ระบบชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์เซ็นทรัลบอดี้ทั้งหมด ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อไปนี้ :
ตั้งแต่ 9/95 โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วง ได้รวมประตูคนขับเข้าไปในชุดสวิตช์โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงด้วย
ฟังก์ชั่นต่อไปนี้ ทำได้ด้วยโมดูลเหล่านี้ :
สามารถเปิดฟังก์ชั่น การปัดน้ำฝน/การล้าง ทั้งหมดด้วยสวิตช์ที่ปัดน้ำฝน ตั้งแต่เทอร์มินอล R (สวิตช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง 1)
สวิตช์ปัดน้ำฝน สามารถสวิตช์ไปที่ปัดแบบเว้นระยะ, ระดับ 1 และระดับ 2 ตำแหน่งเหล่านี้ ให้รหัสโดยการใช้สายสองเส้นที่ไปยังเจนเนอรัลโมดูล แต่ละเส้นจะต่อลงกราวนด์
บนรถยนต์ที่มีการติดตั้งด้วยระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติแบบพิเศษ (AIC) (ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 1996) ที่ตำแหน่งสวิตช์ "แบบเว้นระยะ" เซ็นเซอร์น้ำฝนจะทำหน้าที่ ควบคุมฟังก์ชั่นปัดแบบเว้นระยะ (อ้างถึงคำอธิบายลักษณะการทำงาน สำหรับระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติ)
ปุ่มหมุนพร้อมโพเทนชิออมิเตอร์ จะรวมในสวิตช์ที่ปัดน้ำฝน ทำให้สามารถตั้งรอบระยะการทำงานที่แตกต่างกันได้สี่แบบ เวลาเหล่านี้ จะควบคุมตามความเร็วรถ ยิ่งขับรถยนต์เร็วเท่าไร รอบระยะเวลายิ่งสั้นลงเท่านั้น
ในรถยนต์ที่ติดตั้งด้วยระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติ (AIC) (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 1996) ความไวของเซ็นเซอร์น้ำฝน จะตั้งได้จากปุ่มหมุน
มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน จะมีการทำงานสำหรับความเร็วที่ปัดน้ำฝนสองแบบที่แตกต่างกัน มีการสวิตช์โหลด ผ่านรีเลย์ภายนอกสองตัว
มีการรับรู้ตำแหน่งสุด (ตำแหน่งพัก) ของมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน โดยการใช้หน้าสัมผัสรีเซตที่รวมอยู่ในมอเตอร์ หน้าสัมผัสนี้ ต่อกราวนด์ไปที่เจนเนอรัลโมดูล เมื่อมอเตอร์ไปถึงตำแหน่งสุดของมัน
ยังใช้หน้าสัมผัสรีเซต สำหรับการแสดงสถานะมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนด้วย ถ้าไม่ได้รับสัญญาณหน้าสัมผัสเป็นเวลา 16 วินาที ในขณะที่มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนที่เปิดอยู่ (เช่น การทำงานขณะแห้ง) จะมีการหยุดทำงานมอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน เพื่อที่จะป้องกันมันจากการเกิดโอเวอร์โหลด
ที่ปัดน้ำฝนจะไม่ทำงานอีก จนกว่าจะปิดสวิตช์ และผ่านช่วงเวลาป้องกันการทำงานซ้ำ 3 นาทีแล้ว
ความเร็วที่ปัดน้ำฝน สามารถตั้งได้ที่สวิตช์ที่ปัดน้ำฝน ถ้าไม่มีการติดตั้งระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติ จะมีเพิ่มการควบคุมความเร็วที่ปัดน้ำฝนตามความเร็วรถเข้าไป ใช้ค่าการตั้งต่อไปนี้ :
ความเร็วรถ |
สวิตช์ ตั้งไว้ที่ระดับ 1 |
สวิตช์ ตั้งไว้ที่ระดับ 2 |
---|---|---|
< 6 km/h |
การปัดแบบเว้นระยะ |
มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน ที่ระดับ 1 |
> 6 km/h |
มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน ที่ระดับ 1 |
มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝน ที่ระดับ 2 |
เมื่อเปิดที่ระดับ 2, ระดับ 1 จะตัดเข้าทำงานที่ระดับ 1 ที่ > 210 km/h เพื่อป้องกันแขนที่ปัดน้ำฝนจากการยกขึ้น
รถยนต์ที่มีระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติแบบพิเศษ (AIC) (ตั้งแต่ เดือนมีนาคม 1996) ไม่มีการควบคุมที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้าตามความเร็วรถ
เนื่องจาก ไม่สามารถที่จะยกก้านปัดน้ำฝนออกในตำแหน่งพัก (เช่น เพื่อที่จะเปลี่ยนใบปัด) สามารถวางตำแหน่งก้านปัดน้ำฝนโดยอัตโนมัติ ในตำแหน่งยกได้ตามที่ต้องการ
โดยการดำเนินการดังต่อไปนี้ :
บนรถยนต์ซีรี่ย์ E39 หรือรถยนต์ที่มีการติดตั้งด้วยระบบควบคุมการปัดน้ำฝนอัตโนมัติแบบพิเศษ (AIC) (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 1996) ยังไม่มีฟังก์ชั่นการยกนี้
ฟังก์ชั่นการล้างกระจกหน้าแบบเต็มประสิทธิภาพ สามารถเปิดได้โดยสวิตช์ที่ปัดน้ำฝน และจะทำงานโดยอัตโนมัติ
โดยเริ่มจาก ปั๊มจะสเปรย์น้ำยาล้างลงบนกระจกหน้า ที่ปัดกระจกจะทำงาน หลังจากการหน่วงเวลา แล้วปั๊มล้างจะทำงาน และมีการฉีดน้ำยาล้างกระจกเข้มข้มออกมา ที่ปัดน้ำฝนจะทำงานอีกครั้ง ในช่วงสั้นๆ เพื่อที่จะปัดกระจกหน้าให้แห้ง
ปั๊มการล้างแบบพิเศษ จะสั่งงานโดยโมดูลรีเลย์คู่ภายนอก ซึ่งยังสั่งงานปั๊มสำหรับฟังก์ชั่นการล้างไฟหน้าด้วย
