อัลเทอร์เนเตอร์

อัลเทอร์เนเตอร์

อัลเทอร์เนเตอร์แบบมาตรฐาน

อัลเทอร์เนเตอร์แบบคอมแพค พร้อมตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น (MFR)

อัลเทอร์เนเตอร์แบบคอมแพค พร้อมตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น (MFR) และฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาขณะสตาร์ท

ไฟเตือนการชาร์จแบตเตอรี่

ไฟเตือนการชาร์จแบตเตอรี่ จะได้รับการสั่งงานด้วยวิธีที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับประเภทของตัวควบคุม

- เร็คกูเลเตอร์แบบมาตรฐาน

- ตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น :

 

ตัวควบคุม

หน้าที่ของตัวควบคุมคือ ทำการปรับแรงดันไฟฟ้าอัลเทอร์เนเตอร์ให้มีค่าคงที่ โดยไม่คำนึงถึงกระแสไฟฟ้าของอัลเทอร์เนเตอร์ และความเร็วอัลเทอร์เนเตอร์

- ตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น :

ตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น จะรวมการตรวจจับความผิดปกติไว้ด้วย จะมีการแสดงสัญญาณโดยไฟเตือนการชาร์จแบตเตอรี่ ในกรณีของ

- ตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น ที่มีการหน่วงเวลาขณะสตาร์ท

การตรวจจับความผิดปกติ จะตรงกันกับของตัวควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่น ที่ไม่มีการหน่วงเวลาขณะสตาร์ท

ฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาขณะสตาร์ท :

ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้ขั้นตอนการสตาร์ทเครื่องยนต์ ใช้เวลาสั้นลง โดยเฉพาะที่อุณหภูมิบรรยากาศต่ำ หน้าที่ของฟังก์ชั่นนี้คือ ทำการแก้ไขแรงบิดการเบรคที่ใช้กับเครื่องยนต์ อันเป็นผลมาจากการสตาร์ทอย่างเต็มกำลัง และเอาต์พุตในขณะนั้น สำหรับขั้นตอนการทำงานนี้ กระแสไฟฟ้าของโหลดจะถูกจำกัดให้อยู่ที่ 20 A ในระหว่างช่วงเริ่มต้น ปฏิบัติตามค่าที่จำกัดของกระแสไฟฟ้า จากนั้น กำลังไฟฟ้าเอาต์พุตจะขึ้นถึงอย่างช้าๆ

ไดอะแกรมการเปรียบเทียบ สำหรับระบบการวัดด้วยออสซิลโลแกรม

ข้อควรระวัง !

การเปรียบเทียบไดอะแกรม ใช้ได้กับอัลเทอร์เนเตอร์แบบมาตรฐานเท่านั้น !!!

ออสซิลโลแกรมของอัลเทอร์เนเตอร์แบบมาตรฐาน ที่มีสภาพการทำงานที่ดี :

P120001G
P120002G

สัญญาณแสดงผลอยู่ในช่วงแรงดันไฟฟ้า ระหว่าง 9 V และ 16 V สัญญาณสามารถเปลี่ยนแปลงได้มาก โดยขึ้นอยู่กับความเร็วรอบเครื่อง, สถานะโหลด และ สถานะแบตเตอรี่

ข้อควรระวัง !

การเปรียบเทียบไดอะแกรม ใช้ได้กับอัลเทอร์เนเตอร์แบบมาตรฐานเท่านั้น !!!

 

ออสซิลโลแกรมของอัลเทอร์เนเตอร์แบบมาตรฐาน ที่ไดโอดเกิดความบกพร่อง :

P120003G

สัญญาณแสดงผลอยู่นอกช่วงแรงดันไฟฟ้า ระหว่าง 9 V และ 16 V ที่ค่าแรงดันไฟฟ้าพีค และ/หรือ แรงดันไฟฟ้าค่าต่ำสุด ขึ้นอยู่กับประเภทของความผิดปกติ ค่าแรงดันไฟฟ้าพีค อาจจะสูงกว่าช่วงการวัดทั้งหมด กรณีนี้แสดงถึงสายขาด, ลัดวงจรลงกราวด์ หรือ ลัดวงจรกับขั้วบวก