ระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับได้ด้วยตนเองพัฒนามาจากระบบ EHC ที่มีใช้อยู่แล้วในซีรี่ส์ 5 และ X5
ชุดควบคุมจะประมวลผลสัญญาณและข้อความ K-CAN ต่อไปนี้:
ชุดควบคุมจะพิจารณาแต่ละกรณีว่า จำเป็นต้องหยุดการทำงาน เพื่อถ่วงการเปลี่ยนแปลงของโหลดหรือไม่ และจะป้องกันไม่ให้มีการหยุดการทำงานในกรณีอื่นๆ ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการหยุดการทำงานในแต่ละสถานการณ์ได้ เช่น ความถี่ที่ดีที่สุด ความสูงที่กำหนด ค่าความคลาดเคลื่อน ขีดจำกัดและโหลดแบตเตอรี่
นอกจากการทำงานของระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับอัตโนมัติ ชุดควบคุมยังสามารถทำการตรวจสอบ บันทึก และแสดงผลความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบได้อีกด้วย
หน้าที่ของระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับได้อัตโนมัติ คือ การปรับระดับความสูงขณะขับขี่ที่ช่วงล่างหลังกลับสู่ระดับที่กำหนด เมื่อโหลดเปลี่ยนแปลง ระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับได้อัตโนมัติทำงานโดยการดูดหรือบีบอากาศเข้าหรือออกจากเบลโลว์ เซ็นเซอร์ระดับความสูงจะส่งข้อมูลระดับความสูงที่ด้านซ้ายและขวาของรถยนต์ไปที่ชุดควบคุม ถ้าระดับความสูงอยู่นอกค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนด ระบบจะหยุดการทำงานโดยใช้ชุดจ่ายลม เพื่อปรับตั้งระดับความสูงที่ระดับปกติ
การเปลี่ยนแปลงของโหลดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อรถยนต์จอดอยู่กับที่ ก่อนหรือหลังการเดินทาง เมื่อต้องการบรรทุกของ ต้องเปิดประตูหรือฝากระโปรงหลัง เมื่อเปิดประตูหรือฝากระโปรงหลังจะเป็นการเปิดใช้งานระบบ และหลังจากมีการถอดรถยนต์ (สัญญาณตัวตัดโหลด) 16 นาที ระบบจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ
เพื่อแบ่งแยกการเปลี่ยนแปลงโหลดจากการรบกวนอื่นๆ เช่น กรณีถนนไม่เรียบ สัญญาณความสูงจะถูกกรองผ่านตัวกั้นความถี่สูงสองตัวที่มีความถี่จำกัดแตกต่างกัน (ความถี่สูงและต่ำ) การกรองมีอธิบายอยู่ในการขับเคลื่อน/การกันสะเทือน HGK E39 สัญญาณและข้อความต่างๆ จะแสดงให้ชุดควบคุมทราบถึงสภาพการขับขี่ที่ต่างๆ จากนั้นชุดควบคุมจะเปลี่ยนไปที่โหมดการทำงานต่างๆ ตามสภาพการขับขี่
โหมดการทำงานจะหยุดการทำงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของรถยนต์ โหมดการขัดจังหวะการทำงาน ได้แก่:
โหมดรอทำงานเป็นสถานะเริ่มต้นของการขัดจังหวะการทำงาน ในโหมดรอทำงาน จะไม่มีการขัดจังหวะการทำงานเกิดขึ้น