ฟังก์ชั่นการล้างไฟหน้าจะทำงานทุกๆ การล้างแบบปกติในครั้งที่ห้า หรือ มีการสั่งงานการล้างแบบพิเศษ ในขณะที่เปิดไฟหน้าหรือไฟจอด แล้วจะทำการสเปรย์ใส่ไฟหน้าสองครั้ง
ฟังก์ชั่นการล้างไฟหน้า จะหยุดทำงานเป็นเวลา 3 นาทีในช่วงท้ายของวงจรการล้าง
การหยุดทำงานที่เทอร์มินอล R เป็นการรีเซตการล็อคป้องกันการทำงานซ้ำ และ ตัวนับครั้งการล้าง เมื่อมีการเปิดเทอร์มินอล R อีกครั้งหนึ่งพร้อมกับเปิดไฟ สามารถสั่งฟังก์ชั่นการล้างไฟหน้าให้ทำงานได้โดยทันที
ปั๊มล้างไฟหน้า จะได้รับการสั่งงานโดยโมดูลรีเลย์คู่ภายนอก ซึ่งยังสั่งงานปั๊มสำหรับฟังก์ชั่นการล้างแบบพิเศษด้วย
มีการตั้งแรงกดของที่ปัดกระจกที่ด้านคนขับไว้ห้าระดับ โดยขึ้นอยู่กับความเร็วรถยนต์ และฟังก์ชั่นที่ปัดน้ำฝนที่ตั้งไว้ การตั้งมีดังต่อไปนี้ :
ความเร็วรถ |
ที่ปัดน้ำฝนไม่ทำงาน |
ที่ปัดน้ำฝนเปิด |
---|---|---|
< 6 km/h |
ระดับ 0 ถ้าไม่มีการทำงานที่ระดับที่สูงกว่าก่อนหน้านี้ ถ้าไม่ใช่ ระดับ 1 |
ระดับ 0 ถ้าไม่มีการทำงานที่ระดับที่สูงกว่าก่อนหน้านี้ ถ้าไม่ใช่ ระดับ 1 |
6 - 100 km/h |
ระดับ 1 |
ระดับ 1 |
100 - 140 km/h |
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
140 - 180 km/h |
ระดับ 2 |
ระดับ 3 |
> 180 km/h |
ระดับ 3 |
ระดับ 4 |
แรงกดจะเพิ่มขึ้นครั้งละหนึ่งระดับ เมื่อมีการสั่งงาน "การล้าง"
ชุดปรับสำหรับการควบคุมแรงกดที่ปัดกระจกหน้า ตั้งตำแหน่งโดยการใช้สวิตช์ลูกเบี้ยวในชุดขับ สวิตช์นี้จะต่อกราวนด์ไปที่เจนเนอรัลโมดูล เมื่อไปถึงตำแหน่ง (= ระดับ)
เพื่อป้องกันการติดขัด จะมีการป้องกันมอเตอร์ ADV โดยเจนเนอรัลโมดูล โดยการใช้อุปกรณ์การตัดการทำงานตามเวลา ถ้าไม่ได้รับสัญญาณจากสวิตช์ลูกเบี้ยวเนื่องจากความผิดปกติ การทำงานของมอเตอร์ ADV จะหยุดหลังจากเวลาที่แน่นอน
ฟังก์ชั่นการตัดการทำงานนี้ ยกเลิกได้โดยการปิดเทอร์มินอล R
ไฟภายในรถ ควบคุมได้โดยสวิตช์และระบบต่อไปนี้ :
สามารถเปิดและปิดไฟต่างๆ ภายในรถ โดยการใช้ปุ่มที่ด้านหน้าของชุดไฟส่วนกลาง อย่างไรก็ตาม ไฟต่างๆ จะได้รับการควบคุมโดยอัตโนมัติ โดยเจนเนอรัลโมดูล
ซึ่งหมายความว่า ไฟภายในรถจะปิดโดยการใช้ปุ่มนี้ และจะเปิดอีกครั้งด้วยการเปิดประตู
และฟังก์ชั่นพิเศษ คือ ไฟภายในรถสามารถปิดตลอดเวลาได้ โดยการกดปุ่มนานกว่า 3 วินาที ระบบจะกลับไปสู่โหมดอัตโนมัติ เมื่อมีการกดปุ่มอีกครั้งหนึ่ง
สามารถเปิดไฟต่อไปนี้ในรถยนต์ได้ เมื่อรถจอด :
เจนเนอรัลโมดูลจะจ่ายแรงดันไฟฟ้า (จ่ายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก) สำหรับโหลดเหล่านี้
เพื่อให้แน่ใจว่า แบตเตอรี่รถยนต์จะไม่ดิสชาร์จ เมื่อมีการเปิดไฟตลอดเวลา เจนเนอรัลโมดูลจะหยุดการจ่ายไฟแบตเตอรี่ขั้วบวก เป็นเวลา 16 นาที หลังจากปิดเทอร์มินอล R
ยังมีการเดินสาย "การตัดโหลด" ไปที่รีเลย์กระแสไฟฟ้าวงจรปิด (สแตนด์บาย) K72 อีกด้วย รีเลย์นี้จะสวิตช์วงจรโหลดสำหรับ :
ดังนั้น รีเลย์ K72 จะถอดสายระบบเหล่านี้ จากการป้อนเทอร์มินอล 30 เป็นเวลา 16 นาที หลังจากปิดเทอร์มินอล R
จะมีการเปิดโหลดเหล่านี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีการเปิดเทอร์มินอล R หรือ 15 ร่วมกับ การเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่อินพุตของเจนเนอรัลโมดูล หรือของโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น การเปิดประตู, การเปิดฝากระโปรงหน้า, การปลดล็อคประตู
ระบบเซ็นทรัลล็อคสามารถทำงานได้ โดยการสั่งงานจากจุดควบคุมการทำงาน ต่อไปนี้ :
มีการล็อคและปลดล็อครถยนต์ทั้งหมด โดยการใช้ปุ่ม ZV ในรถยนต์ (ปุ่มเซ็นทรัลล็อค)
ประตูล็อคแล้วสามารถปลดล็อค และเปิดจากด้านในได้โดยการดึงมือจับประตูสองครั้ง
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการล็อคโดยไม่ตั้งใจ (การป้องกันการล็อคซ้ำ) ปุ่ม ZV ไม่สามารถทำงานได้ ในขณะที่ :
รถยนต์ที่ล็อคไว้ (การเปิดระบบกันขโมยหลังจากดับเครื่อง, การเปิด/ปิดประตูคนขับ และการล็อค โดยใช้ตัวล็อคประตู หรือรีโมทคอนโทรล) ไม่สามารถเปิดด้วยปุ่ม ZV ได้
ไมโครสวิตช์สองตัว (= หน้าสัมผัสล็อค ) จะทำงาน โดยแกนตัวล็อคที่ประตูด้านหน้า หน้าสัมผัสทั้งสองตัวนี้ สวิตช์ไฟขั้วบวกของแบตเตอรี่ไปที่โมดูลประตูของประตูที่ตรงกัน และส่งสัญญาณ "ล็อค/ดับเบิ้ลล็อค" และ "ปลดล็อค"
ไม่มีแกนตัวล็อคที่ประตูผู้โดยสาร ถ้ามีการติดตั้งรีโมทคอนโทรล
หมายเหตุ : ในรุ่น E38 จนถึง 9/95 "โมดูลประตูคนขับ" และ"ชุดสวิตช์สำหรับการทำงานกระจกเงาและกระจกไฟฟ้า" จะมีชุดควบคุมที่แยกกันสองตัว ตั้งแต่ 9/95 มีการรวมโมดูลประตู ที่ประตูคนขับ ในชุดสวิตช์
