การวิเคราะห์พลังงาน : การควบคุมเทอร์มินอล

ชุดควบคุมเทอร์มินอลจะมีอยู่ในชุดควบคุมต่างๆ แผนผังวงจรต่อไปนี้จะแสดงรายละเอียดของชุดควบคุมที่เกี่ยวข้อง และการรวมกันในระบบไฟฟ้ารถยนต์

BLB0605PIC60613102

KGM

โมดูลเกตเวย์ตัวถังรถ

SV

แผงจ่ายไฟด้านหลัง

CAS

ระบบการเข้า-ออกรถ

M-ASK

ตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ
(ขึ้นอยู่กับระดับอุปกรณ์)

CCC

Car Communication Computer
(ขึ้นอยู่กับระดับอุปกรณ์)

DME

ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล

DDE

ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล

IBS

เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
(ขึ้นอยู่กับระดับอุปกรณ์)

K-CAN SYSTEM

ระบบบัสสำหรับฟังก์ชั่นตัวถังรถ

MOST

ระบบบัสในบริเวณระบบเครื่องเสียงและระบบติดต่อสื่อสาร
(ขึ้นอยู่กับระดับอุปกรณ์)

PT-CAN

ระบบบัสสำหรับฟังก์ชั่นกลไกส่งกำลัง และแชสซี

เทอร์มินอลต่างๆ มีดังนี้ :

เทอร์มินอล 30 :

เทอร์มินอล 30 เชื่อมต่อจากขั้วแบตเตอรี่เข้ากับแผงจ่ายไฟด้านหน้าและด้านหลังผ่านทางขั้วนิรภัยสำหรับแบตเตอรี่ ทันทีที่ต่อแบตเตอรี่เข้ากับเทอร์มินอลต่างๆ แล้ว เทอร์มินอล 30 จะพร้อมทำงาน เทอร์มินอล 30 ทำหน้าที่จ่ายไฟให้ฟิวส์ประมาณ 42 ตัวในแผงจ่ายไฟ

ชุดควบคุมที่ได้รับไฟจ่ายจากเทอร์มินอล 30 :

AHM

โมดูลเทรลเล่อร์

CAS

ระบบการเข้า-ออกรถ

DME

ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล

DDE

ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล

DWA

ระบบสัญญาณกันขโมย

EDC-K

ระบบกันสะเทือน

KBM

โมดูลตัวถังรถ (จนถึงรุ่นปี 09/2006)

KGM

โมดูลเกตเวย์ตัวถังรถ

LM

โมดูลไฟ

SMBF

โมดูลที่นั่งผู้โดยสารด้านหน้า

SMFA

โมดูลที่นั่งด้านคนขับ

SZL

แผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย (โหลด)

เทอร์มินอล 30g :

CAS ทำหน้าที่ควบคุมเทอร์มินอล 30g เมื่อรถยนต์ทั้งคันเริ่มทำงานโดยการสั่งงานจากผู้ใช้ เทอร์มินอล 30g จะเริ่มทำงาน เทอร์มินอล 30g จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากผ่านช่วงเวลาทำงานหลังดับเครื่องที่ให้รหัสไว้ (เช่น 30 นาที) ช่วงเวลาทำงานหลังจากดับเครื่องจะเริ่มต้นเมื่อเทอร์มินอล R อยู่ที่ OFF เช่นเดียวกับในกรณีของเทอร์มินอล 15 รีเลย์ในแผงจ่ายไฟด้านหลังจะถูกสั่งงานโดย CAS ผ่านทางสวิตช์เซมิคอนดักเตอร์ รีเลย์ของเทอร์มินอล 30g จะจ่ายแรงดันไฟแบตเตอรี่ให้กับฟิวส์ประมาณ 26 ตัวในแผงจ่ายไฟด้านหลัง

ชุดควบคุมที่ได้รับไฟจ่ายจากเทอร์มินอล 30g :

ACC

ระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบแอคทีฟ

AL

ระบบบังคับเลี้ยวแบบแอ็คทีฟ

ALBBF

ความกว้างพนักพิงแบบแอ็คทีฟ ด้านผู้โดยสาร

ALBFA

ความกว้างพนักพิงแบบแอ็คทีฟ ด้านคนขับ

AMP

เครื่องขยายสัญญาณ

ARS

ระบบไดนามิกไดรฟ์

CID

จอแสดงข้อมูลส่วนกลาง

CON

ตัวควบคุม

CVM

โมดูลหลังคาเปิดประทุน

DAB

ตัวปรับหาคลื่นดิจิตอล

DSC

ระบบควบคุมเสถียรภาพ

EGS

ระบบควบคุมเกียร์

EHC

ระบบควบคุมความสูงแบบอิเล็กทรอนิกส์

EHB

เบรกอิเล็กโทรไฮดรอลิก (ตั้งแต่รุ่นปี 03/2007)

EKP

ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงแบบควบคุม

GWS

สวิตช์คันเลือกเกียร์ (ตั้งแต่รุ่นปี 03/2007)

