สำหรับชุดควบคุมความดันเทอร์โบ จะใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์แบบมีเทอร์ไบน์แบบปรับได้ และไม่มี”ช่องระบาย”
สำหรับที่ด้านไอเสีย จะมีใบพัดที่สามารถปรับได้อยู่ที่ด้านนอกของเทอร์ไบน์บนลูกปืนหมุน ใบพัดเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแรงที่ไอเสียกระทำกับเทอร์ไบน์ ซึ่งมีผลให้ความดันอัดที่เกิดขึ้นจากเทอร์โบชาร์จเจอร์เปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็น
แกนปรับบนตัวเทอร์ไบน์ทำหน้าที่สั่งงานใบพัดนำแบบปรับได้
แกนปรับนี้จะทำงานโดยรับคำสั่งจากตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบไฟฟ้า (มอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมเฟืองตัวหนอนและชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม) ที่ติดตั้งอยู่กับเทอร์โบชาร์จเจอร์โดยตรง ดังนั้นจึงไม่สามารถเปลี่ยนตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์แยกต่างหากได้
DDE จะจ่ายสัญญาณพัลส์โมดูเลตให้กับตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์แบบไฟฟ้า ช่วงการทำงานของสัญญาณอยู่ระหว่าง 10 % ถึง 95 % โดยที่ 10 % หมายถึง ใบพัดนำเปิด และ 95 % หมายถึง ใบพัดนำปิด
ชุดอิเล็กทรอนิกส์ในตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ จะแปลงสัญญาณ PWM เป็นค่ามุมปรับ และสั่งให้มอเตอร์แอ๊คทูเอเตอร์ทำงาน
DDE สามารถตรวจจับความถูกต้องของตำแหน่งการปรับได้โดยตรง ผ่านทางเซ็นเซอร์ความดันเทอร์โบ โดยปกติ ตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์มีความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเองได้ และจะรายงานความผิดปกติไปยัง DDE
แกนปรับต้องสามารถปรับได้จากตำแหน่งการสั่งงานต่ำสุดถึงสูงสุด ซึ่งเป็นมุมการหมุนระหว่าง 35° ถึง 45° การปรับต้องทำอย่างรวดเร็ว
จะมีการตรวจสอบความดันอากาศชาร์จเพื่อหาความผิดปกติต่อไปนี้ :
ผลจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบควบคุมความดันเทอร์โบ :
การควบคุมความดันเทอร์โบจะหยุดทำงานเช่นกัน เมื่อเกิดความผิดปกติต่อไปนี้ :