ไมโครสวิตช์สองตัว (= หน้าสัมผัสล็อค) จะทำงานโดยแกนตัวล็อคที่ฝากระโปรงด้านหลัง หน้าสัมผัสทั้งสองตัวนี้ จะจ่ายไฟขั้วบวกแบตเตอรี่ไปที่เจนเนอรัลโมดูล และส่งสัญญาณ "ล็อค/ดับเบิ้ลล็อค" และ"ปลดล็อค"
ถ้ามีการหมุนกุญแจรถยนต์เกิน 90o เลยตำแหน่ง "ล็อค/ดับเบิ้ลล็อค" และถอด (ช่องแกนตัวล็อคในแนวนอน) ที่ฝากระโปรงด้านหลังยังคงล็อคอยู่ แม้ว่า เมื่อมีการปลดล็อคระบบเซ็นทรัลล็อค จากการทำงานในจุดอื่น ("ตำแหน่งโรงแรมหรือ ศูนย์บริการ")
หมายเหตุ : ไม่มีแกนตัวล็อคที่ฝากระโปรง ในรถยนต์แบบทัวร์ริ่ง ซีรี่ย์ E39
ความแตกต่าง ระหว่างสถานะเซ็นทรัลล็อคสองแบบ ที่ประตูรถยนต์ทั้งหมด :
เมื่อ มีการล็อค ปุ่มล็อคจะถูกดึงลงด้านล่าง ไม่สามารถเปิดประตูโดยใช้มือจับประตูด้านนอกได้อีกต่อไป ประตูสามารถเปิดจากด้านใน โดยการดึงมือจับประตูสองครั้ง
ประตูคนขับยังคงปลดล็อค ถ้ามีการล็อครถยนต์ขณะที่ประตูคนขับเปิดอยู่
สามารถปลดล็อครถยนต์ที่ล็อคอยู่ จากด้านใน โดยการใช้ปุ่ม ZV
เมื่อ มีการดับเบิ้ลล็อค แลชล็อคภายในจะปลดออกจากกลไกการเปิด ไม่สามารถเปิดประตู ทั้งจากด้านนอก หรือจากด้านในได้ ไม่สามารถใช้ปุ่ม ZV ได้
รถยนต์จะล็อคและดับเบิ้ลล็อคโดยอัตโนมัติ โดยการทำงานของระบบเซ็นทรัลล็อค ผ่านแกนตัวล็อค หรือโดยรีโมทคอนโทรล เมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง 0 (เทอร์มินอล R และ 15 หยุดทำงาน) และประตูคนขับเปิดและปิดอย่างน้อยที่สุดหนึ่งครั้ง หลังจากการหยุดทำงานที่เทอร์มินอล R
ระบบทำการเซ็นทรัลล็อคด้านหน้า ได้รับการขับโดยทรานซิสเตอร์ ที่โมดูลประตูที่สัมพันธ์กัน รีเลย์ในเจนเนอรัลโมดูล ทำการขับชุดขับประตูด้านหลัง และฝาปิดที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิง
ระบบทำการเซ็นทรัลล็อค ประกอบด้วย มอเตอร์ไฟฟ้าและไมโครสวิตช์แบบรวม (= สวิตช์ตำแหน่ง) การเคลื่อนที่ในแบบโรตารี่ จะส่งกำลังโดยระบบเกียร์ที่กลไกของแลชล็อค
หลังจากการสั่งงานระบบเซ็นทรัลล็อค มีการเปิดมอเตอร์ไฟฟ้าจนกระทั่งสวิตช์ตำแหน่งในชุดขับเคลื่อน ไปถึงตำแหน่ง "ล็อค" ถ้ามีการดับเบิ้ลล็อคประตู จะมีการทำงานมอเตอร์ไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง และกลไกของเกียร์จะมีการเคลื่อนที่เลยตำแหน่ง "ล็อค" เข้าไปในตำแหน่งสุด "ดับเบิ้ลล็อค"
ต้องหลีกเลี่ยงการโอเวอร์โหลด เนื่องจากการทำงานที่บ่อยครั้งเกินไป เนื่องจากมอเตอร์ไฟฟ้าในระบบทำการเซ็นทรัลล็อค ติดอยู่ในตำแหน่งสุด (ในตำแหน่งการดับเบิ้ลล็อค) ด้วยเหตุผลนี้ จะมีการปิดระบบเซ็นทรัลล็อค โดยฟังก์ชั่นการป้องกันการทำงานซ้ำ ถ้ามีการทำงาน 32 ครั้งภายใน 2 นาที ซึ่งหมายถึง ฟังก์ชั่นทำงานในเวลาทุกๆ 4 วินาทีเท่านั้น
การป้องกันการทำงานซ้ำ จะยกเลิกหลังจาก 3 นาที
ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เซ็นทรัลล็อคจะถูกปลดล็อคออก ถ้าเจนเนอรัลโมดูลรับรู้การเกิดอุบัติเหตุ (การชน) การรับรู้การชน :
นอกเหนือจากการปลดล็อคที่ประตูแล้ว จะเปิดไฟเตือน และไฟภายในรถด้วย
การรับรู้การชน จะปิดเมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่ตำแหน่ง 0 หรือเซ็นทรัลล็อคอยู่ที่ตำแหน่ง "ดับเบิ้ลล็อค"
เมื่อมีการปลดล็อคทางกลกับประตูที่มีการล็อคทางไฟฟ้า กลไกประตูจะแยกออกจากชุดขับเคลื่อน ZV โดยการใช้มือจับประตูด้านใน (มีการดึงมือจับประตูสองครั้ง) กลไกการล็อค และชุดขับเคลื่อน ZV เกิดสถานะที่ตรงข้ามกันอยู่ คือ มันไม่ประสานกัน
เจนเนอรัลโมดูลรับรู้สถานะที่ไม่ประสานนี้ โดยการใช้สัญญาณหน้าสัมผัสประตูซึ่งระบุว่าประตูเปิดอยู่
เมื่อมีการล็อคระบบเซ็นทรัลล็อคด้วยไฟฟ้าครั้งต่อไป จะมีการตั้งเวลาให้พร้อมกันอีกครั้งโดยอัตโนมัติ โดยที่หลังจากการล็อค ระบบจะปลดล็อค และล็อคอีกครั้งหนึ่ง
ในรุ่นของประเทศต่างๆ (เช่นประเทศสหรัฐฯ) มีการให้รหัส "การปลดล็อคแบบปรับด้วยตัวเอง" ในเจนเนอรัลโมดูล ในตำแหน่งนี้ แรกเริ่ม จะปลดล็อคประตูคนขับเท่านั้น เมื่อมีการปลดล็อคในครั้งแรก โดยใช้หน้าสัมผัสล็อค หรือรีโมทคอนโทรล ส่วนประตูที่เหลือ จะเปลี่ยนจากตำแหน่ง "ดับเบิ้ลล็อค"ไปที่ "ล็อค" เพื่อว่าสามารถเปิดจากมือจับประตูด้านในได้
ประตูจะปลดล็อคออกทั้งหมด เมื่อทำการปลดล็อครถยนต์ครั้งที่สอง
ฟังก์ชั่นการปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ ทำให้สามารถเปิดและปิดฝากระโปรงรถโดยใช้ชุดขับเคลื่อนทางไฟฟ้า
สามารถเปิดฝากระโปรงรถได้เท่านั้น เมื่อรถยนต์ปลดล็อค นอกจากนี้ การล็อคฝากระโปรงรถ ต้องไม่อยู่ในตำแหน่งศูนย์บริการ/ตำแหน่งโรงแรม (= แกนตัวล็อคอยู่ในแนวนอน) การกระตุ้นการทำงาน "เปิด" ฝากระโปรงรถ ทำได้โดย :
