ออกซิเจนเซ็นเซอร์, เครื่องฟอกไอเสีย

 

การทำงาน

ระบบจะพยายามเตรียมส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงในอัตราส่วนที่เหมาะที่สุด (แลมด้า = 1) สำหรับการเผาไหม้ เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกไอเสียให้เหมาะสมที่สุด

ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของไอเสีย จะใช้ออกซิเจนเซ็นเซอร์ (เซ็นเซอร์ควบคุม) ก่อนเครื่องฟอกไอเสีย

ออกซิเจนเซ็นเซอร์จะวัดค่าออกซิเจนที่เหลือในไอเสีย และส่งค่าแรงดันไฟฟ้าที่ตรงกันไปยังชุดควบคุม DME ซึ่งถ้าจำเป็น จะทำการปรับแต่งส่วนผสมตามการเปลี่ยนแปลงของจังหวะการฉีดเชื้อเพลิง ค่าที่ต้องการ คือ ค่าออกซิเจนเซ็นเซอร์มากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าแลมด้า = 1 ขึ้นอยู่กับสถานะการทำงาน ในกรณีที่ออกซิเจนเซ็นเซอร์ทำงานผิดพลาด ชุดควบคุมเครื่องยนต์จะทำหน้าที่ควบคุมมลพิษแทน โดยใช้ค่าทดแทนที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้

ออกซิเจนเซ็นเซอร์ที่อยู่หลังเครื่องฟอกไอเสียจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบเซ็นเซอร์ควบคุม และประสิทธิภาพของเครื่องฟอกไอเสีย

การวิเคราะห์

การทำงานของออกซิเจนเซ็นเซอร์จะถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา การทำงานผิดพลาดของออกซิเจนเซ็นเซอร์ เช่น เกิดจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงผสมสารตะกั่ว สามารถตรวจจับได้ในชุดควบคุมเครื่องยนต์ สัญญาณของเซ็นเซอร์ก่อนเครื่องฟอกไอเสียจะถูกตรวจเช็คเปรียบเทียบกับสัญญาณหลังเครื่องฟอกไอเสีย การตรวจเช็คสถานะของเซ็นเซอร์จะทำโดยใช้โมเดลอุณหภูมิ

การออกแบบ

ออกซิเจนเซ็นเซอร์ก่อนและหลังเครื่องฟอกไอเสียเป็นเซ็นเซอร์แบบขั้น (แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่อค่าแลมด้า = 1)

การอุ่นร้อน

เนื่องจากออกซิเจนเซ็นเซอร์ก่อนเครื่องฟอกไอเสียต้องมีอุณหภูมิที่ระดับประมาณ 350 องศาเซลเซียส เพื่อให้สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงต้องทำการอุ่นร้อนออกซิเจนเซ็นเซอร์ทั้งหมด โดยชุดควบคุมเครื่องยนต์จะทำหน้าที่สั่งงานการอุ่นร้อนดังกล่าวนี้ ขณะเครื่องยนต์เย็น ระบบทำความร้อนจะไม่ทำงาน เนื่องจากหยดน้ำที่เกิดจากการควบแน่น อาจทำให้เซ็นเซอร์ที่ร้อนอยู่ชำรุดเสียหายได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว นี่คือสาเหตุที่ออกซิเจนเซ็นเซอร์ทำงานเพียงในช่วงสั้นๆ เท่านั้นหลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์ ในช่วงเริ่มแรก เซ็นเซอร์จะถูกอุ่นร้อนโดยใช้ความร้อนที่ไม่สูงนัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว