เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว

 

ตำแหน่งในรถยนต์

เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว จะติดตั้งที่ปลายด้านล่างของแกนพวงมาลัย ด้านหน้าของคัปปลิงแบบเฟล็คซิเบิลของการบังคับเลี้ยว

การจัดเรียงคอนเนคเตอร์ :

หมายเลขขา

สัญญาณ

1

ไฟ 12 V (เทอร์มินอล 30)

2

ไฟ 12 V (เทอร์มินอล 87)

3

CAN (+)

4

CAN (-)

5

กราวด์ (เทอร์มินอล 31)

6

การวิเคราะห์ (TxD) ( -> ตั้งแต่ 09/97)

ช่วงการวัด และการปรับให้เข้ากัน

เซ็นเซอร์จะให้สัญญาณมุมบังคับเลี้ยวรวม ด้วยความละเอียดประมาณ 0.7 o บน CAN บัส

มีการส่งตัวแปรสถานะผ่าน CAN บัส ด้วย ซึ่งจะให้ข้อมูลสัญญาณมุมบังคับเลี้ยวที่ถูกต้อง

ที่ขั้นสุดท้ายของสายพานการประกอบ หรือหลังจากเปลี่ยนเซ็นเซอร์ การกำหนดการทำงานต้องเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ DSC3 ด้วยเครื่องเทสเตอร์การวิเคราะห์ เมื่อพวงมาลัยหรือล้อหน้าอยู่ในตำแหน่งตรงไปข้างหน้าจริง ในระหว่างขั้นตอนนี้ ออฟเซ็ตทางไฟฟ้าของเซ็นเซอร์จะได้รับการปรับเทียบ และบันทึกอย่างถาวรในเซ็นเซอร์ (EEPROM)

หมายเลขข้อมูล ซึ่งส่งโดยเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวผ่านทาง CAN บัส จะบันทึกเพิ่มเติมไว้ในเซ็นเซอร์ และในชุดควบคุม DSC3 ถ้า ID แตกต่างกัน จะไม่สามารถใส่ข้อมูลระบบ DSC3 และ การกำหนดการทำงานมุมบังคับเลี้ยวจะได้รับคำสั่งในการวิเคราะห์ DSC3

วิธีนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ หลีกเลี่ยงค่าออฟเซ็ตที่ผิดปกติ เมื่อใช้เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวตัวใหม่ หรือเมื่อติดตั้งเซ็นเซอร์ซึ่งเคยใช้ในรถยนต์คันอื่นมาก่อนแล้ว

 

หลักการวัด

เช่นเดียวกับเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว EDC เซ็นเซอร์นี้ประกอบด้วย ขากลางโพเทนชิออมิเตอร์ที่มีความเที่ยงตรงสองขา ซึ่งทำมุมกัน 90 o และจ่ายสัญญาณแรงดันไฟฟ้า ตั้งแต่ 0 ถึงประมาณ 4.5 V

โลจิกกระบวนการทำงาน (ไมโครคอนโทรลเลอร์พร้อมโมดูล CAN) ที่ทำงานเพิ่มเติมร่วมในเซ็นเซอร์ คำนวณการหมุนพวงมาลัยในขณะนั้น จากค่าแรงดันไฟฟ้าแต่ละค่า และตรวจสถานะความสอดคล้องกันของมุมบังคับเลี้ยวรวม (การตรวจสถานะ 90 o )

โลจิกเซ็นเซอร์สูญเสียค่าการหมุนพวงมาลัยในขณะนั้น ถ้าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายขาดหายไป (เช่น ผลจากการถอดสายแบตเตอรี่) ในกรณีพิเศษนี้ การหมุนพวงมาลัยในขณะนั้น จะได้รับการคำนวณซ้ำ โดยการประเมินทางสถิติของความเร็วล้อหน้า (ส่งผ่าน CAN)