ปิดฝากระโปรงด้านหลังโดยการกดฝากระโปรงเบาๆ แลชล็อคของฝากระโปรงด้านหลัง จะหมุนไปที่ตำแหน่งเริ่มต้นของมัน หน้าสัมผัสฝากระโปรงด้านหลัง ส่งสัญญาณไปที่เจนเนอรัลโมดูล ว่ามีการปิดฝากระโปรงด้านหลัง มีการสั่งงานมอเตอร์ไฟฟ้าที่ต่อ ไปที่ตัวเกี่ยวสลักล็อคของฝากระโปรงด้านหลัง โดยการใช้รีเลย์ในเจนเนอรัลโมดูล มอเตอร์ไฟฟ้า หมุนตัวเกี่ยวสลักล็อคลงด้านล่าง ดังนั้นดึงฝากระโปรงด้านหลังปิดลง
ฟังก์ชั่นการปิดทางไฟฟ้าจะมีการทำงานด้วย เมื่อรถยนต์ล็อค
ชุดขับสำหรับการปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งหมุนตัวเกี่ยวสลักล็อคของฝากระโปรงท้าย ชุดขับจะได้รับสั่งงานโดยรีเลย์ในเจนเนอรัลโมดูล ทิศทางของการหมุนมอเตอร์ เหมือนกันทั้งการเปิดและการปิด
ไมโครสวิตช์ซึ่งรวมอยู่ในชุดขับเคลื่อน เพื่อที่จะตรวจจับตำแหน่งของมอเตอร์ และของตัวเกี่ยวสลักล็อค และเพื่อส่งสัญญาณนี้ไปที่เจนเนอรัลโมดูล สวิตช์จะทำการต่อกราวนด์ไปที่เจนเนอรัลโมดูล เมื่อมอเตอร์ไปถึง "ตัวเกี่ยวสลักล็อคอยู่ตำแหน่งล่างสุด"
เพื่อให้สามารถทำการทำงานฉุกเฉินได้ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดไฟเลี้ยงของระบบการล็อคแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ จึงมีแกนต่อระหว่างแกนตัวล็อค และแลชล็อคของฝากระโปรงท้าย แกนต่อนี้ปลดล็อคโดยทางกล และเปิดแลชล็อคโดยการหมุนกุญแจเท่าที่มันจะทำได้ (ประมาณ 90o ) ตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
อุปกรณ์การปลดล็อคฝากระโปรงรถ ทำให้สามารถปลดล็อคและเปิดฝากระโปรง (ด้านหลัง) ด้วยไฟฟ้าได้ ฝากระโปรงได้รับการปลดล็อค โดยผ่านทางตัวขับพิเศษที่มีสปริงดึงกลับรวมอยู่ในชุด
ชุดขับเคลื่อนจะสั่งงานโดยรีเลย์ในเจนเนอรัลโมดูล
ฝากระโปรงรถสามารถปลดล็อคได้ เฉพาะเมื่อปลดล็อครถยนต์อยู่เท่านั้น นอกจากนี้ การล็อคฝากระโปรงรถ ต้องไม่อยู่ในตำแหน่งศูนย์บริการ / ตำแหน่งโรงแรม (= แกนตัวล็อคอยู่ในแนวนอน) "การปลดล็อค" ฝากระโปรงรถได้รับการกระตุ้นการทำงานโดย :
ฝากระโปรงรถทัวร์ริ่ง E39 จะเปิดด้วยไฟฟ้าโดยการหมุนแลชล็อคด้วยไฟฟ้า และโดยการหมุนตัวเกี่ยวสลักล็อคไปที่ตำแหน่งเปิด
ในการปลดแลชล็อค ได้มีการติดตั้งตัวขับพิเศษพร้อมทั้งสปริงดึงกลับรวมอยู่ในชุดไว้ในฝากระโปรงรถ
ตัวขับการปลดล็อค จะได้รับการสั่งงานจากเจนเนอรัลโมดูล ผ่านทางรีเลย์ภายนอก
ตัวเกี่ยวสลักล็อคจะหมุนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า ชุดขับเคลื่อนได้รับการสั่งงาน โดยผ่านรีเลย์ในเจนเนอรัลโมดูล ทิศทางของการหมุนมอเตอร์ เหมือนกันทั้งการเปิดและการปิด
ไมโครสวิตช์จะรวมในชุดขับเคลื่อน เพื่อที่จะตรวจจับตำแหน่งของมอเตอร์ และของตัวเกี่ยวสลักล็อค และเพื่อส่งสัญญาณนี้ไปที่เจนเนอรัลโมดูล สวิตช์จะทำการต่อกราวนด์ไปที่เจนเนอรัลโมดูล เมื่อมอเตอร์ไปถึง "ตัวเกี่ยวสลักล็อคอยู่ที่ตำแหน่งล่างสุด"
ฝากระโปรงรถจะสามารถปลดล็อคและเปิดได้ เฉพาะเมื่อรถยนต์ปลดล็อคแล้วเท่านั้น ซึ่งมีการกระตุ้นการทำงานโดย :
ปิดฝากระโปรงด้านหลังโดยการกดฝากระโปรงเบาๆ แลชล็อคของฝากระโปรงด้านหลัง หมุนด้วยแรงกลไปที่ตำแหน่งเริ่มต้นของมัน หน้าสัมผัสฝากระโปรงด้านหลัง ส่งสัญญาณไปที่เจนเนอรัลโมดูล ว่ามีฝากระโปรงด้านหลังปิดแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้าที่ต่อกับตัวเกี่ยวสลักล็อคมีการทำงาน มอเตอร์ไฟฟ้าหมุนตัวเกี่ยวสลักล็อค เพื่อดึงให้ฝากระโปรงท้ายปิด
ฟังก์ชั่นการปิดทางไฟฟ้ามีการทำงานด้วย เมื่อรถยนต์ล็อค
ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าใช้ไม่ได้ จะสามารถปลดล็อคและเปิดฝากระโปรงท้ายจากด้านในได้ โดยใช้การปลดล็อคแบบฉุกเฉินทางกล โดยใช้สายโบว์เดน
ที่ด้านข้างฝากระโปรงรถ จะมีการปลดล็อคกระจกหลังโดยใช้ตัวขับไฟฟ้าด้วย เมื่อมีการกดปุ่มปลดล็อค
ตัวขับการปลดล็อคได้รับการสั่งงานจาก เจนเนอรัลโมดูลผ่านทางรีเลย์ภายนอก
ปุ่มปลดล็อคจะติดตั้งในก้านที่ปัดน้ำฝนกระจกหลัง
หน้าต่างกระจกหลังสามารถปลดล็อคได้ เฉพาะเมื่อรถยนต์ปลดล็อคอยู่เท่านั้น
กระจกไฟฟ้า จะได้รับการควบคุมการทำงาน โดยช้ "ชุดสวิตช์สำหรับการทำงานของกระจกเงาและกระจกไฟฟ้า" ที่ประตูคนขับ และสวิตช์อื่นๆ อีกสามตัวในแต่ละประตู
สวิตช์ต่างๆที่ประตูผู้โดยสาร และที่ประตูท้าย จะส่งสัญญาณสถานะสวิตช์ ผ่านสายสองเส้นไปที่ประตู หรือที่เจนเนอรัลโมดูล (สัญญาณกราวนด์) ชุดสวิตช์ที่ประตูคนขับ ส่งผ่านข้อมูลของมันเอง ผ่าน "P-บัส" ไปที่ประตูและเจนเนอรัลโมดูล
หมายเหตุ : ในรุ่น E38 จนถึง 9/95 "โมดูลประตูคนขับ" และ "ชุดสวิตช์สำหรับการทำงาน กระจกเงาและกระจกไฟฟ้า" จะมีชุดควบคุมที่แยกกันสองตัว ตั้งแต่ 9/95 มีการรวมโมดูลประตูของประตูคนขับ ในชุดสวิตช์
