สำหรับ MOST บัส จะมีข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติระหว่างระบบอยู่ในชุดควบคุม คุณสมบัติประการหนึ่งของข้อมูลความผิดปกติของระบบ คือ อาจมีการบันทึกความผิดปกติไว้ในชุดควบคุมด้วย ถึงแม้ว่าชุดควบคุมจะ เป็นปกติ ก็ตาม แต่ก็จะสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบในชุดควบคุม MOST ทั้งหมด มาหาข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุของความผิดปกติได้ ส่วนล่างนี้จะครอบคลุมความผิดปกติของระบบ ”ไม่สามารถทำการกระตุ้นการทำงานเครือข่ายได้” ความผิดปกตินี้สามารถบันทึกเข้าไปในชุดควบคุม MOST ทั้งหมด
ความผิดปกติ ”ไม่สามารถทำการกระตุ้นการทำงานเครือข่ายได้” แสดงให้ทราบว่ามีปัญหาในการรับส่งสัญญาณของเส้นใยนำแสง ลำแสงทะลุผ่านจุดใดจุดหนึ่งในวงแหวนน้อยเกินไปหรือไม่มีลำแสงทะลุผ่าน สาเหตุที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่ :
ต้องแยกความแตกต่าง ว่าวงแหวน MOST ขาดอย่างถาวรหรือเป็นระยะๆ เพื่อทำการทดสอบ เลือกและสั่งงานโหมดทดสอบ การวิเคราะห์ความผิดปกติของวงแหวน ขั้นตอนแรก คือ ต้องทำการตรวจเช็คความแข็งแรงของวงแหวน MOST
ถ้าวงแหวน MOST ขาดเป็นช่วงๆ ให้ทำการทดสอบการลดลงของแสงไฟ
ถ้าวงแหวน MOST ขาดอย่างถาวร ให้ทำการวิเคราะห์ความผิดปกติของวงแหวนต่อไป
ในโปรแกรมการทดสอบ เอาต์พุตไฟของชุดควบคุม MOST จะลดลงทีละชุดโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณต้องการทดสอบการลดลงของแสงไฟของชุดควบคุมใดๆ โดยเฉพาะ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ :
เนื่องจากวิธีนี้ ให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เพียงแต่ช่วยในการระบุความผิดปกติเท่านั้น จึงควรทำขั้นตอน 1 ถึง 4 ซ้ำหลายๆ ครั้ง ตรวจเช็คเส้นทางการรับส่งสัญญาณที่เสียงเพลงเงียบหายไป เพื่อตรวจสอบว่าปลั๊กต่อหลวมหรือไม่และชุดสายไฟเบอร์ออปติกคดงอหรือไม่ ถ้าผลจากการตรวจสอบด้วยสายตาปรากฏว่าเป็นปกติ ให้ตรวจหาตำแหน่งความผิดปกติที่แน่นอน (ไดโอดส่งสัญญาณ ชุดควบคุม A, ไดโอดรับสัญญาณ ชุดควบคุม B, สายไฟเบอร์ออปติก) โดยใช้การทดสอบสัญญาณแสง
เมื่อเกิดความผิดปกติของวงแหวน (ความผิดปกติในวงแหวน MOST) สิ่งแรกที่ต้องทำคือหาตำแหน่งความผิดปกติระหว่างชุดควบคุม MOST สองชุด ซึ่งทำได้โดยใช้ฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ความผิดปกติของวงแหวน
ตำแหน่งโหนด ”0”
ถ้าการจ่ายไฟไปยังชุดควบคุม MOST จะหยุดจ่ายไฟและจากนั้นจะเริ่มจ่ายไฟอีกครั้ง ในกรณีนี้ จะเป็นการสลับการทำงานของชุดควบคุม MOST ไปที่ ”โหมดความผิดปกติของวงแหวน” :