ในโหมดก่อนการทำงาน ข้อความตัวตัดโหลดของโมดูลจ่ายกำลังไฟจะแสดงเวลาที่มีการควบคุมไว้ก่อนการทำงานและหลังการทำงาน สัญญาณตัวตัดโหลดจะได้รับการปรับตั้งโดยการทำงานต่างๆ ในรถยนต์ เช่น การกดมือจับประตู หรือการใช้งานระบบเซ็นทรัลล็อค และสัญญาณเอาต์พุตที่ K-CAN
ในกรณีที่มีสัญญาณตำแหน่งสวิตช์กุญแจเทอร์มินอล R หรือเทอร์มินอล 15 หรือเครื่องยนต์ทำงาน จะมีการปรับตั้งสัญญาณตลอดเวลา
ถ้าจอดรถทิ้งไว้ สัญญาณตัวตัดโหลดจะยังคงถูกปรับตั้งเป็นเวลา 16 นาที หลังจากการทำงานล่าสุด (เช่น การเปิดประตู) ถ้าสถานะประตูเปลี่ยนแปลงภายในช่วงเวลา 16 นาทีนี้ เวลาหลังการทำงานจะเริ่มต้นใหม่ เมื่อเวลาหลังการทำงานนี้หมดไป จะมีการส่งข้อความ 'ปิดสวิตช์การใช้ไฟ' และชุดควบคุมจะเปลี่ยนไปที่โหมดหลังการทำงานประมาณ 1 นาที ก่อนที่จะเข้าสู่โหมดรอทำงาน
ในโหมดก่อนการทำงานสามารถยกรถยนต์ขึ้นถึงระดับความสูงที่กำหนดได้ ถ้าระดับลดลงต่ำกว่าระดับความสูงที่กำหนดอย่างเห็นได้ชัด ช่วงค่าความคลาดเคลื่อนของการขัดจังหวะการทำงานในขณะนี้อยู่ที่ 40 มม. จากค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนการขัดจังหวะการทำงานนี้ทำให้มั่นใจว่า จะสามารถยกรถขึ้นเพื่อเพิ่มระยะห่างจากพื้นดินก่อนการออกตัวได้ เพื่อให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น น้ำหนักบรรทุกที่น้อยจะทำให้ระยะสปริงที่ถ่วงน้ำหนักหลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์น้อยลงด้วย การปรับตั้งนี้จะช่วยลดโหลดที่แบตเตอรี่
รถยนต์จะได้รับการลดระดับลง เมื่อค่าเฉลี่ยของสัญญาณระดับความสูงสองค่า > 0 มม. และด้านหนึ่งเกินกว่า + 10 มม.
สำหรับการสั่งให้มีการขัดจังหวะการทำงานในโหมดนี้ จะมีการวิเคราะห์เฉพาะที่ค่าเฉลี่ยของสัญญาณระดับความสูงสองค่าเท่านั้น (ตัวกรองเร็ว)
การขัดจังหวะการทำงานที่เริ่มต้นในโหมดอื่นๆ จะทำต่อไปด้วยช่วงค่าความคลาดเคลื่อนภายในที่ใช้กับโหมดนี้
ไม่มีการตรวจจับความเอียงในโหมดก่อนการทำงาน
เมื่อกลับไปที่โหมดปกติจากโหมดการขับเคลื่อน การขัดจังหวะการทำงานจะยังคงไม่สามารถทำได้จนกว่าจะมีการสั่งงานประตู เพื่อป้องกันการขัดจังหวะการทำงาน เช่น เมื่อจอดรถขณะรอสัญญาณไฟจราจร และอาการหัวทิ่มที่ช่วงล่างหลังจะเป็นสาเหตุให้ความสูงเพิ่มขึ้นเกินกว่าค่าเฉลี่ย
โหมดก่อนการทำงานใช้สำหรับถ่วงความเอียงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาก่อนที่จะเข้าสู่โหมดรอทำงาน เป็นโหมดสำหรับการปรับหลังการทำงาน โหมดหลังการทำงานมีเวลาจำกัด (ให้รหัสประมาณ 1 นาที) โหมดหลังการทำงานจะทำงานเฉพาะเมื่อเครื่องยนต์กำลังทำงานเท่านั้น หากไม่มีการทำงานของเครื่องยนต์ก่อนหน้านี้ จะมีการเปลี่ยนโดยตรงจากโหมดก่อนทำงานเข้าสู่โหมดรอทำงาน