สวิตช์ทั้งหมดมีคุณลักษณะเป็นสวิตช์สองระดับ การกดอย่างเบาๆ ไปด้านหน้าหรือด้านหลัง จะเป็นการเปิดหรือปิดกระจก การปล่อยสวิตช์จะเป็นการหยุดทำงานชุดขับเคลื่อนกระจกไฟฟ้าทันที
ระดับที่สองของสวิตช์ จะสั่งงานโดยการกดผ่านระดับแรก ชุดขับกระจกไฟฟ้า จะทำงานในโหมดอัตโนมัติ และทำงานจนกระทั่งทำการเปิดหรือปิดกระจกอย่างสมบูรณ์ การกดสวิตช์อีกครั้งหนึ่ง จะยกเลิกโหมดอัตโนมัติ
เนื่องจากข้อกำหนดทางกฏหมาย โหมดอัตโนมัติจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้รหัส ตัวอย่างเช่น : ในรุ่นประเทศออสเตรเลีย โหมดอัตโนมัติในทิศทาง "การปิด" ทำได้ที่ประตูคนขับ เท่านั้น
ในโหมดอัตโนมัติ ชุดขับเคลื่อนจะหยุดทำงานโดยการวัดกระแสไฟฟ้า เพื่อไปถึงตำแหน่งสุด ชุดขับเคลื่อนจะติดขัดอยู่หยุดชั่วขณะ ซึ่งส่งผลให้กระแสที่ใช้เพิ่มขึ้น โมดูลประตู (กระจกด้านหน้า) หรือโมดูลด้านหลัง (กระจกหลัง) จะตรวจการเพิ่มขึ้นของกระแสที่ใช้นี้ และหยุดการทำงานของชุดขับ
มีการติดตั้งแผ่นป้องกันการหนีบ ที่ส่วนบนสุดของโครงกระจกที่ประตูทุกบาน แผ่นนี้ประกอบด้วยแผ่นหน้าสัมผัสสองแผ่น ที่ใส่ไว้ในแผ่นพลาสติก ซึ่งจะทำการต่อการนำทางไฟฟ้า เมื่อมีแรงกดเกิดขึ้น
ถ้ามีแรงดันเกิดขึ้นที่แผ่นป้องกันการหนีบในขณะปิดกระจก จะมีการหยุดฟังก์ชั่นการปิด และมีการขับเคลื่อนกระจกในทิศทางการเปิด เป็นเวลาประมาณ 1-2 วินาที
เมื่อมีแรงดันเกิดขึ้นตลอดเวลาที่แผ่นป้องกันการหนีบ กระจกสามารถปิดลงได้โดยการกดสวิตช์ไปที่ตำแหน่งอัตโนมัติเท่านั้น
แผ่นป้องกันการหนีบจะได้รับการตรวจความผิดพลาดของสาย โดยการใช้ตัวต้านทานต่อแบบขนาน ถ้าสายขาด กระจกสามารถปิดได้โดยการกดสวิตช์ไปที่ตำแหน่งอัตโนมัติเท่านั้น เช่นกัน
สามารถเปิดและปิด กระจกและซันรูฟ ได้โดยผ่านแกนตัวล็อคที่ประตูคนขับ และโดยการใช้รีโมทคอนโทรล
การเปิดแบบอัตโนมัติ ทำงานเมื่อแกนตัวล็อคอยู่ที่ตำแหน่ง "ปลดล็อค" เป็นเวลานานกว่า 3 วินาที หรือเมื่อมีการกดปุ่มที่ตรงกันบนรีโมทคอนโทรลค้างไว้
การปิดแบบอัตโนมัติ ทำงานเมื่อแกนตัวล็อคอยู่ที่ตำแหน่ง "ล็อค" เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที หรือเมื่อมีการกดปุ่มที่ตรงกันบนรีโมทคอนโทรลค้างไว้
การเข้ารหัส สามารถสั่งงานหรือหยุดการทำงานฟังก์ชั่นเหล่านี้ได้
กระจกไฟฟ้าทำงาน ขณะที่เปิดเทอร์มินอล R ในระยะแรก กระจกไฟฟ้ายังคงทำงานได้ หลังจากการหยุดทำงานที่เทอร์มินอล R การตัดการทำงานอัตโนมัติ (การหยุดการทำงาน) ทำงานหลังจากนั้น 16 นาที
ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางกฏหมายในประเทศที่สัมพันธ์กันนั้น การเปิดประตูคนขับหรือประตูผู้โดยสารที่นอกเหนือจากนี้ จะหยุดการทำงานของกระจกไฟฟ้าด้วย
สามารถให้รหัสได้สองรุ่นแตกต่างกัน :
รุ่น ECE |
การหยุดทำงาน หลังจากการปิดเทอร์มินอล R และการเปิดและปิดที่ประตูคนขับ หรือประตูผู้โดยสาร |
ประเทศสหรัฐฯ และ ประเทศออสเตรเลีย |
หยุดทำงาน หลังจากปิดเทอร์มินอล R และเปิดประตูคนขับ หรือประตูผู้โดยสาร |
เงื่อนไขการตัดการทำงาน (หยุดทำงาน) เหล่านี้ สามารถใช้กับซันรูฟได้ด้วย
ซันรูฟจะได้รับการควบคุมโดยโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วง (โมดูล SHD) แยกกัน โมดูลนี้บรรจุวงจรโหลดสำหรับมอเตอร์ซันรูฟด้วย ซึ่งต่อไปที่มอเตอร์ซันรูฟโดยตรง
โมดูลซันรูฟ ต่อผ่าน P บัส ไปที่เจนเนอรัลโมดูล
สวิตช์สำหรับซันรูฟ มีตำแหน่งสวิตช์ต่างๆ กันห้าตำแหน่ง
ตำแหน่งทั้งห้าตำแหน่ง จะส่งผ่านสายสามเส้น (สัญญาณกราวนด์) ไปที่โมดูลซันรูฟ (SHD)
การเปิดหรือปิดซันรูฟจนสุดในโหมดอัตโนมัติ ทำได้โดยการกดสวิตช์ค้างไว้ในตำแหน่ง "เลื่อน เปิด" และ "ปิด"
ทรานสมิตเตอร์ตำแหน่ง (ทรานสมิตเตอร์ส่งสัญญาณ) สองตัว ทำหน้าที่บันทึกจำนวนรอบของมอเตอร์ และตำแหน่งซันรูฟที่ได้จากตัวมันเอง
แรงบิดมอเตอร์ของชุดขับเคลื่อนซันรูฟ (SHD) จะได้รับการคำนวนอย่างสม่ำเสมอ จากพัลส์ตำแหน่งทรานสมิตเตอร์ และ การใช้กระแสของมอเตอร์ ถ้าแรงบิดของมอเตอร์เพิ่มเกินค่าที่แน่นอนค่าหนึ่ง แสดงว่ามีการติดขัด
อุปกรณ์ป้องกันการหนีบ ทำงานในทิศทาง"ปิด" ทั้งในระหว่างการปิดปกติ (ไม่กดสวิตช์ค้างไว้) และในโหมดอัตโนมัติ และในระหว่างการปิดซันรูฟแบบอัตโนมัติ โดยการกดสวิตช์ซันรูฟค้างไว้ในทิศทางการปิด จะหยุดการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันการหนีบ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ
ถ้ามีการตรวจพบการติดขัด จะหยุดการปิด และจะเปิดซันรูฟออกเล็กน้อย
จุดสำคัญ !
