ระบบปรับอากาศจะเปิดทำงานได้ โดยการกดปุ่ม ระบบปรับอากาศ การติดสว่างของไฟ LED แสดงการทำงาน จะแสดงว่าระบบปรับอากาศ อยู่ในโหมดสแตนด์บาย
คอมเพรสเซอร์จะเริ่มทำงาน ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขการเปิดใช้งานต่างๆ สมบูรณ์แล้วเท่านั้น จากนั้น อีแวปเพอเรเตอร์ จะทำให้อากาศเย็น โดยเพิ่มไปจนถึงอุณหภูมิใน โหมดทำความร้อนซ้ำ โดยอาศัยระบบแลกเปลี่ยนความร้อน
ถ้ามีการติดตั้งชุดควบคุมคอมเพรสเซอร์ ในทางกลไก ระดับอุณหภูมิที่จะตัดการทำงานอีแวปเพอเรเตอร์ จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก ระดับอุณหภูมิที่ตัดการทำงาน จะลดลง 1 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิภายนอกเพิ่มขึ้นสูงกว่า 20 ฐC
เพื่อป้องกันอีแวปเพอเรเตอร์ จากการเกิดน้ำแข็งเกาะ ระดับอุณหภูมิช่องทางออก จะได้รับการตรวจสถานะ โดยการใช้เซ็นเซอร์ (เซ็นเซอร์อีแวปเพอเรเตอร์ ) และคอมเพรสเซอร์ จะถูกควบคุม โดยการใช้คลัตช์แม่เหล็กไฟฟ้า
ON (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมด) |
OFF (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง) |
หมายเหตุ |
---|---|---|
ปุ่มระบบปรับอากาศ ON |
ปุ่มระบบปรับอากาศ OFF |
|
ปุ่มควบคุมการไหลของอากาศด้วยคนขับ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ |
ปุ่มควบคุมการไหลของอากาศคนขับ อยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ |
|
อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ > 3 o C |
อุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ < 2 o C |
โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก : จุดเปลี่ยนการตัดการทำงาน จะลดลงประมาณ 1 °C ที่อุณหภูมิค่าสูงกว่า 20 °C |
ทำให้สามารถส่งจาก DME (DME-KOREL) ได้ |
สัญญาณปีกผีเสื้อเปิดเต็มที่ จาก DME จะเริ่มปิดตามเวลา |
การตัดการทำงานจะถูกจำกัดชั่วคราว ประมาณ 3 วินาที |
ความเร็วรอบเครื่อง >600 rpm |
ความเร็วลดลงต่ำกว่าค่าต่ำสุด (600 rpm) |
|
อยู่บนพื้นฐานของความดันสารหล่อเย็น เซ็นเซอร์ความดัน จะกำหนดแรงบิดในการเปิดระบบ ของคอมเพรสเซอร์ A/C และระดับของพัดลมเสริม ที่จำเป็น และส่งข้อมูลนี้ในรูปของเทเลแกรมบน K บัส ไปยัง DME/DDE
เพื่อที่จะลดเวลาในการเร่งรอบเครื่องยนต์ ของเครื่องยนต์จากรอบเดินเบา จนถึงช่วงเร่งเต็มที่ คลัตช์แม่เหล็กไฟฟ้า จะปิดการทำงาน ในระยะที่จำกัด ขณะเร่งเครื่องเต็มที่ เวลาตัดการทำงาน คือ3 วินาที