ระบบกันสะเทือนด้วยอากาศสำหรับเพลาหลัง ทำหน้าที่รักษาระดับความสูงของตัวถังรถให้มีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ตั้งไว้ให้มากที่สุด ในทุกสภาพโหลด ระดับที่เกือบคงที่หมายความว่า ข้อมูลทางเรขาคณิตรูปทรงของระบบกันสะเทือนเพลาหลัง เช่น มุมแคมเบอร์และโทอิน จะไม่เปลี่ยนแปลงแม้โหลดจะเปลี่ยนไป เป็นครั้งแรกที่รถ BMW ใช้โดยระบบกันสะเทือนด้วยอากาศรับโหลดเพลาหลังทั้งหมด โดยมีชุดควบคุมระดับเป็นออปชั่นพิเศษให้เลือก คือในรถรุ่น E39 ระบบนี้ควบคุมระดับเพลาหลังโดยอัตโนมัติ โดยคนขับไม่สามารถบังคับเองได้
ระบบกันสะเทือนด้วยอากาศเพลาหลัง จะช่วยหลีกเลี่ยงการควบคุมที่ไม่จำเป็นได้
ระบบนี้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ :
- การควบคุมไม่ขึ้นกับเครื่องยนต์
- สามารถทำการควบคุมล้อแต่ละล้อได้
- สามารถบอกความแตกต่างเกี่ยวกับสภาพโหลดและสภาพรถยนต์ได้
- สามารถตรวจจับและชดเชยโหลดที่ไม่สม่ำเสมอได้
- สามารถทำการวิเคราะห์ตัวเองได้
- การควบคุมจะหยุดเมื่อเข้าโค้ง และ/หรือ เมื่อขณะมีโหลด
ระบบทั้งหมดประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อไปนี้ :
- ระบบจ่ายลม (LVA)
- สตรัทกันสะเทือนแบบนิวเมติกสองตัว
- เซ็นเซอร์วัดความสูงสองตัวที่เพลาหลัง (ซ้าย/ขวา)
- ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์
- ไฟเตือน (แผงหน้าปัดรุ่นมาตรฐาน) หรือ จอแสดงข้อความ (แผงหน้าปัดรุ่นพิเศษ)
อุปกรณ์ของระบบมีดังนี้ :
ระบบจ่ายลมประกอบด้วย
- ฝาปิดพร้อมฉนวนป้องกันเสียงในตัว
- คอมเพรสเซอร์
- รีเลย์ของคอมเพรสเซอร์
- ชุดโซลินอยด์วาล์ว
- ท่อลม รวมทั้งชุดจ่ายลม
คอมเพรสเซอร์จะให้ความดันใช้งานสูงสุด 13.5 บาร์ คอมเพรสเซอร์นี้ เป็นแบบที่ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษา มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นมอเตอร์ไฟกระแสตรง
จุดสำคัญ !
เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์ทำงานจนร้อนเกินไป จะมีการตรวจเช็คระยะเวลาที่มอเตอร์ไฟฟ้าทำงาน : สูงสุด 8 นาที !
คอมเพรสเซอร์ได้รับไฟจากรีเลย์ของคอมเพรสเซอร์
จุดสำคัญ !