การป้องกันการหนีบจะไม่ทำงานอีกต่อไป เมื่อเปิดซันรูฟน้อยกว่า 4 mm
ค่าตำแหน่งที่บันทึกในโมดูลจะถูกลบไป หลังจากการถอดสาย และต่อแบตเตอรี่ใหม่ หรือหลังจากปิดและเปิดโมดูลซันรูฟ ซันรูฟสามารถทำงานได้ในทิศทางการปิดหรือในการเอียงเท่านั้น
เพื่อที่จะกำหนดการทำงาน ตั้งซันรูฟในตำแหน่ง "เอียง" สุด เพื่อไปถึงตำแหน่งนี้ ให้กดสวิตช์ "เอียง" ค้างไว้อย่างน้อยที่สุด 15 วินาที ซันรูฟจะได้รับการกำหนดการทำงานใหม่แล้ว
ในลักษณะเดียวกับกระจกไฟฟ้า ซันรูฟสามารถเปิดหรือปิด พร้อมกับการล็อคหรือการปลดล็อครถยนต์
การเปิดแบบอัตโนมัติ ทำงานเมื่อแกนตัวล็อคอยู่ที่ตำแหน่ง "ปลดล็อค" เป็นเวลานานกว่า 3 วินาที หรือเมื่อมีการกดปุ่มที่ตรงกันบนรีโมทคอนโทรลค้างไว้
การปิดแบบสะดวก ทำงานเมื่อแกนตัวล็อคคงอยู่ที่ตำแหน่ง "ล็อค" เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที หรือเมื่อมีการกดปุ่มที่ตรงกันบนรีโมทคอนโทรลและคงค้างไว้
สามารถสั่งงานหรือหยุดการทำงานฟังก์ชั่นเหล่านี้ได้ โดยการเข้ารหัส
ซันรูฟทำงาน เมื่อเปิดเทอร์มินอล R ในระยะแรก ซันรูฟจะยังคงทำงานได้ หลังจากการหยุดทำงานที่เทอร์มินอล R การตัดการทำงานอัตโนมัติ (การหยุดการทำงาน) ทำงานหลังจากนั้น 16 นาที
โดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดทางกฏหมายในประเทศที่สัมพันธ์กันนั้น การเปิดประตูคนขับหรือประตูผู้โดยสารอื่นๆ ก็จะหยุดการทำงานของซันรูฟด้วยเช่นกัน
สามารถให้รหัสได้สองรุ่นต่างกัน :
รุ่น ECE |
การหยุดทำงาน หลังจากการปิดเทอร์มินอล R และการเปิดและปิดที่ประตูคนขับ หรือประตูผู้โดยสาร |
ประเทศสหรัฐฯ และ ประเทศออสเตรเลีย |
หยุดทำงาน หลังจากปิดเทอร์มินอล R และเปิดประตูคนขับ หรือประตูผู้โดยสาร |
เงื่อนไขการตัดการทำงาน (หยุดทำงาน) เหล่านี้ ยังสามารถใช้กับกระจกไฟฟ้าได้ด้วย
ระบบสัญญาณกันขโมย (DWA) จะตรวจสถานะประตูและฝากระโปรง เช่นเดียวกับสวิตช์กุญแจ, การเอียงของรถยนต์ และอุปกรณ์ภายในรถยนต์
จะทำการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือน ทั้งแบบเสียงและแบบมองเห็น
เจนเนอรัลโมดูลควบคุม DWA
เมื่อทำการดับเบิ้ลล็อค จะมีการสั่งงานระบบสัญญาณกันขโมยโดยอัตโนมัติ (การดับเบิ้ลล็อค = การปิดสวิตช์กุญแจ, เปิดและปิดประตูคนขับ, ล็อครถยนต์โดยใช้แกนตัวล็อคหรือรีโมทคอนโทรล)
ข้อมูลรหัส เป็นตัวกำหนดว่ามีการเปิดระบบและปิดระบบ DWA โดยใช้รีโมทคอนโทรลเท่านั้น หรือไม่ หรือโดยการใช้รีโมทคอนโทรลและแกนตัวล็อค
ถ้าสั่งงานระบบสัญญาณกันขโมย (DWA) โดยการใช้รีโมทคอนโทรลเท่านั้น จะทำการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือน เมื่อปลดล็อครถยนต์โดยใช้ตัวล็อคประตู
แล้วจึงทำการตรวจสถานะอินพุต หลังจากการเปิดระบบ และรอเป็นช่วงเวลาประมาณ 3 วินาที ในเวลาในการคอยนี้ สามารถการปิดประตู ในเวลารวดเร็วหลังจากการเปิดระบบสัญญาณกันขโมย (DWA) หรืออื่นๆ ได้
LED แสดงสถานะ กระพริบเป็นเวลา 10 วินาที ถ้าสัญญาณอินพุตอย่างน้อยหนึ่งสัญญาณ ไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตำแหน่งปกติ (เช่น ประตูเปิด) หลังจากการเปิดระบบกัยขโมย ไม่มีการรวมสวิตช์ที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งพัก ในฟังก์ชั่นการตรวจสถานะ
ถ้ามีการใช้ DWA อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 10 วินาทีในการเปิดระบบ เซ็นเซอร์ความอียง และระบบป้องกันภายในแบบรีโมท (ระบบป้องกันภายในแบบรีโมท ตั้งแต่ 9/95) ในเจนเนอรัลโมดูล จะหยุดใช้งาน (โหมดพิเศษสำหรับโรงเก็บรถที่เอียง หรือการเคลื่อนย้ายรถโดยใช้ราง)
สถานะ "เปิดระบบหรือปิดระบบ DWA" ได้รับการบันทึกในเจนเนอรัลโมดูล โดยไม่ขึ้นกับแหล่งจ่ายไฟ การถอดสายและต่อสายแบตเตอรี่ใหม่ ไม่ส่งผลการปิดระบบกันขโมย
LED ซึ่งทำหน้าที่เป็นสัญญาณตัวแสดงสถานะ DWA แบบมองเห็น
ไฟ LED ของ DWA |
สถานะ DWA |
---|---|
ปิด |
ปิดระบบ |
การกระพริบเร็วและตลอดเวลา |
เปิดระบบ |
กระพริบเป็นเวลา 10 วินาที ตามด้วยการกระพริบเร็วและตลอดเวลา |
อินพุตไม่อยู่ในสถานะปกติ |
ติดสว่างเป็นเวลา 1 วินาที ตามมาด้วยการกระพริบเร็วและตลอดเวลา |
การเปิดระบบที่ตามมา (= มีการหยุดการทำงานเซ็นเซอร์การเอียง และหยุดระบบป้องกันภายในแบบรีโมท) |
กระพริบเป็นเวลา 5 นาที ตามด้วยการกระพริบเร็วและตลอดเวลา |
การกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือน |
ไฟติดนาน 10 นาที แล้วดับลง |
การปิดระบบแบบฉุกเฉิน |
กระพริบเป็นเวลา 10 วินาที แล้วดับลง |
การปิดระบบหลังจากสัญญาณเตือน |
สามารถให้รหัสการส่งสัญญาณเพิ่มเติม ในระหว่างการเปิดระบบและปิดระบบกันขโมยได้ (ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ)
สถานะ DWA |
การรับรู้ไฟเตือนอันตราย |
การรับรู้แตร |
---|---|---|
การเปิดระบบ |
ไฟกระพริบเตือนหนึ่งครั้ง |
1 สัญญาณเสียงสั้น |
การปิดระบบ |
ไฟกระพริบเตือนสองครั้ง |
2 สัญญาณเสียงสั้น |
ตั้งแต่ 9/95 มีการติดตั้งระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ (FIS) แทนการตรวจกระจก ที่มีการจดจำการแตกของกระจก
ระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ จะตรวจภายในรถยนต์ โดยใช้คลื่นวิทยุอุลตร้าโซนิก การเคลื่อนไหวของตัวถังรถในรถยนต์ เปลี่ยนแปลงการสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุ ระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ กระตุ้นการทำงานของสัญญาณเตือน
โมดูลของระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ ติดตั้งในแผงหลังคา ตัวเรือน มีลักษณะเป็นแกนซึ่งกระจายคลื่นวิทยุไปในทิศทางที่แน่นอน สิ่งนี้ทำให้แน่ใจว่า ช่วงการตรวจจับของคลื่นวิทยุจะจำกัดอยู่ภายในรถยนต์ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดทิศทางในการติดตั้งของโมดูลก่อน
โมดูลระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุจะมีหลายรุ่น ซึ่งสามารถปรับใช้กับรถยนต์รุ่นต่างๆ กันได้ สามารถระบุรุ่นต่างๆ โดยดูจากป้ายชื่อบนตัวเรือน และหมายเลขชิ้นส่วนอะไหล่
