแม่เหล็ก)

ส่วนที่ 3 : เครื่องทำความร้อนกระจกหลัง (ทำได้เฉพาะหลังจากทำส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น)

ส่วนนี้ คอมพิวเตอร์ระบบนำทางจะกำหนดสนามแม่เหล็ก ที่สร้างโดยระบบทำความร้อนกระจกหลัง

ขั้นตอน :

กำลังทำการโหลดซอฟท์แวร์

ต้องทำขั้นตอน "โหลดซอฟท์แวร์" ถ้ามีรหัสความผิดปกติ หมายเลข 22 บันทึกอยู่ในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ หรือ ถ้ามีซอฟท์แวร์ระบบนำทางรุ่นใหม่

ขั้นตอน

เงื่อนไข : อย่างน้อย เทอร์มินอล R ON

ข้อควรระวัง !

ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง คือต้องแน่ใจว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเทอร์มินอลในระหว่างขั้นตอนการโหลด อย่างน้อยต้องเปิดสวิตช์เทอร์มินอล R ตลอดเวลา ขณะที่มีการโหลดซอฟท์แวร์

ระบบนำทางในศูนย์บริการ

การวิเคราะห์

โปรแกรมวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน 3 ชุด คือ ชุดแรกสำหรับชุดสั่งงานออนบอร์ดมอนิเตอร์ ชุดที่สองสำหรับโมดูลวิดีโอ และ ชุดที่สามสำหรับระบบนำทาง

จะเริ่มขั้นตอนการตรวจสอบค้นหาสาเหตุได้ หลังจากเลือกหน้าที่ระบุ ตำแหน่ง 1 "เริ่มการวิเคราะห์" ในโปรแกรมวิเคราะห์

ในกรณีที่เกิดอาการความผิดปกติ ร่วมกับการกำหนดตำแหน่งผิดปกติ จำเป็นต้องทำการทดสอบเซ็นเซอร์เป็นอย่างแรก ซึ่งประกอบด้วย การขับทดสอบตามที่กำหนดอย่างละเอียด (อ้างถึง การขับเพื่อปรับเทียบสำหรับคำอธิบายรายละเอียดและเงื่อนไข) โดยจะแสดงบน DIS หลังจากใส่ข้อมูลอาการความผิดปกติ

หมายเหตุ

จำเป็นต้องทำการตรวจสอบค้นหาสาเหตุต่อไป ตามข้อมูลอาการ

อ่านข้อมูลการปรับเทียบ

ตั้งแต่ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการ รุ่น 4 หรือสูงกว่า ( แสดงบนหน้าข้อมูลของโปรแกรมวิเคราะห์) จะสามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ใน คอมพิวเตอร์ระบบนำทาง ผ่านทางระบบการวิเคราะห์ ในกรณีนี้ อาจมีข้อความที่เกี่ยวกับข้อมูลการปรับเทียบว่า อยู่ภายในช่วงค่าปกติสำหรับรถยนต์ E38 หรือไม่

ถ้าได้โหลดซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการซึ่งมีฟังก์ชั่นนี้แล้ว โปรแกรมวิเคราะห์จะมีตัวเลือกที่ 2 "อ่านข้อมูลการปรับเทียบ" และ ตัวเลือกที่ 3 "ฟังก์ชั่นบริการ" หลังจากเลือก สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ได้ :

ถ้ามีค่าใดค่าหนึ่งในค่าเหล่านี้ผิดปกติ หรือ ไม่อยู่ภายในช่วงปกติสำหรับรถยนต์ E38 โปรแกรมวิเคราะห์จะบอกวิธีการปฏิบัติในการแก้ไข

เป็นไปได้ว่า ได้ทำการปรับเทียบรถยนต์อย่างถูกต้องแล้ว ถึงแม้ว่าค่าการปรับเทียบไม่อยู่ในช่วงค่าปกติสำหรับรถยนต์ E38 กรณีนี้อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าติดตั้งยางรถที่ไม่ได้มาตรฐาน (ความกว้างล้อแตกต่างกัน) หรือ ถ้าติดตั้งส่วนประกอบ ซึ่งทำให้สนามแม่เหล็กของรถยนต์เปลี่ยนไป