HKL

ชุดยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย

HUD

จอแสดงผล Head-Up Display

IBOC

ตัวปรับหาคลื่นดิจิตอล US

IHKA

ระบบทำความร้อนและปรับอากาศอัตโนมัติแบบรวม

KHI

อินเตอร์เฟสหูฟัง

LDM

ชุดควบคุมแบบไดนามิกตามแนวยาว (ตั้งแต่รุ่นปี 03/2007)

LWS

เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว

NVE

ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับไฟในเวลากลางคืน

PDC

ระบบควบคุมระยะการจอด

TPM

ตัวตรวจสอบความดันลมยาง

RLS

เซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณน้ำฝน / แสงสว่างขณะขับขี่

SDARS

ตัวปรับหาคลื่นผ่านดาวเทียม

SHD

ซันรูฟแบบเลื่อน/เอียง

SHZH

ชุดทำความร้อนเสริมขณะรถอยู่กับที่

SMG

เกียร์สปอร์ตแบบซีเควนเชียล

SZM

ชุดสวิตช์ส่วนกลางที่คอนโซลกลาง

TCU

ชุดควบคุม Telematic
(ตั้งแต่รุ่นปี 09/2006, ยกเว้นรุ่น US)

TLC

การเตือนการเปลี่ยนช่องทางเดินรถ (ตั้งแต่รุ่นปี 03/2007)

ULF-SBX
ULF-SBX-H

ชุดอินเตอร์เฟส
ชุดอินเตอร์เฟสรุ่นพิเศษ

VM

โมดูลวิดีโอ

VTG

ห้องเกียร์

เทอร์มินอล 30g-f :

เทอร์มินอล 30g-f คือ เทอร์มินอล 30 ซึ่งจะหยุดทำงานเมื่อตรวจพบความผิดปกติเท่านั้น

โมดูลจ่ายกำลังไฟย่อยตั้งแต่รุ่นปี 09/2005 จะได้รับการแก้ไขให้เป็นชุดควบคุมอิสระ KGM จะทำหน้าที่ควบคุมเทอร์มินอล 30g-f ผ่านทางรีเลย์ bistable ซึ่งบัดกรีเข้ากับแผงชุดควบคุมอย่างแน่นหนา รีเลย์ bistable อาจอยู่ในสถานะทำงานหรือหยุดทำงานก็ได้ แต่โดยปกติ รีเลย์ bistable จะอยู่ในสถานะทำงานเสมอ รีเลย์ bistable มีคอยล์รีเลย์สองตัว และจะคงอยู่ในสถานะที่มีการสั่งงานครั้งล่าสุดเสมอ (ทำงานหรือหยุดทำงาน)

ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น จะรีเซ็ตเป็นเวลา 10 วินาที ก่อนที่ KGM จะสั่งปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g-f ซึ่งจะเป็นการลบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในชุดควบคุม แต่ถ้าความผิดปกติยังคงเกิดขึ้นอยู่อีกเป็นเวลา 5 นาทีหลังจากการรีเซ็ต เทอร์มินอล 30g-f จะหยุดทำงาน

ความผิดปกติสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณีดังนี้ :

  1. DME/DDE จะตรวจสอบระดับการชาร์จของแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลาโดยใช้ IBS เมื่อความสามารถในการเริ่มทำงานถึงขีดจำกัด IBS จะกระตุ้นรถยนต์ให้กลับมาทำงาน และ DME/DDE จะส่งข้อความให้รีเซ็ตเทอร์มินอล 30g-f เมื่อ KGM ได้รับข้อความ จะปิดการทำงานของรีเลย์ bistable เป็นเวลา 10 วินาที
    ถ้าระดับการชาร์จยังคงลดลงต่อไปอีกหลังจากการรีเซ็ตแล้ว DME/DDE จะส่งข้อความเพื่อตัดเทอร์มินอล 30g-f เมื่อ KGM รับข้อความ จะปิดการทำงานของรีเลย์ bistable หลังจากช่วงเวลาทำงานหลังจากดับเครื่องผ่านไป 2 นาที
  2. เมื่อเทอร์มินอล R OFF แล้ว KGM จะตรวจสอบว่ารถยนต์สามารถเข้าสู่สถานะเดินเบาได้หรือไม่ รถยนต์จะเข้าสู่สถานะเดินเบาได้ ก็ต่อเมื่อชุดควบคุมทั้งหมดพร้อมสำหรับการทำงานดังกล่าวนี้เท่านั้น ถ้าชุดควบคุมทั้งหมดไม่ส่งสัญญาณแสดงความพร้อมหลังจากผ่านไปประมาณ 60 นาที KGM จะสั่งปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g-f เป็นเวลา 10 วินาที
    ถ้าชุดควบคุมทั้งหมดไม่ส่งสัญญาณแสดงความพร้อมภายใน 5 นาทีหลังการรีเซ็ตนี้ KGM จะสั่งปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g-f หลังจากผ่านช่วงเวลาทำงานหลังดับเครื่อง 2 นาที
  3. หลังจากเทอร์มินอล R OFF ประมาณสองสามนาที โดยปกติแล้วรถยนต์จะเข้าสู่สถานะเดินเบา เมื่อเข้าสู่สถานะเดินเบาแล้ว KGE จะนับจำนวนครั้งที่มีการกระตุ้นให้รถยนต์กลับมาทำงาน KGM จะสั่งปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g-f เป็นเวลา 10 วินาที เมื่อมีการกระตุ้นรถยนต์ให้กลับมาทำงานอีกครั้งโดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่า 30 ครั้งขณะเทอร์มินอล R OFF
    ถ้ามีการกระตุ้นให้รถยนต์กลับมาทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจมากกว่า 5 ครั้งหลังจากการรีเซ็ตแล้ว KGM จะสั่งปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g-f หลังจากผ่านช่วงเวลาทำงานหลังดับเครื่อง 2 นาที

