การทดสอบระบบมวลอากาศสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ระบบมวลอากาศ
ระบบมวลอากาศประกอบด้วย กลุ่มอุปกรณ์หลายกลุ่ม ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าจะมีการจ่ายอากาศบริสุทธิ์ไปยังเครื่องยนต์ได้ดีที่สุดในทุกช่วงการทำงาน ความผิดปกติในกลุ่มอุปกรณ์เหล่านี้ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการรบกวนต่างๆ ในการขับขี่ เช่น รถไม่มีกำลัง หรือเกิดควันดำ เป็นต้น
การทดสอบระบบมวลอากาศเป็นการตรวจเช็คระบบมวลอากาศทั้งหมด ดังนั้น จึงสามารถระบุสาเหตุของความผิดปกติให้กับกลุ่มอุปกรณ์ที่เกิดความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
กลุ่มอุปกรณ์ของระบบมวลอากาศ
ระบบมวลอากาศประกอบด้วย :
- เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จ
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศเข้า
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จ
- เซ็นเซอร์การไหลมวลอากาศ
- ตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสียประกอบด้วยวาล์ว EGR พร้อมเซ็นเซอร์ตำแหน่ง, คอนเวอร์เตอร์ความดัน, คอนเวอร์เตอร์ความดันที่ใช้สั่งงานแบบไฟฟ้าและแบบนิวเมติก
- แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จประกอบด้วยเทอร์โบชาร์จเจอร์สำหรับปรับ, แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จที่ใช้สั่งงานแบบไฟฟ้า
- ลิ้นอากาศหมุนวนพร้อมแอ๊คทูเอเตอร์ไฟฟ้า (ไม่มีสำหรับ N47uL)
- ไส้กรองอากาศ, ท่ออากาศ, ท่อ, คูลเลอร์อากาศชาร์จ, ระบบไอเสีย เป็นต้น
ขั้นตอนการทดสอบ
- ตรวจเช็คเซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จเพื่อแสดงค่าที่สอดคล้องกัน
- ตรวจเช็คเซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศเข้าและเซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จ เพื่อหาความสอดคล้องของสัญญาณ
- ตรวจเช็คมิเตอร์วัดการไหลมวลอากาศที่ความเร็วเอาต์พุตและเมื่อรถอยู่กับที่ โดยการเปรียบเทียบมวลอากาศที่วัดได้กับมวลอากาศที่คำนวณได้ตามหลักทฤษฎี (สำหรับคำอธิบายโดยละเอียด กรุณาดูโมดูลทดสอบและคำแนะนำการทดสอบการทำงาน ”มิเตอร์วัดการไหลมวลอากาศ”)
ในขณะเดียวกัน จะมีการตรวจเช็คด้วยว่าระบบสร้างความดันอากาศชาร์จรวดเร็วเพียงพอหรือไม่ และอยู่ในระดับที่สูงพอหรือไม่
- ตรวจเช็คการทำงานของวาล์วควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย และตัวกระตุ้นแรงดันอากาศชาร์จ/เทอร์โบชาร์จเจอร์ โดยใช้ขั้นตอนการทดสอบแบบอัตโนมัติต่อไปนี้ :
- การสั่งให้แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จทำงานที่ค่าพัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์ต่ำสุด
- ค่อยๆ เปิดตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย, วัดค่ามวลอากาศที่เปลี่ยนแปลง
- ปิดตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย
- การสั่งให้แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จทำงานที่ค่าพัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์สูงสุด
- ค่อยๆ เปิดตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย, วัดค่ามวลอากาศที่เปลี่ยนแปลง
สำหรับการทดสอบนี้ ความเร็วรอบเดินเบาจะเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
- ความเปลี่ยนแปลงของการไหลของมวลอากาศที่วัดได้จะถูกวิเคราะห์โดยอัตโนมัติ โดยการเปรียบเทียบกันระหว่างความเปลี่ยนแปลงที่วัดได้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สัมพันธ์กับตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย ตัวกระตุ้นความดันอากาศชาร์จและเทอร์โบชาร์จเจอร์
การประเมินผลการทดสอบ
โปรแกรมจะประเมินผลการทดสอบโดยอัตโนมัติ และระบุขั้นตอนสำหรับการตรวจสอบค้นหาสาเหตุและแก้ปัญหาอื่นๆ
หมายเหตุ : ถ้ามีการกำหนดค่าที่วัดได้ไม่ถูกต้องให้กับมิเตอร์วัดการไหลมวลอากาศและกลุ่มอุปกรณ์อื่นในเวลาเดียวกัน ความผิดปกติที่เกิดกับมิเตอร์วัดการไหลมวลอากาศมีแนวโน้มที่จะเป็นความผิดปกติระดับสอง ด้วยเหตุนี้ จะต้องเริ่มแก้ไขความผิดปกติที่กลุ่มอุปกรณ์อื่นๆ ก่อน ในกรณีที่มีข้อสงสัย ควรตรวจเช็คการทำงานของลิ้นปีกผีเสื้อและลิ้นอากาศหมุนวน
จากนั้น ต้องทำการทดสอบระบบมวลอากาศซ้ำ เพื่อตรวจเช็คมิเตอร์วัดการไหลมวลอากาศอีกครั้ง
ค่าที่วัดได้จากการประเมินและแสดงผล
นอกจากนี้ ยังแสดงค่าอากาศชาร์จที่วัดได้ด้วยเช่นกัน
อิทธิพลของลิ้นอากาศหมุนวน
ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับลิ้นอากาศหมุนวนนั้น ส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการทดสอบระบบการไหลของมวลอากาศ
อย่างไรก็ตาม การทำงานผิดปกติของลิ้นอากาศหมุนวนอาจทำให้เกิดข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ โดยจะเกี่ยวข้องกับความสอดคล้องกันของมวลอากาศ
ในขณะขับขี่ ความผิดปกติของลิ้นอากาศหมุนวนจะส่งผลกระทบดังต่อไปนี้ :
- ลิ้นอากาศหมุนวนค้างอยู่ที่ตำแหน่งปิด : ไม่มีกำลังที่ความเร็วรอบเครื่องสูง
- ลิ้นอากาศหมุนวนค้างอยู่ที่ตำแหน่งปิด : เกิดมลพิษในไอเสียมากขึ้น
ข้อกำหนดในการทดสอบระบบมวลอากาศ
เพื่อให้แน่ใจว่าการทดสอบระบบมวลอากาศจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้ :
- เครื่องยนต์ต้องอยู่ที่อุณหภูมิทำงาน
- ต้องปิดสวิตช์อุปกรณ์เสริมทั้งหมด เช่น ระบบปรับอากาศหรือระบบอุ่นที่นั่ง
- ไม่มีการบันทึกความผิดปกติทางไฟฟ้าในระบบต่อไปนี้ ไว้ในหน่วยความจำความผิดปกติ DDE :
- เซ็นเซอร์การไหลมวลอากาศ
- ตัวควบคุมการหมุนเวียนไอเสีย
- แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จ
- เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จ
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศเข้า
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จ
- เซ็นเซอร์ความดันบรรยากาศ
- ลิ้นปีกผีเสื้อ
- ลิ้นอากาศหมุนวน
- ตัวนำด้านไอดีและกรองอากาศต้องเป็นปกติ
- ลิ้นปีกผีเสื้อและลิ้นอากาศหมุนวนต้องสามารถใช้งานได้