รีเลย์คอมเพรสเซอร์ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ! ถ้ารีเลย์คอมเพรสเซอร์ชำรุด จะต้องเปลี่ยนระบบ LVA ทั้งชุด
โซลินอยด์วาล์ว จะใช้สำหรับควบคุมการไหลของอากาศจากคอมเพรสเซอร์ ไปที่สตรัทระบบกันสะเทือน และ ในทางกลับกันด้วย สปริงนิวเมติกแต่ละตัวจะมีวาล์วหนึ่งตัว วาล์วเหล่านี้สามารถทำงานได้เป็นอิสระต่อกัน
ท่อลมจะต่อระหว่างชุดโซลินอยด์วาล์ว และชุดจ่ายลม ท่อเหล่านี้ จะมีรหัสสีบอกไว้ : สีน้ำเงินสำหรับท่อขวา, สีแดงสำหรับท่อซ้าย ชุดจ่ายลม จะทำหน้าที่เป็นอินเตอร์เฟสระหว่างระบบ LVA และท่อลมที่ไปที่สตรัทระบบกันสะเทือน จุดต่อของท่อลมเหล่านี้ก็จะมีรหัสสีบอกไว้ด้วยเช่นกัน ชุดจ่ายลมติดตั้งอยู่ในห้องเก็บสัมภาระท้ายรถ ใต้คานตามยาวด้านขวา
สตรัทกันสะเทือนแบบนิวเมติก ประกอบด้วยถังเก็บลม, เบลโลว์ และ ช่องว่างสำหรับขยายตัว เบลโลว์จะเป็นเป็นจุดต่อแบบอากาศอัดและเคลื่อนที่ได้ ระหว่างถังเก็บลมและสตรัทกันสะเทือน และ รับโหลดของรถยนต์โดยใช้วัดสุภายในที่แข็งแรงร่วมกับแรงดันอากาศที่อยู่ภายใน
เซ็นเซอร์ความสูง ติดตั้งอยู่บริเวณด้านหลังขวาและด้านหลังซ้าย ของชุดแบริ่งของแขนควบคุม เซ็นเซอร์นี้ ร้อยต่อเข้ากับแขนเพลาหลังด้วยสลัก ชุดควบคุมจะคำนวณความสูงของรถยนต์ จากข้อมูลมุมการหักเหของเซนเซอร์ เซ็นเซอร์ทั้งสองทำงานตามกฏของฮอลล์
ถ้ารถยนต์ติดตั้งชุดควบคุมระยะไฟหน้าเพิ่มเติม เซ็นเซอร์ด้านขวาจะทำหน้าที่สองอย่าง
ชุดควบคุมติดตั้งอยู่ในโมดูลในห้องเก็บสัมภาระ ใต้คานตามยาวด้านขวา
ไฟสัญญาณของระบบกันสะเทือนด้วยอากาศ จะใช้ในแผงหน้าปัดรุ่นมาตรฐาน โดยอยู่ถัดจากจอแสดงผล ASC ในแผงหน้าปัดรุ่นพิเศษ จะแสดงความผิดพลาดเป็นข้อความ
ไมโครโปรเซสเซอร์จะควบคุมระบบ โดยเริ่มทำงานเมื่อประตูหรือฝากระโปรงเปิด และ ทำงานต่อไปอีกประมาณ 16 นาที หลังจากที่ออกจากรถไปแล้ว คอมเพรสเซอร์ซึ่งใช้ไฟฟ้า ทำให้สามารถทำงานได้อิสระจากการทำงานของเครื่องยนต์
ชุดควบคุมกันสะเทือนด้วยอากาศจะประมวลสัญญาณต่อไปนี้
- สัญญาณหยุดการทำงานจากผู้ใช้
- ความสูง, ซ้าย
- ความสูง, ขวา
- เทอร์มินอล 15
- ความเร็วรถ
- เครื่องยนต์ ON/OFF
- ข้อมูลสถานะของประตูและฝากระโปรงรถ
ความสูงของรถยนต์ สามารถคำนวณได้จากปริมาตรของอากาศในสตรัทกันสะเทือนแบบนิวเมติก ปริมาตรอากาศนี้ จะเปลี่ยนไปตามโหลด โดย คอมเพรสเซอร์ และ/หรือ วาล์วในระบบจ่ายลม
ระบบ LVA จ่ายลมจากห้องเก็บสัมภาระ ไปที่เบลโลว์ผ่านทางโซลินอยด์วาล์ว ซึ่งจะทำงานโดยคำสั่งจากชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ จนกว่าจะถึงระดับที่ตั้งไว้
วาล์วกันกลับ จะป้องกันระบบไม่ให้มีความดันมากเกินไป
เมื่อระดับความสูงรถลดต่ำลง (โหลดน้อยลง) โซลินอยด์วาล์วที่เกี่ยวข้อง และ วาล์วออก จะทำงานโดยคำสั่งจากชุดอิเล็กทรอนิกส์ อากาศจะไหลออกไปสู่บริเวณโดยรอบได้อย่างสะดวก
จุดสำคัญ !
