เนื่องจากแรงเสียดทานภายในของเครื่องยนต์แต่ละเครื่องมีค่าไม่เท่ากัน เครื่องยนต์แต่ละเครื่องจะมีความต้องการอากาศที่แตกต่างกันเล็กน้อย ที่ความเร็วรอบเดินเบา ดังนั้น ระยะการรหมุนของเฟืองขับวาล์วแบบปรับได้ที่ความเร็วรอบเดินเบาจะขึ้นอยู่กับการสูญเสียกำลังเนื่องจากแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์
ระยะเลื่อนของวาล์วจะจำกัดตามระยะที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากความแตกต่างในการผลิตของอุปกรณ์จะไม่ส่งผลในการจ่ายไอดีที่ไม่สม่ำเสมอให้กับแต่ละกระบอกสูบ ถ้าปริมาณอากาศที่ต้องการเพื่อรักษาความเร็วรอบเดินเบาต่ำกว่าปริมาณที่ได้จากระยะเลื่อนของวาล์วขั้นต่ำ วาล์วปีกผีเสื้อจะปิดตามปริมาณที่เพียงพอเพื่อลดความเร็วรอบเดินต่ำให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้
อย่างไรก็ตาม ถ้า DME ตรวจพบการทำงานที่ไม่ราบรื่นที่ระยะเลื่อนของวาล์วขั้นต่ำแล้ว จะมีการเพิ่มระยะเลื่อนของวาล์วขั้นต่ำขึ้นอีก เมื่อระยะเลื่อนของวาล์วเพิ่มมากขึ้น ความแตกต่างระหว่างวาล์วแต่ละตัวจะลดลงตามสัดส่วน
ตัวอย่างที่ 1 : ระยะเลื่อนของวาล์วขั้นต่ำ : 0.3 มม., ความแตกต่างของขนาดของวาล์ว : 0.03 มม. = 10%
ตัวอย่างที่ 2 : ระยะเลื่อนของวาล์วขั้นต่ำ : 0.6 มม., ความแตกต่างของขนาดของวาล์ว : 0.03 มม. = 5%
นอกจากนี้ ยังคงมีขีดจำกัดสูงสุดสำหรับการปรับระยะเลื่อนของวาล์วต่ำสุด เนื่องจากถ้าเกินกว่าการเปิดวาล์ว จะไม่สามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงด้วยระบบวาล์วโทรนิคอย่างที่ต้องการได้
ภายใต้บางสภาวะ แกนต่อแต่ละอันในเฟืองขับวาล์วที่เปลี่ยนแปลงได้อาจเกิดการสึกหรอขึ้น เนื่องจากการสึกหรอเกิดขึ้นเฉพาะบางจุดบนผิวหน้าสัมผัสของแกนต่อเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถตรวจหาได้ในทุกสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ ด้วยสาเหตุนี้ จึงมีการทดสอบระบบพิเศษสำหรับวินิจฉัยการสึกหรอของแกนต่อ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการปรับทั้งหมด
เพื่อให้สามารถเริ่มทำการทดสอบระบบได้ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้ : เครื่องยนต์อยู่ที่อุณหภูมิทำงานปกติ ปิดระบบปรับอากาศ เครื่องยนต์อยู่ที่ความเร็วรอบเดินเบา ความเร็วรถยนต์ = 0 คันเร่งน้ำมันไม่ถูกเหยียบ เครื่องยนต์ไม่โช้ค (วาล์วโทรนิคไม่เปิด)
ในระหว่างการทดสอบระบบ เครื่องยนต์จะต้องเปลี่ยนจากโหมดอันโช้คเป็นโหมดโช้คที่ความเร็วรอบเดินเบา หากมีการสึกหรอของแกนต่อ การจุดระเบิดผิดพลาดจะเกิดขึ้นในระหว่างการเปลี่ยน การจุดระเบิดผิดพลาดจะรวมเข้าไปในแต่ละกระบอกสูบ หากเกินขีดจำกัดที่กำหนด จะสามารถวินิจฉัยแกนต่อที่สึกหรอได้