ชุดควบคุมการน็อคทำหน้าที่ตรวจสอบขั้นตอนการเผาไหม้ ฟังก์ชั่นของชุดควบคุมการน็อคได้มีการขยายขอบเขตการทำงานแล้ว นอกจากนี้ ยังมีชุดควบคุม DME ทำหน้าที่ตรวจสอบการน็อคแบบซุปเปอร์ด้วย (รูปแบบพิเศษของการจุดระเบิดด้วยตัวเอง)
อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับระบบชุดควบคุมการน็อคจะได้อธิบายไว้ ดังนี้ :
น็อคเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่ตรวจจับการเผาไหม้ที่เกิดการน็อค การน็อตจะได้รับการตรวจจับบนกระบอกสูบแต่ละชุดด้วยชุดควบคุม DME
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ปลั๊กต่อ 2 ขา |
2 |
น็อคเซ็นเซอร์ |
ในทางตรงกันข้ามกับการเผาไหม้ปกติ การเผาไหม้ที่มีการน็อคจะมีการจุดระเบิดโดยอัตโนมัติของส่วนผสมที่ยังไม่มีการเผาไหม้ไปจนสิ้นสุดการเผาไหม้ การทำงานของเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ที่มีการน็อค เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดความเสียหายมาก
แนวโน้มของการเกิดการน็อคจะสูงขึ้น เนื่องจาก :
ในเครื่องยนต์ที่ไม่มีชุดควบคุมการน็อค จะต้องนำอิทธิพลจากสิ่งไม่พึงประสงค์เหล่านี้ เข้ามาพิจารณาในการออกแบบการจุดระเบิด โดยการกำหนดช่วงระยะปลอดภัย สำหรับขีดจำกัดการน็อค อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้เป็นผลให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพ ในช่วงความเร็วสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฟังก์ชั่นระบบสำหรับชุดควบคุมการน็อคจะอธิบายไว้ ดังนี้ :
ชุดควบคุมการน็อคทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดการน็อค โดยการหน่วงจังหวะการจุดระเบิดของกระบอกสูบที่มีปัญหา (เลือกทำเฉพาะกระบอกสูบดังกล่าว) เท่าที่จำเป็น และเฉพาะกระบอกสูบที่มีความเสี่ยงต่อการน็อคเท่านั้น ซึ่งทำให้ สามารถปรับแผนผังลักษณะการจุดระเบิดเพื่อให้ได้ค่าความสิ้นเปลืองต่ำสุดได้ (โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับการน็อค) และไม่จำเป็นต้องมีระยะปลอดภัยอีกต่อไป ระบบควบคุมการน็อค จะช่วยแก้ไขส่วนที่เกี่ยวข้องกับการน็อคทั้งหมด ให้กับจังหวะการจุดระเบิด และ ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างสมบูรณ์ เมื่อใช้น้ำมันสูตรปกติ (ต่ำสุด RON 91)
ชุดควบคุมการน็อคมีประโยชน์ดังนี้ :
การวิเคราะห์ตัวเองของระบบควบคุมการน็อค จะประกอบด้วยการตรวจเช็คต่อไปนี้ :
ระบบควบคุมการน็อคจะหยุดทำงาน ถ้าพบความผิดพลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างที่ทำการตรวจเช็คเหล่านี้ โปรแกรมฉุกเฉินจะทำหน้าที่ควบคุมจังหวะการจุดระเบิด ในขณะเดียวกัน ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องจะได้รับการบันทึกไว้ในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ DME โปรแกรมฉุกเฉินทำให้มั่นใจได้ว่า ไม่มีความเสียหายเนื่องจากการทำงานตั้งแต่ค่าต่ำสุด RON 91 ซึ่งขึ้นอยู่กับโหลดของเครื่องยนต์, ความเร็ว และอุณหภูมิเครื่องยนต์
การจุดระเบิดด้วยตัวเองคือการจุดระเบิดที่เกิดขึ้นก่อนกำหนด ส่วนผสมจะถูกเผาไหม้โดยส่วนประกอบที่ติดไฟได้ในห้องเผาไหม้ก่อนการจุดระเบิดทางไฟฟ้า การจุดระเบิดด้วยตัวเองอาจเกิดขึ้นได้กับเครื่องยนต์ที่มีระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไดเร็คอินเจ็คชั่น
การน็อคแบบซุปเปอร์เป็นการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ศึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับเครื่องยนต์แบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ ในกรณีนี้ อัตราส่วนกำลังอัดสูงสุดจะเพิ่มขึ้นจาก 100 บาร์เป็น 200 บาร์ สาเหตุคือมีสิ่งสกปรกในห้องเผาไหม้ (น้ำมันหล่อลื่น, แก๊ซที่เหลือ, ฝุ่นคาร์บอน) ที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ในส่วนผสมก่อนที่จะถึงตำแหน่งการจุดระเบิดจริง นี่คือเหตุผลที่ไม่สามารถกำจัดการน็อคแบบซุปเปอร์ได้ด้วยการเข้าแทรกการจุดระเบิด
ถ้า DME ตรวจพบการน็อคแบบซุปเปอร์ กำลังส่งออกจะถูกลดลงเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เสียหาย การน็อคแบบซุปเปอร์ในช่วงสั้นๆ เกิดจากฝุ่น การน็อคแบบซุปเปอร์จะทำให้มีการปิดระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะสั้น (3 ถึง 6 รอบ) ที่กระบอกสูบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการบันทึกความผิดปกติไว้ในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติด้วย
อาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการพิมพ์หรือความผิดพลาดอื่นๆ ได้ ข้อมูลทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า