การขัดจังหวะการทำงานเกิดขึ้นภายในช่วงค่าความคลาดเคลื่อน 7 มม. การขัดจังหวะการทำงานจะหยุดทำงานที่ 5 มม. โดยใช้ตัวกรองสัญญาณเร็ว ในกรณีที่มีความเอียง (การตรวจจับขอบถนน) การขัดจังหวะการทำงานอยู่ที่ระดับความสูงที่กำหนดไว้โดยเหมาะสมกับกรณีนี้
โหมดปกติเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับสถานะการทำงานปกติของรถยนต์ ซึ่งจะดูจากสัญญาณ 'เครื่องยนต์กำลังทำงาน'
ใช้ตัวกรองเร็วที่มีช่วงค่าความคลาดเคลื่อน 10 มม. อาจใช้ช่วงค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยกว่าในโหมดก่อนการทำงานได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องป้องกันความจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่
ในกรณีที่รถยนต์มีความเอียง (การตรวจจับขอบถนน) การขัดจังหวะการทำงานจะอยู่ที่ระดับความสูงที่กำหนดโดยเหมาะสมกับกรณีนี้
โหมดการขับเคลื่อนจะทำงานเมื่อตรวจจับสัญญาณความเร็วได้ > 1 กม./ชม. การขัดจังหวะการทำงานต้องอาศัยตัวกรองช้าของสัญญาณ เนื่องจากต้องทำการถ่วงน้ำหนักโหมดการทำงานเฉพาะความแตกต่างของระดับความสูงที่มีสาเหตุจากแรงต้านของรถยนต์ และการลดลงของน้ำหนักรถอันเนื่องมาจากการความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม การขัดจังหวะการทำงานด้วยตัวเองจะพิจารณาความสูงของตัวกรองเร็ว สำหรับการสิ้นสุดการควบคุม/การขัดจังหวะการทำงาน ตัวกรองช้าจะเริ่มกำหนดการทำงานอีกครั้ง
เนื่องจากอาการโคลงมีผลกระทบโดยตรงต่อความสูงที่วัดได้ การขับขี่บนทางโค้งนานๆ ด้วยมุมการโคลงที่ตรงกันจะทำให้เกิดการขัดจังหวะการทำงาน ถึงแม้ว่าจะมีการกรองช้าในโหมดการขับเคลื่อน เมื่อพ้นทางโค้ง อาจเกิดการเอียงและการขัดจังหวะการทำงานที่แก้ไขใหม่ โหมดทางโค้งจะป้องกันการขัดจังหวะการทำงานนี้ในลักษณะที่ตัวกรองช้าจะหยุดทำงาน เมื่อมีการตรวจจับการขับขี่ในทางโค้งและการขัดจังหวะการทำงานที่อาจจะเริ่มต้นถูกยกเลิก
มีการตรวจจับการขับขี่บนทางโค้งในกรณีที่มีสัญญาณอัตราเร่งในแนวขวางเข้ามา > 2 m/s2 เมื่อมีสัญญาณอัตราเร่งในแนวขวาง < 1.5 m/s2 โหมดทางโค้งจะหยุดทำงาน
สัญญาณอัตราเร่งแนวขวางจะถูกส่งโดยเซ็นเซอร์วัดอัตราการส่าย
ขอบถนน
การตรวจจับสถานะนี้จะช่วยป้องกันการเอียงที่เกิดขึ้นเมื่อล้อรถด้านหนึ่งคร่อมผ่านสิ่งกีดขวาง การชดเชยจะทำให้มีการปรับความเอียงของรถยนต์ใหม่ และการขัดจังหวะการทำงานใหม่ หลังจากขับผ่านสิ่งกีดขวาง
มีการตรวจจับสถานะขอบถนนเมื่อระดับความสูงระหว่างด้านซ้ายและขวาของรถแตกต่างกัน > 24 มม.
