วิทยุ

ตรงกันข้ามกับรุ่นก่อนหน้านี้ ในรุ่น E39 จะมีวิทยุให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ด้วยวัตถุประสงค์ด้านการออกแบบและด้านสรีรศาสตร์ เพื่อที่จะลดจำนวนของจอแสดงผลและอุปกรณ์ทำงานในคอนโซลกลางของรุ่น E39 วิทยุจึงถูกออกแบบให้มีฟังก์ชั่นหลัก (เสียง, ปุ่มเลือกสถานี, การค้นหาสถานี, การเลือกแหล่ง เป็นต้น) ทำงานผ่านจอแสดงข้อมูลรวม (MID) หรือชุดควบคุมการทำงานของระบบข้อมูลวิทยุรวม (IRIS) ฟังก์ชั่นเสียงและการค้นหา สามารถทำงานผ่านพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นได้ด้วย จากนั้นจะมีการแสดงสถานะการทำงานนี้เพิ่มเติมในจอแสดงข้อความของแผงหน้าปัด (ที่มี IKE)

ระบบวิทยุ

ประเภทของวิทยุต่อไปนี้ เป็นประเภทที่มีให้สำหรับรุ่น E39 :

ชื่อทางการค้าของวิทยุ

ชุดควบคุมการทำงาน

การระบุข้อมูลภายในของ BMW

BMW reverse RDS

การระบุข้อมูลของ BMW

C32

BMW Business RDS

IRIS หรือ MID

C33

BMW Business CD RDS

IRIS หรือ MID

CD33

BMW Professional RDS

MID

C34

วิทยุออนบอร์ดมอนิเตอร์ของ BMW

ออนบอร์ดมอนิเตอร์

C23

รหัสสัญญาณกันขโมย (รหัสวิทยุ) ไม่มีความจำเป็นสำหรับวิทยุรุ่น C33, CD33, C34 และรุ่น C23 อีกต่อไป เนื่องจากวิทยุเหล่านี้ต้องทำงานร่วมกับ IRIS MID หรือออนบอร์ดมอนิเตอร์เท่านั้น เนื่องจากชุดวิทยุและชุดควบคุมการทำงานของรุ่น C32 อยู่รวมในชุดเดียวกัน วิทยุรุ่นนี้จึงถูกป้องกันไว้โดยฟังก์ชั่นรหัส (ซึ่งจะทำงานหลังจากถอดสายและต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟ)

ชุดควบคุมการทำงาน

IRIS (ระบบข้อมูลและวิทยุแบบรวม)

ชุดควบคุมการทำงาน IRIS ประกอบด้วยอุปกรณ์การทำงานและการแสดงผลสำหรับ :

ข้อมูลของปุ่มกดของ IRIS จะถูกส่งผ่านในรูปของเทเลแกรม I บัส/K บัส ไปยังชุดควบคุมที่ตรงกัน :

ชุดควบคุมเหล่านี้จะสลับกันส่งข้อมูลอักษรผ่าน I บัส/K บัส ซึ่งจะมีการแสดงไว้ในจอแสดงผล IRIS

MID (จอแสดงข้อมูลรวม)

MID จะทำงานทันทีที่มีการติดตั้งฟังก์ชั่นพิเศษเพิ่มเติมให้เลือกใช้งานได้ในรถยนต์ ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นนอกเหนือจากฟังก์ชั่นที่จะทำงานด้วย IRIS

ขึ้นอยู่กับขอบเขตของอุปกรณ์ MID ประกอบด้วยอุปกรณ์การทำงานและการแสดงผลสำหรับ :

อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเชื่อมผ่าน I บัส/K บัส ข้อมูลของปุ่มกดบน MID จะส่งผ่านในรูปของเทเลแกรม I บัส/K บัส ไปยังชุดควบคุมที่ตรงกัน ชุดควบคุมจะสลับกันส่งข้อมูลอักษรผ่าน I บัส/K บัส ซึ่งจะมีการแสดงไว้ในจอแสดงผล MID

การรับสัญญาณวิทยุ

ตรงกันข้ามกับวิทยุที่ใช้ในบ้าน วิทยุติดรถยนต์จะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพการรับสัญญาณตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะรับสัญญาณที่จุดๆ หนึ่งได้อย่างชัดเจนแล้ว แต่เมื่อเดินทางไปสักระยะหนึ่งการรับสัญญาณอาจไม่ชัดเจน สามารถตรวจสอบการรับสัญญาณได้ดีที่สุดโดยการขับรถวน เป็นวงกลม ในลักษณะเช่นนั้น เสาอากาสที่กระจกหลังจะชี้ไปได้ทุกทิศทาง

เสาอากาศกระจกหลัง

เสาอากาศสำหรับช่วงความถี่ AM (การโมดูเลตสัญญาณตามแอมพลิจูด) และช่วงความถี่ FM (การโมดูเลตสัญญาณตามความถี่) จะรวมอยู่ในกระจกหลัง สัญญาณที่ได้รับจะถูกขยายสัญญาณโดยเครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศ และจะส่งผ่านสัญญาณไปยังวิทยุโดยตรงผ่านทางสายความถี่สูง (สาย HF)

เสาอากาศไดเวอร์ซิตี้

ในเสาอากาศไดเวอร์ซิตี้ที่เป็นอุปกรณ์เสริม เสาอากาศเสาหนึ่งจะต่อเข้ากับช่วงความถี่ AM และเสาอากาศสามเสาที่เหลือจะต่อเข้ากับช่วงความถี่ FM แยกจากกัน สัญญาณคลื่น FM สามสัญญาณที่ได้รับจะต่อเข้าในเครื่องขยายสัญญาณไดเวอร์ซิตี้ ผ่านไปยังวิทยุเป็นระยะๆ โดยใช้สาย RF วิทยุจะส่งสัญญาณป้อนกลับเกี่ยวกับคุณภาพของสัญญาณเสาอากาศที่ได้รับ (สัญญาณความถี่กลาง) ไปยังระบบเสาอากาศไดเวอร์ซิตี้ ระบบเสาอากาศแบบไดเวอร์ซิตี้ จะเป็นตัวกำหนดว่า เสาอากาศทั้งสามเสา เสาใดมีคุณภาพการรับสัญญาณที่ดีที่สุดในขณะนั้น และจะใช้เสาอากาศนั้นส่งสัญญาณให้กับวิทยุ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงานของวงจรการวัดครั้งต่อไป เสาอากาศ (FM1) ที่วางในแนวตั้งในกระจกหลังจะนำมาใช้ในกรณีที่มีคลื่นรบกวนสัญญาณความถี่กลาง

ระบบลำโพง

ระบบลำโพง 3 ระบบที่มีจะไม่คำนึงถึงประเภทของวิทยุ ตรงกันข้ามกับระบบท็อปไฮไฟและระบบแอ็คทีฟไฮไฟ ลำโพงจะถูกต่อเข้ากับวิทยุในระบบสเตอริโอโดยตรงในจุดที่ต่อเครื่องขยายสัญญาณ

ระบบสเตอริโอ (อุปกรณ์มาตรฐาน)

ระบบแอ็คทีฟไฮไฟ

ลำโพงเพิ่มเติมสำหรับสเตอริโอ (ชิ้นส่วนอะไหล่แบบเดียวกัน) :

เนื่องจากการจัดเรียงปลั๊กที่แตกต่างกันมากกว่าในสเตอริโอ ลำโพงทวีทเตอร์จึงไม่ได้รับการสั่งงานโดยไดเพล็กเซอร์รวมในลำโพงด้านหน้า แต่จะได้รับการสั่งงานโดยตรงเหมือนกับลำโพงทุกตัว โดยเครื่องขยายสัญญาณ

ระบบท็อปไฮไฟ

จำนวนลำโพงและจุดที่ติดตั้งเหมือนกับระบบแอ็คทีฟไฮไฟ แต่มีคุณภาพพิเศษและยอดเยี่ยม