ระบบจะทำงานได้อย่างถูกต้อง ถ้าเป็นไปตามสภาพต่อไปนี้ : จะต้องลบโหมดการประกอบและโหมดการขนส่ง และ ทำตั้งค่าออฟเซ็ตความสูงเรียบร้อยแล้ว ! คำแนะนำในการลบโหมดการประกอบและโหมดขนส่ง และ การตั้งออฟเซ็ตความสูง ดูได้จากโปรแกรมวิเคราะห์ ในหัวข้อ " ฟังก์ชันบริการ " ("SERVICE FUNCTIONS") เมื่อลบโหมดการประกอบและ/หรือโหมดขนส่ง จะต้องตั้งออฟเซ็ตความสูง !
ได้มีการออกแบบโดยยึดหลักความปลอดภัย เพื่อป้องกันการทำงานผิดพลาด โดยเฉพาะขั้นตอนการควบคุมที่ไม่ต้องการ โดยการตรวจสอบสัญญาณและพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของระบบนั้นๆ ถ้าตรวจพบความผิดปกติ ระบบจะหยุดทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ คนขับจะทราบความผิดปกตินั้นได้ โดยดูจากไฟหรือข้อความในแผงหน้าปัด ความผิดปกติที่ตรวจพบ จะบันทึกไว้ในหน่วยความจำความผิดปกติ สามารถบันทึกความผิดปกติได้สูงสุดสามครั้ง
รถยนต์ทั้งสองด้านจะได้รับการควบคุมโดยอิสระจากกัน นั่นคือ จะทำการเปรียบเทียบค่าจริงสำหรับแต่ละทั้งด้านของรถยนต์ เมื่อระบบควบคุมยกรถยนต์ขึ้น จะมีการตรวจสอบเวลาที่อนุญาตให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน
พื้นผิวที่ไม่เสมอ (รถยนต์จอดอยู่นิ่ง) หมายถึงเมื่อล้อข้างหนึ่งอยู่บนสิ่งกีดขวาง ในขณะที่ล้อที่เหลืออยู่ที่ระดับเดียวกัน เนื่องจากพื้นผิวที่ไม่เสมอจะไม่ได้รับการชดเชย จึงไม่มีการเอียงไปด้านตรงข้ามเมื่อขับรถยนต์ออกจากสิ่งกีดขวางนั้น ถ้ารถยนต์มีโหลดมากในสภาพนี้ ระบบจะทำงานเพื่อให้ระยะห่างจากพื้นไม่น้อยเกินไป ระบบจะรับทราบพื้นผิวที่ไม่เสมอ เฉพาะเมื่ออยู่ในโหมดปกติหรือโหมดการปรับระดับขณะบรรจุโหลด และไม่ได้รับสัญญาณความเร็วจากชุดควบคุม เท่านั้น
ระบบจะแยกแยะระหว่างประเภทของการควบคุมต่อไปนี้ : โหมดทำงานก่อนการสตาร์ทเครื่อง/ทำงานหลังจากดับเครื่อง, โหมดปกติ, โหมดการปรับระดับขณะบรรจุโหลด, โหมดการประกอบ และ โหมดขนส่ง
ในโหมดทำงานก่อนการสตาร์ทเครื่อง/โหมดทำงานหลังจากดับเครื่อง จะรถยกรถยนต์ขึ้นถึงความสูงที่กำหนด เมื่อส่วนกลางของรถอยู่ต่ำกว่า 40 มม.จากความสูงดังกล่าว เท่านั้น สิ่งนี้ จะช่วยลดโหลดของแบตเตอรี่ก่อนที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ เนื่องจาก จะทำงานเพียงยกรถยนต์ เมื่อโหลดเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มระยะห่างจากพื้น ก่อนที่จะขับออกไป เท่านั้น สำหรับโหลดน้อยๆ สามารถใช้การชดเชยด้วยสปริงก็เพียงพอแล้ว โดยทำหลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว
