การรับสัญญาณวิทยุ

 

ตรงกันข้ามกับวิทยุที่ใช้ในบ้าน วิทยุติดรถยนต์จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพการรับสัญญาณอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะรับสัญญาณที่จุดๆ หนึ่งได้อย่างชัดเจนแล้ว แต่เมื่อเดินทางไปสักระยะหนึ่งการรับสัญญาณอาจไม่ชัดเจน สามารถตรวจสอบการรับสัญญาณได้ดีที่สุดโดยการขับรถวน เป็นวงกลม ด้วยวิธีนี้ทำให้เสาอากาศหันชี้ไปทุกทิศทาง

เสาอากาศที่กระจกหลัง

เสาอากาศแต่ละอันของภาค AM (การผสมคลื่นวิทยุโดยใช้แอมพลิจูด) และภาค FM (การผสมคลื่นวิทยุโดยใช้ความถี่) อยู่รวมกันที่กระจกหลัง สัญญาณที่ได้รับจะถูกขยายโดยเครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศ และจะส่งผ่านทางสายความถี่สูง (สาย HF) เข้าไปยังวิทยุโดยตรง

เสาอากาศไดเวอร์ซิตี้

ในออปชั่นของไดเวอร์ซิตี้เสาอากาศ เสาอากาศหนึ่งอันจะต่อไว้สำหรับ AM และเสาอากาศแยกกันอีกสามเสาสำหรับช่วงสัญญาณ FM สัญญาณคลื่น FM สามสัญญาณที่ได้รับจะต่อเข้าในเครื่องขยายสัญญาณไดเวอร์ซิตี้ ผ่านไปยังวิทยุเป็นระยะๆ โดยใช้สาย RF วิทยุจะส่งสัญญาณป้อนกลับที่สัมพันธ์กับคุณภาพของ สัญญาณเสาอากาศที่ได้รับ (สัญญาณความถี่กลาง) ไปยังระบบไดเวอร์ซิตี้เสาอากาศ ระบบไดเวอร์ซิตี้เสาอากาศจะตัดสินว่าเสาอากาศอันไหนจากทั้งสามอันมีคุณภาพการรับสัญญาณที่ดีที่สุดในขณะนั้น และจะใช้เสาอากาศนั้นกับวิทยุจนกว่ารอบการวัดสัญญาณครั้งต่อไปจะมีขึ้น เสาอากาศ (FM1) ที่อยู่ในแนวตั้งในกระจกหลังจะใช้ ในกรณีที่มีการรบกวนเข้ามาในสัญญาณความถี่กลาง

ระบบเสาอากาศ E52

ระบบเสาอากาศสำหรับ Z8/E52 จะรวมอยู่ในกันชนหลัง โดยมีเครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศติดตั้งอยู่ในช่องเก็บสัมภาระ โครงสร้างของเสาอากาศในกันชนหลัง ประกอบด้วยส่วนของ AM (การรวมสัญญาณตามแอมพลิจูด) และส่วนของ FM (การรวมสัญญาณตามความถี่) เสาอากาศในส่วน AM ประกอบด้วยสายที่หุ้มฉนวนไว้ที่ปลายด้านหนึ่งและมีขั้วแบบแผ่นอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ต่อเข้ากับเครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศได้โดยสะดวก เสาอากาศในส่วน FM ประกอบด้วยสายสองเส้นที่ต่ออยู่โดยใช้สายโคแอกซ์เชียล สายโคแอกซ์เชียลจะยึดอยู่กับบล็อคสองอันที่ขันเข้ากับกันชนและต่อกับกราวด์รถยนต์ ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่า คิ้วอะลูมิเนียมของกันชนได้ต่อเข้ากับกราวด์รถยนต์ (สายดิน)

ห้ามรบกวนการทำงานของเสาอากาศโดยใช้ชิ้นส่วนติดตั้งเพิ่มอื่นๆ เช่น ไฟ, เซ็นเซอร์การถอยหลัง หรือ อุปกรณ์ที่คล้ายกัน