ถ้ารถยนต์มีน้ำหนักบรรทุกหรือไม่มีน้ำหนักบรรทุกขณะเกิดการเอียง ชุดควบคุมจะวิเคราะห์ค่าที่จุดกลางของรถระหว่างล้อหลัง ชุดควบคุมจะทำการคำนวณค่าจากการเปลี่ยนแปลงระดับความสูง ของพาธสปริงที่ด้านซ้ายและขวา
ถ้าค่าของ spring travel หรือการดีดกลับที่ศูนย์กลางของช่วงล่างหลังที่คำนวณได้ อยู่นอกช่วงค่าความคลาดเคลื่อน 10 มม. การปรับระดับด้วยตัวเองจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ด้านซ้ายและด้านขวาของรถยนต์จะยกสูงขึ้นหรือลดระดับต่ำลงโดยขนานกัน ยังคงมีความแตกต่างของระดับความสูงระหว่างรถยนต์ทั้งสองด้าน ทันทีที่ชุดควบคุมเข้าสู่โหมดการขับเคลื่อน โหมดวัดความเอียงจะถูกลบออก
โหมดยกขึ้นมีไว้สำหรับป้องกันการขัดจังหวะการทำงาน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของล้อหรือทำงานที่ช่องจอดของศูนย์บริการ
ถ้าตรวจพบโหมดนี้ การขัดจังหวะการทำงานทั้งหมดจะได้รับการป้องกันจนกว่าจะได้ถอดแม่แรงยกรถออก หรือลดระดับรถยนต์ลงจากช่องจอดของศูนย์บริการ
การตรวจจับจะเกิดขึ้นเมื่อเกินพาธการดีดกลับที่ยอมรับได้ 55 มม. ถ้าระดับความสูงที่ด้านซ้ายและ/หรือด้านขวาเกินพาธการดีดกลับ จะมีการตรวจจับสภาพการเปลี่ยนแปลงของล้อ/ช่องจอดของศูนย์บริการ
นอกจากนี้จะมีการตรวจจับสภาพช่องจอดของศูนย์บริการด้วย ถ้ารถยนต์ถูกยกขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงพาธการดีดกลับ 55 มม. รถยนต์จะขัดจังหวะการทำงานแต่จะไม่ลดระดับลง ถ้าวาล์วระบายทำงานและรถยนต์ไม่ลดระดับลง จะมีการตรวจจับสภาพช่องจอดของศูนย์บริการหลังจากช่วงเวลาหนึ่ง และจะมีการบันทึกระดับความสูงนี้ไว้ จะมีการรีเซ็ตถ้ารถยนต์อยู่ต่ำกว่าระดับความสูงที่บันทึกไว้นี้ 10 มม. หรือมีการตรวจจับการขับเคลื่อน
โหมดขนส่งปรับการทำงานโดยใช้การสั่งงานการวิเคราะห์ โหมดนี้ทำหน้าที่เพิ่มระยะห่างจากพื้นดินเพื่อให้มั่นใจว่าการขนส่งรถยนต์ด้วยรถขนส่งจะเป็นไปอย่างปลอดภัย ความสูง ที่กำหนดของรถยนต์จะเพิ่มขึ้นทีละ 30 มม. ในโหมดนี้
เมื่อโหมดนี้ทำงาน สัญลักษณ์ของระบบกันสะเทือนด้วยอากาศจะแสดงขึ้นที่แผงหน้าปัดในไฟแสดงการทำงานแบบปรับได้ และข้อความ”ระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับได้ด้วยตนเองไม่ทำงาน” จะแสดงขึ้นที่จอแสดงผลเช็ค-คอนโทรล เพื่อแสดงโหมดพิเศษ
ไม่มีการขัดจังหวะการทำงานในโหมดนี้ เนื่องจากน้ำหนักของรถยนต์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการขนส่ง
จะลบโหมดขนส่งออกด้วยการสั่งงานการวิเคราะห์เท่านั้น
โหมดสายการประกอบกำหนดไว้สำหรับสายพานการผลิตเพื่อป้องกันการปรับการทำงาน จอแสดงผลความผิดปกติจะทำงานและแสดงผลในไฟแสดงการทำงานแบบปรับได้ด้วยสัญลักษณ์ และแสดงข้อความ ”ระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับได้ด้วยตนเองไม่ทำงาน”ที่จอแสดงผลเช็ค-คอนโทรล
โหมดสายการประกอบจะถูกลบออกด้วยการสั่งงานการวิเคราะห์เท่านั้น