ชุดควบคุม MOST แต่ละชุด จะส่งสัญญาณไฟไปยังชุดควบคุมถัดไปในวงแหวนพร้อมกัน นอกจากนั้น ชุดควบคุม MOST แต่ละชุดจะตรวจเช็คที่อินพุตของชุดควบคุมว่าได้รับสัญญาณไฟหรือไม่ ชุดควบคุมที่ไม่สามารถตรวจจับสัญญาณไฟในอินพุต จะบันทึกตำแหน่งโหนดสัมพัทธ์ 0 ในหน่วยความจำความผิดปกติ ดังนั้นความผิดปกติของวงแหวนจะอยู่ระหว่างชุดควบคุมที่ได้บันทึกตำแหน่งโหนด 0 ไว้แล้ว และโหนดที่อยู่ก่อนหน้าในวงแหวน MOST
การตรวจหาชุดควบคุมโดยใช้ตำแหน่งโหนด ”0”
ดังนั้น เพื่อเป็นการค้นหาตำแหน่งความผิดปกติของวงแหวนระหว่างชุดควบคุมทั้งสองชุด จำเป็นต้องระบุชุดควบคุมที่ได้มีการบันทึกตำแหน่งโหนด 0 ไว้ ถ้าวงแหวนในเครือข่าย MOST เกิดความผิดปกติ ระบบจะสามารถติดต่อกับ Car Communication Computer (หรือ ตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ) ผ่านทางระบบวิเคราะห์เท่านั้น เนื่องจากชุดควบคุมสองชุดนั้นต่อเข้ากับบัส K-CAN โดยตรง การติดต่อกับชุดควบคุมอื่นจะไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการส่งสัญญาณจะส่งในทิศทางเดียวเท่านั้น และมีความผิดปกติของวงแหวน ซึ่งหมายถึง ระบบจะไม่สามารถกำหนดได้ว่าชุดควบคุมใดที่ทำการบันทึกตำแหน่งโหนด 0 เอาไว้ ดังนั้น จึงใช้กลไกที่แตกต่างกันสำหรับชุดควบคุม MOST แต่ละชุด เพื่อให้สามารถระบุได้ว่าความผิดปกติของวงแหวนเกิดขึ้นระหว่างชุดควบคุมสองชุดใด :
ชุดควบคุมที่อยู่ในวงแหวนหลังจากชุดควบคุมที่มีตำแหน่งโหนด 0 จะบันทึกตำแหน่งโหนด 1 ไว้ ชุดควบคุมถัดไปในวงแหวนจะบันทึกตำแหน่งโหนด 2 เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจหาตำแหน่งความผิดปกติของวงแหวนโดยใช้ตำแหน่งโหนดที่บันทึกไว้ใน Car Communication Computer (หรือตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ) ได้ โดยหมายเลขนี้สามารถอ่านค่าได้จาก CAN บัส โดยใช้วิธีนับลงด้านล่าง, นับถอยหลังโดยเริ่มนับจาก Car Communication Computer (หรือตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ) ทั้งนี้จะทำให้สามารถตรวจหาชุดควบคุมที่มีตำแหน่งโหนด 0 ได้
วิธีการนับแบบพิเศษสำหรับเครื่องเล่นดีวีดี : สำหรับชุดควบคุมเครื่องเล่นดีวีดี เมื่อทำการนับถอยหลังจาก Car Communication Computer (หรือตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ) ต้องนับเพิ่มทีละ 2 !
การวิเคราะห์ความผิดปกติของวงแหวนจะทำงานโดยอัตโนมัติในโมดูลทดสอบ ในโมดูลทดสอบ จะมีการกำหนดตำแหน่งโหนดที่บันทึกไว้ในชุดควบคุม Car Communication Computer (หรือตัวควบคุมระบบเสียงแบบมัลติ) ขั้นตอนอื่นนอกจากนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจหาตำแหน่งความผิดปกติของวงแหวนแบบอัตโนมัติได้ หลังจากกำหนดตำแหน่งโหนดแล้ว :
ขั้นตอนการหาตำแหน่งความผิดปกติของวงแหวนโดยใช้ตำแหน่งโหนด :