สำหรับ ซีรี่ย์ E39 ทัวร์ริ่ง จะติดตั้งโมดูลระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุสองชุด โมดูลด้านหน้า ตรวจสถานะห้องโดยสาร, ช่องเก็บสัมภาระด้านหลัง โมดูลทั้งสอง ติดตั้งไว้ใต้แผงหลังคา
โมดูลระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ มีชุดอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์สำหรับระบบนี้ การตรวจแบบแบบรีโมทคลื่นวิทยุ สามารถสั่งงานและหยุดการทำงาน ผ่านสายจากเจนเนอรัลโมดูล (คอนเนคเตอร์ X253 ขา 20) (สายเดียวกันนี้จะสั่งงาน และหยุดการทำงานเซ็นเซอร์การเอียง และไซเรนฉุกเฉินด้วย) โมดูลสำหรับระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ ส่งสัญญาณป้อนกลับไปที่เจนเนอรัลโมดูล ผ่านสายไฟเส้นที่สอง (คอนเนคเตอร์ X253 5 หรือ 6 ขา ที่ด้านหลังของโมดูล FIS ในรถทัวร์ริ่งรุ่น E39) ว่าระบบมีการทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ และมีการส่งสัญญาณเตือนผ่านสายนี้ด้วย โมดูลจะต่อเพิ่มเติมไปที่เทอร์มินอล 30 และเทอร์มินอล 31
หลังจากเปิดระบบสัญญาณกันขโมย เจนเนอรัลโมดูลจะสั่งงานระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ หลังจากการหน่วงเวลา 30 วินาที ระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ จะไม่มีการทำงานหรือหยุดการทำงาน ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ :
ระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ จะทำงานอีกครั้ง หลังจากการหน่วงเวลา 30 วินาที ถ้าเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการหยุดทำงาน ไม่มีอีกต่อไป
เพื่อแก้ไขความเสี่ยงของการกระตุ้นการทำงานของระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุ ที่ไม่ถูกต้อง ภายใต้สภาพที่แน่นอน (เช่น การขนส่งทางเรือด้วยรางขนย้ายรถ) สามารถปิดระบบป้องกันภายในแบบรีโมทคลื่นวิทยุในเจนเนอรัลโมดูลได้ เมื่อเปิดระบบ DWA โดยเปิดระบบ DWA เป็นครั้งที่สอง ภายในเวลา10 วินาที (ล็อครถยนต์สองครั้งผ่านแกนตัวล็อคหรือกุญแจรีโมท) เซ็นเซอร์การเอียง จะหยุดการทำงานด้วย LED แสดงสถานะ แสดงว่ามีการหยุดการทำงาน โดยการติดสว่างเป็นระยะสั้นๆ
ถ้ามีการเปิดฝากระโปรงรถ หรือกระจกหลัง (ทัวร์ริ่ง E39) ในขณะที่เปิดระบบกันขโมย จะหน้าสัมผัสฝากระโปรงรถ/กระจกหลัง, ระบบการป้องกันคลื่นวิทยุภายใน และเซ็นเซอร์การเอียง ในชุดควบคุม จะหยุดทำงาน ในกรณีนี้ การเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ จะไม่ส่งผลต่อสัญญาณเตือนที่กำลังได้รับการกระตุ้น
หลังจากการปิดฝากระโปรงรถหรือกระจกหลัง 30 วินาที จะมีการสั่งงานสัญญาณที่หยุดทำงานไปอีกครั้ง
เจนเนอรัลโมดูล จะทำหน้าที่กระตุ้นสัญญาณเตือน มีการใช้ตัวกำเนิดสัญญาณเสียงต่อไปนี้ :
ในกรณีที่มีสัญญาณเตือน จะขับตัวกำเนิดสัญญาณเสียง เป็นเวลา 30 วินาที และหยุดสัญญาณเตือนทันที เมื่อปิดระบบสัญญาณกันขโมย (DWA)
ตัวกำเนิดสัญญาณสามารถให้รหัสเป็นเสียงที่ดังตลอดเวลา หรือเสียงที่ดังเป็นระยะๆ ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ
ในขณะเดียวกันกับสัญญาณเสียงทำงาน จะมีการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือนแบบมองเห็นด้วย เป็นเวลาประมาณ 5 นาที โมดูลไฟ จะทำหน้าที่เปิดไฟ เจนเนอรัลโมดูล ส่งข้อมูลให้โมดูลไฟผ่าน K บัส และ I บัส ว่าต้องเปิดไฟชุดใด
ไฟที่ได้รับการสั่งงานเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณเตือนแบบมองเห็น จะได้รับการให้รหัสในเจนเนอรัลโมดูล ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ
ตั้งแต่ 9/95 มีการติดตั้งไซเรนฉุกเฉิน แทนแตรสัญญาณเตือน
ตรงกันข้ามกับแตรสัญญาณเตือน วงจรอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่แบบชาร์จใหม่ได้ จะรวมในไซเรนฉุกเฉิน ดังนั้น สามารถสั่งงานไซเรนฉุกเฉินได้อย่างอิสระ จากระบบแหล่งจ่ายไฟฟ้าของรถยนต์
การเริ่มและหยุดทำงานไซเรนฉุกเฉิน ไดรับการสั่งงานผ่านสาย (คอนเนคเตอร์ X253 ขา 20) (สายเดียวกับการสั่งงานและหยุดการทำงาน เซ็นเซอร์การเอียง และอุปกรณ์ระบบป้องกันภายในแบบรีโมท) เจนเนอรัลโมดูล แจ้งไซเรนฉุกเฉิน ผ่านสายอีกเส้นหนึ่ง ว่ามีการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือน (สายเดียวกับที่ใช้กับแตร คอนเนคเตอร์ X254 ขา 17) เมื่อไซเรนฉุกเฉินทำงาน ยังคงสามารถกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือนได้ เมื่อถอดสายไซเรนจากระบบไฟฟ้าของรถยนต์ หรือเมื่อถอดสายแบตเตอรี่รถยนต์
ไซเรนฉุกเฉินรุ่นพื้นฐานสองรุ่น สำหรับการใช้งานในประเทศ US และ ECE จะแตกต่างกัน สามารถใช้รุ่น ECE สำหรับการทำงานทั้งเสียงที่ดังตลอดเวลา และเสียงเป็นระยะๆ โหมดการทำงาน จะได้รับการให้รหัสโดยอัตโนมัติ โดยเจนเนอรัลโมดูล เมื่อมีการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือน เจนเนอรัลโมดูลแจ้งไซเรนฉุกเฉิน เกี่ยวกับโหมดการทำงานที่ให้รหัสไว้ รหัสนี้ จะบันทึกไว้ในไซเรน ทำให้มีข้อมูลโหมดการทำงานที่กำหนดไว้ตลอดเวลา แม้ในกรณีที่เกิดการกระตุ้นการทำงานของไซเรนด้วยตัวมันเอง เมื่อมีการให้รหัสเจนเนอรัลโมดูลอีกครั้ง โหมดที่บันทึกในไซเรน ก็จะเปลี่ยนแปลงในครั้งต่อไปที่มีการกระตุ้นการทำงานสัญญาณเตือนด้วย
อาจจะเป็นไปได้ว่า ไม่สามารถทำการปิดระบบสัญญาณกันขโมย (DWA) ได้ ในกรณีที่ รีโมทคอนโทรลหรือระบบเซ็นทรัลล็อคไม่สามารถทำงานได้ ในกรณีนี้ จะต้องปิดระบบ DWA แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้จะกระตุ้นให้สัญญาณเตือนดังขึ้น
ขั้นตอน :
ขั้นตอนการปิดระบบแบบฉุกเฉินจะสิ้นสุดลง ถ้าเปิดประตูหรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งสวิตช์กุญแจ ในระหว่างช่วงการรอนี้
การปิดระบบแบบฉุกเฉินจะเริ่มต้นใหม่ หลังจากปิดประตู และบิดสวิตช์กุญแจจาก "0" ไปที่ "1"