ทุกครั้งที่มีการรีเซ็ตและการตัดการทำงาน ความผิดปกติจะได้รับการบันทึกไว้ใน KGM สำหรับการรีเซ็ตหรือการตัดการทำงานของเทอร์มินอล 30g-f จะแยกต่างหากจากสิ่งที่ไปกระตุ้นการทำงานของความผิดปกติที่ตรวจพบ การรีเซ็ตและการตัดการทำงานเป็นเพียงความพยายามในการแก้ไขความผิดปกติในรถยนต์และป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ดับเท่านั้น การรีเซ็ตและการตัดการทำงานของเทอร์มินอล 30g-f จึงไม่ได้หมายความว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าของเทอร์มินอล 30g-f เสมอไป

เงื่อนไขการเริ่มทำงานของเทอร์มินอล 30g-f คือ เทอร์มินอล R ทำงาน ด้วยเหตุนี้ เทอร์มินอล 30g-f จึงทำงานพร้อมกับเทอร์มินอล R หรือเทอร์มินอล 15 เสมอ

ชุดควบคุมที่ได้รับไฟจ่ายจากเทอร์มินอล 30g-f :

CA

ระบบการเข้ารถแบบอัตโนมัติ

CDC

เครื่องเล่นซีดี

แผงหน้าปัด

แผงหน้าปัด

M-ASK

ตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ

CCC

Car Communication Computer

CNAV

ระบบนำทางรุ่นจีน

JNAV

ระบบนำทางรุ่นญี่ปุ่น

KBM

โมดูลตัวถังรถ (ตั้งแต่รุ่นปี 03/2007)

KNAV

ระบบนำทางรุ่นเกาหลี

SZL

แผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย (ชุดอิเล็กทรอนิกส์)
หมายเหตุ ! ระหว่างรุ่นปี 09/2006 และ 03/2007, ชุดอิเล็กทรอนิกส์ SZL ที่เทอร์มินอล 30

TCU

ชุดควบคุม Telematic
(ตั้งแต่รุ่นปี 09/2006, รุ่น US เท่านั้น)

ULF

ชุดเครื่องชาร์จและอุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบยูนิเวอร์ซัล

เทอร์มินอล 15 :

เทอร์มินอล 15 จะถูกควบคุมโดย CAS ตามที่มีการสั่งงานปุ่ม START/STOP (เมื่อเสียบกุญแจเข้าในช่องเสียบ)
กลไกเปลี่ยนเกียร์ของเทอร์มินอล 15 จะทำการเปลี่ยนใน CAS ผ่านทางสวิตช์เซมิคอนดักเตอร์ รีเลย์ในแผงจ่ายไฟจะถูกสั่งงานผ่านทางเอาต์พุตของสวิตช์เซมิคอนดักเตอร์ รีเลย์จะจ่ายแรงดันไฟแบตเตอรี่ให้กับฟิวส์ประมาณ 4 ตัวในแผงจ่ายไฟด้านหลัง โดยชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าของเทอร์มินอล 15 จะได้รับไฟจ่ายจากจุดนี้

ชุดควบคุมที่ได้รับไฟจ่ายจากเทอร์มินอล 15 :

FLA

อุปกรณ์ช่วยสำหรับไฟสูง

เพื่อความปลอดภัย ชุดควบคุมบางชุดจะมีการต่อสายเทอร์มินอล 15 โดยตรงจาก CAS เช่น LM (โมดูลไฟ) หรือ CVM (โมดูลหลังคาเปิดประทุน)

เทอร์มินอล 87 :

DME/DDE ทำหน้าที่ควบคุมเทอร์มินอล 87 ผ่านทางรีเลย์ใน E-box หรือโมดูลจ่ายไฟรวมแล้วแต่กรณี เทอร์มินอล 87 จะทำงานทันทีที่เทอร์มินอล 15 ON หลังจากเทอร์มินอล 15 หยุดทำงาน DME/DDE จะปิดการทำงานเทอร์มินอล 87 หลังจากนั้นเล็กน้อย

ชุดควบคุมที่ได้รับไฟจ่ายจากเทอร์มินอล 87 :

VTC

วาล์วโทรนิก

เทอร์มินอล R :

เทอร์มินอล R ไม่ใช่เทอร์มินอลฮาร์ดแวร์ ชุดควบคุมชุดหนึ่งจะได้รับไฟจ่ายจาก CAS ผ่านทางเทอร์มินอล R โดยตรง :

ACSM

โมดูลความปลอดภัยขณะเกิดการชน