ในโหมดปกติหรือโหมดการปรับระดับขณะบรรจุโหลด ระบบจะรักษาความสูงที่กำหนดไว้ ในโหมดปกติ จะมีการชดเชยโหลดที่เพลาหลังซึ่งอาจเกิดจาก ถังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ค่อยๆ พร่องในระหว่างขับขี่ หรือ โดยแรงยกของอากาศที่ท้ายรถยนต์ที่ความเร็วสูง ในโหมดการปรับระดับขณะบรรจุโหลด จะมีการชดเชยโหลดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อรถหยุดนิ่งและฝากระโปรงรถเปิด
สำหรับรถใหม่จากโรงงาน ชุดควบคุมใหม่จะอยู่ในโหมดการประกอบ นั่นคือชุดควบคุมไม่ทำงาน กระบวนการควบคุมยังไม่ทำงาน ความปลอดภัยมีเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนแสดงความผิดปกติในแผงหน้าปัดจะทำงาน
จุดสำคัญ !
การลบโหมดการประกอบ สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ (SERVICE FUNCTIONS) เท่านั้น !
หลังจากลบโหมดการประกอบแล้ว จะต้องทำการตั้งค่าออฟเซ็ตความสูง วิธีการทำ ดูได้จากโปรแกรมวิเคราะห์ในเมนู "ออฟเซ็ตความสูง" ของฟังก์ชั่นบริการ ( SERVICE FUNCTIONS "Height offset")
โหมดขนส่ง ทำให้มีการยกท้ายรถขึ้นประมาณ 30 ถึง 40 มม. เพื่อป้องกันอันตรายแก่ท้องรถ ในระหว่างการขนย้ายจากโรงงานมาที่ตัวแทนจำหน่าย กระบวนการควบคุมจะไม่ทำงาน และ ส่วนแสดงความผิดปกติในแผงหน้าปัดจะไม่ทำงาน
จุดสำคัญ !
การลบโหมดขนส่ง ทำได้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ฟังก์ชั่นบริการ (SERVICE FUNCTIONS) เท่านั้น ! ถ้าต้องทำการขนย้ายรถอีกครั้ง ก็สามารถใช้โหมดขนส่งได้อีก (SERVICE FUNCTIONS) ไม่ว่าจะเคยใช้โหมดขนส่งมาก่อนหรือไม่
หลังจากลบโหมดขนส่งแล้ว จะต้องทำการตั้งค่าออฟเซ็ตความสูง วิธีทำ สามารถดูได้จากโปรแกรมวิเคราะห์ในเมนู "ออฟเซทความสูง" ของฟังก์ชั่นบริการ ( SERVICE FUNCTIONS "Height offset")
ถ้าชุดควบคุมไม่ได้รับสัญญาณจาก K บัส สัญญาณสุดท้ายทีได้รับ (เช่น ประตู, ความเร็วรถ) จะยังคงมีผลอยู่ และ ชุดควบคุมจะอยู่ในโหมดที่เลือกครั้งสุดท้าย จนกว่าถูกยกเลิกโดยสัญญาณหยุดการทำงานจากผู้ใช้ เมื่อสตาร์ทเครื่องครั้งต่อไป หรือ เมื่อสตาร์ทเครื่องหลังจากที่การติดต่อสื่อสารล้มเหลว ชุดควบคุมจะยังอยู่ในโหมดทำงานก่อนสตาร์ทเครื่อง/ทำงานหลังจากดับเครื่อง และ คนขับจะทราบความผิดปกติได้ จากข้อความความผิดปกติในแผงหน้าปัด