ในรถยนต์ที่ไม่มี EWS (อิมโมบิไลเซอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์) เจนเนอรัลโมดูลจะทำการป้องกันการสตาร์ทเครื่อง และ การอินเตอร์ล็อคสตาร์ทเตอร์ เมื่อรถยนต์ได้รับการดับเบิ้ลล็อค
ฟังก์ชั่นป้องกันการสตาร์ท ทำได้โดยสายเส้นหนึ่งจากเจนเนอรัลโมดูลไปที่ชุดควบคุม DME มีการหยุดการทำงาน DME เป็นบางส่วน เมื่อทำการดับเบิ้ลล็อครถยนต์
สายเส้นที่สองจากเจนเนอรัลโมดูล ไปที่รีเลย์การอินเตอร์ล็อคสตาร์ทเตอร์ รีเลย์นี้ จะต่อเทอร์มินอล 50 จากสวิตช์กุญแจไปที่สตาร์ทเตอร์ เครื่องยนต์นี้สามารถสตาร์ทได้ เมื่อมีการปล่อยรถยนต์ และปิดระบบกันขโมย และเปิดเทอร์มินอล 15 เท่านั้น
ตั้งแต่ 1/95 ระบบ EWS จะดำเนินการฟังก์ชั่นเหล่านี้
กระจกเงาสำหรับประตูคนขับ และประตูผู้โดยสาร จะสามารถทำการปรับด้วยไฟฟ้า ได้โดยโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วง สวิตช์ปรับ จะติดตั้งอยู่ในชุดสวิตช์ที่ประตูคนขับ
การทำงานสวิตช์ จะส่งสัญญาณผ่าน P บัส จากชุดสวิตช์ ไปที่โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ประตู โมดูลประตู ขับมอเตอร์การปรับของกระจกเงา โดยการใช้บริดจ์สารกึ่งตัวนำ
มอเตอร์ไฟฟ้าติดตั้งในตัวเรือนกระจกเงา สำหรับการปรับทั้งในแนวนอน และในแนวดิ่ง
ถ้ามีการติดตั้งหน่วยความจำที่นั่ง/แกนพวงมาลัย ภายในรถยนต์ จะมีการรับรู้ และบันทึกตำแหน่งของกระจกเงา ตามลำดับ
หน่วยความจำ ที่นั่ง/แกนพวงมาลัย มีโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงของตัวมันเอง (โปรแกรมวิเคราะห์ตัวเอง) ซึ่งมีการเชื่อมต่อผ่าน P บัส ไปที่เจนเนอรัลโมดูลของ ZKE ตำแหน่งที่นั่งและแกนพวงมาลัย ได้รับการจดจำและบันทึกในโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงนี้
ในเวลาเดียวกัน มีการบันทึกตำแหน่งกระจกเงาในโมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงของประตูต่างๆ (โมดูลประตู)
ตำแหน่งกระจกเงา ได้รับการตรวจโดยการใช้โพเทนชิออมิเตอร์ ที่ติดตั้งในชุดขับเคลื่อนกระจกเงา
การควบคุมการทำงานโหมดหน่วยความจำ ทำได้โดยการใช้สวิตช์หน่วยความจำ ซึ่งเชื่อมต่อโดยสาย 4 เส้น ไปที่โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ประตูคนขับ การทำงานของปุ่ม จะส่งผ่าน P บัส ไปที่เจนเนอรัลโมดูล
ตำแหน่งของกระจกเงา, ที่นั่ง และแกนพวงมาลัย ได้รับการบันทึก เมื่ออยู่ที่เทอร์มินอล R หลังจากการกดแล้ว ปุ่มหน่วยความจำสีแดงจะติดสว่างเป็นเวลานานที่สุด 7 วินาที ในระหว่างเวลานี้ ถ้ามีการกดหนึ่งในปุ่มหน่วยความจำ (1, 2 หรือ 3) จะมีการบันทึกตำแหน่งในขณะนั้น ในช่องหน่วยความจำที่เลือกไว้
ตำแหน่งที่มีการบันทึกไว้ สามารถเรียกดูเมื่อใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม มีการหยุดการทำงานฟังก์ชั่น 16 นาที หลังจากการปิดการจุดระเบิด จนกระทั่งมีการเปิดเทอร์มินอล R อีกครั้งหนึ่ง หรือจนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงสัญญาณเกิดขึ้น ที่โมดูลอินพุต (เช่น การเปิดประตู)
ตำแหน่งต่างๆ สามารถเรียกขึ้นมาได้ โดยการกดปุ่มหน่วยความจำที่ต้องการ (1, 2 หรือ 3) จนกระทั่งทำการปรับทั้งหมดเสร็จสิ้น นอกจากนี้ ยังสามารถที่จะใช้การทำงานอัตโนมัติ โดยการกดปุ่มเพียงสั้นๆ "โหมดการกดครั้งเดียว" นี้ทำได้ เมื่อ :
โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงในประตู ทำหน้าที่ควบคุมการทำความร้อนของกระจกเงา ฟังก์ชั่นการทำความร้อน ทำงานเมื่ออยู่ที่เทอร์มินอล 15 (สวิตช์กุญแจ ตำแหน่ง 2) เวลาในการทำงาน จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก
เจนเนอรัลโมดูลจะรับค่าอุณหภูมิภายนอกจาก IKE ผ่าน K บัส และ กำหนดรอบเวลาสำหรับการทำความร้อน ค่าเวลานี้ จะส่งไปที่โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งจะได้รับการดำเนินงานต่อไป การทำความร้อนจะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงกว่า 25 o C และ เปิดทำงานตลอดเวลาที่อุณหภูมิต่ำกว่า -10 o C
จะใช้มอเตอร์ขับแบบไฟฟ้า ในการพับกระจกเงาภายนอกเข้า (ออปชั่นพิเศษ) ในทิศทางตรงกันข้ามกับการขับขี่
ปุ่มพับกระจกเงาเข้า ติดตั้งอยู่ในชุดสวิตช์ ที่ประตูคนขับ สัญญาณปุ่มจะส่งผ่าน P บัส ไปที่โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ประตู โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของกระจกเงา จะมีการพับเข้าหรือออกที่สัมพันธ์กัน
ถ้ามีการพับกระจกเงาเข้าโดยทางกล อาจเกิดจากการใช้มือ หรือจากการชน กลไกกระจกจะหลุดออกจากชุดขับเคลื่อนการพับเข้า ไมโครสวิตช์ซึ่งติดตั้งในกระจกเงา ทำหน้าที่รับรู้การหลุดออกออกนี้ และ ต่อสัญญาณกราวนด์ ไปที่โมดูลอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เหมาะสม
ถ้ากระจกเงาซึ่งมีการหลุดออกโดยทางกล ได้รับการสั่งงานโดยการกดปุ่ม มอเตอร์พับเข้าจะเลื่อนกระจกเงาในทิศทางการพับเข้า จนกระทั่งไมโครสวิตช์รับรู้ว่ากระจกเงาเข้าที่แล้ว เวลาทำงานสูงสุดของมอเตอร์ คือ 15 วินาที
เนื่องจากในขณะที่มีการทำงานชุดมอเตอร์พับกระจกเงาเข้านั้น อาจเกิดการโอเวอร์โหลดความร้อนขึ้นได้ ถ้ามีการทำงานบ่อยๆ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการโอเวอร์โหลด จะมีการป้องกันการทำงานซ้ำ เพื่อหยุดการทำงานมอเตอร์พับกระจกเข้าเป็นเวลา 3 นาที หลังจากทำงาน 6 ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที
เซอร์โวโทรนิก เป็นระบบควบคุมพวงมาลัยเพาเวอร์แบบขึ้นกับความเร็ว
เซอร์โวโทรนิกจะรวมอยู่ในเจนเนอรัลโมดูล สัญญาณเอาต์พุตมาตรวัดความเร็ว (สาย) จาก IKE จะต่อไปที่เจนเนอรัลโมดูล เพื่อที่จะประเมินความเร็วรถยนต์ เพื่อที่จะตรวจจับความผิดพลาด นอกเหนือจากสัญญาณเอาต์พุตมาตรวัดความเร็ว จะมีการส่งผ่านค่าความเร็วจาก IKE ผ่าน K บัส ไปที่เจนเนอรัลโมดูลด้วย
กระแสไฟฟ้าสำหรับคอนเวอร์เตอร์อีเล็คโทรไฮดรอลิค จะได้รับการควบคุมในเจนเนอรัลโมดูล โดยขึ้นอยู่กับความเร็วในการขับขี่ ความเร็วยิ่งสูงเท่าไหร่ กระแสไฟฟ้าคอนเวอร์เตอร์ยิ่งลดลงเท่านั้น