เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้ / วาล์วโทรนิค

การปรับค่า/การทดสอบต่อไปนี้สามารถทำได้โดยอิสระจากโมดูลทดสอบอื่น :

การรับรู้และกำหนดค่าตำแหน่งสุด

เพื่อให้ได้ความสูงที่ถูกต้องของวาล์วที่เปิดออก ต้องปรับค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมดในเฟืองขับวาล์วให้สมดุลกัน ในขั้นตอนการรับรู้และกำหนดค่านี้ จะมีการเข้าถึงขีดจำกัดของกลไกการปรับเพลาข้อเหวี่ยงอย่างช้าๆ หลังจากนั้นจะบันทึกตำแหน่งที่เข้าถึงดังกล่าวนี้ไว้ และใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณช่วงชักของวาล์วปัจจุบันในตำแหน่งการทำงานแต่ละตำแหน่ง

ขั้นตอนการรับรู้และกำหนดค่าจะทำงานโดยอัตโนมัติ (ตัวอย่างเช่น หลังจากการซ่อม) ถ้าตรวจพบความแตกต่างระหว่างตำแหน่งสุดล่าสุดกับตำแหน่งเริ่มต้นใหม่ (เมื่อเทอร์มินอล 15 ON) นอกจากนี้สามารถทำการปรับได้โดยใช้เครื่องเทสเตอร์ DIS-plus

หลังจากได้เริ่มขั้นตอนการรับรู้และกำหนดค่าผ่านทางเครื่องเทสเตอร์ DIS-plus แล้ว จะได้ยินเสียงการปรับในห้องเครื่องยนต์ในช่วงสั้นๆ DME จะรายงานผลไม่ว่าการปรับจะทำงานถูกต้องหรือไม่

สำหรับการรับรู้และกำหนดค่าตำแหน่งสุด อาจปรากฏความผิดปกติในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติของ DME ด้วย และมีโมดูลทดสอบสำหรับกรณีนี้

การวัดการทำงานผิดปกติ

การวัดการทำงานผิดปกติจะทำหน้าที่ตรวจจับการหมุนของแต่ละกระบอกสูบที่ผิดปกติ ในขั้นตอนนี้ จะทำการวัดการทำงานที่ผิดปกติที่ช่วงชักวาล์วต่ำสุดเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงทำการวัดการทำงานผิดปกติที่ช่วงชักวาล์วสูงสุด

ถ้าค่าการทำงานผิดปกติของแต่ละกระบอกสูบต่างกันมากในกรณีของช่วงชักต่ำสุด แต่ไม่มีการเบี่ยงเบนในกรณีของช่วงชักสูงสุด อาจมีสาเหตุมาจากการชาร์จของกระบอกสูบที่ไม่เท่ากัน กลไกเฟืองขับวาล์วแบบปรับได้ที่สึกหรอหรือมีเขม่าจับที่วาล์ว (เมื่อมีการเปิดต่ำสุด) จะทำให้เกิดความแตกต่างของอัตราการไหลของอากาศของวาล์ว

ถ้าค่าการทำงานผิดปกติของกระบอกสูบมีความแตกต่างออกไปทั้งที่ช่วงชักต่ำสุดและช่วงชักสูงสุดแล้ว แสดงว่าสาเหตุความผิดปกติไม่ได้อยู่ที่เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้แต่อยู่ที่อื่น เช่น ที่วาล์วหัวฉีดหรือการจุดระเบิด นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากแหวนลูกสูบ, ชุดปรับระยะห่างวาล์วไฮดรอลิก หรือมีเขม่าจับมากได้ด้วย ถ้ามีสาเหตุมาจากอาการที่ลูกค้าแจ้ง ให้ทำการทดสอบกำลังอัดตามคำอธิบายด้านล่าง

การทดสอบกำลังอัด

การทดสอบกำลังอัดจะทำหน้าที่ตรวจจับความแตกต่างในการชาร์จในแต่ละกระบอกสูบ ในขั้นตอนนี้ ให้ทำการทดสอบกำลังอัดที่ช่วงชักวาล์วต่ำสุดเป็นอันแรก จากนั้นจึงทำการทดสอบกำลังอัดที่ช่วงชักวาล์วสูงสุด

ถ้าค่ากำลังอัดของแต่ละกระบอกสูบต่างกันมากในกรณีของช่วงชักต่ำสุด แต่ไม่มีการเบี่ยงเบนในกรณีของช่วงชักสูงสุด อาจมีสาเหตุมาจากการชาร์จของกระบอกสูบที่ไม่เท่ากัน กลไกเฟืองขับวาล์วแบบปรับได้ที่สึกหรอหรือมีเขม่าจับที่วาล์ว (เมื่อมีการเปิดต่ำสุด) จะทำให้เกิดความแตกต่างของอัตราการไหลของอากาศของวาล์ว

ถ้าค่ากำลังอัดของกระบอกสูบมีความแตกต่างออกไปทั้งที่ช่วงชักต่ำสุดและช่วงชักสูงสุดแล้ว แสดงว่าสาเหตุความผิดปกติไม่ได้อยู่ที่เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้แต่อยู่ที่อื่น เช่น ที่แหวนลูกสูบ, ชุดปรับระยะห่างวาล์วไฮดรอลิก หรือมีเขม่าจับมาก

การปรับทั้งช่วง (ตั้งแต่ 09/01)

เมื่อใช้ฟังก์ชั่นนี้ จะมีการควบคุมเครื่องยนต์ด้วยปีกผีเสื้อ คือ ลิ้นปีกผีเสื้อจะทำหน้าที่ในการปรับปริมาณอากาศเข้า เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้จะค่อยๆ เลื่อนจากช่วงชักต่ำสุดไปที่ช่วงชักสูงสุดโดยไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งนี้

การปรับแบบช้าจะช่วยให้สามารถทำการวิเคราะห์การทำงานล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในกลไกของเฟืองขับวาล์วแบบปรับได้ ด้วยเหตุนี้ หลังจากการปรับจะต้องอ่านหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ พร้อมกับการอ้างอิงถึงโมดูลทดสอบที่เกี่ยวข้อง

เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้, การปรับเทียบแถว (8 สูบ, N62 เท่านั้น)

สภาพบางอย่างที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการเบี่ยงเบนเล็กน้อย ระหว่างตำแหน่งเริ่มต้นของเพลาลูกเบี้ยวตัวบนของแถว 1 กับ แถว 2 ของวาล์วทรอนิค เนื่องมาจากความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์และการผลิต

หมายความว่า ค่าช่วงชักที่คำนวณได้ของวาล์วไอดีจะเท่ากันทั้งสองแถว แต่ค่าช่วงชักจริงจะแตกต่างกัน ความเบี่ยงเบนนี้หากสูงมากอาจทำให้การทำงานของเครื่องยนต์สะดุดได้

DME สามารถตรวจจับความแตกต่างของช่วงชักของทั้งสองแถวได้ตามลักษณะที่เปลี่ยนแปลง ในสภาพภายนอกบางอย่าง จะมีการปรับเพลาลูกเบี้ยวตัวบนให้ค่าช่วงชักจริงของทั้งสองแถวมีค่าเท่ากัน ฟังก์ชั่นนี้เรียกว่าการปรับเทียบแถว สามารถเรียกใช้งานการปรับเทียบแถวสำหรับเครื่องยนต์ N62 ได้ด้วยฟังก์ชั่นบริการ