ชุด ควบคุมความดันอากาศชาร์จช่วยทำให้แน่ใจได้ว่าสามารถตั้งค่าความดันอากาศชาร์จได้อย่างถูกต้องทันเวลาในทุกตำแหน่ง ความดันอากาศชาร์จจะถูกควบคุมหรือปรับ ทังนี้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งการทำงาน ในการทำงานการควบคุม แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จจะถูกสั่งงานโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งการทำงาน พร้อมพัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในแผนผังการทำงาน
ในการทำงานการปรับ ข้อมูลความดันอากาศชาร์จค่าจริงจะรับมาโดยผ่านเซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จ ชุดควบคุม DDE จะนำข้อมูลดังกล่าวไปคำนวณพัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์ที่ต้องการ เพื่อให้ได้ค่าความดันอากาศชาร์จเป้าหมายที่กำหนด
สำหรับชุดควบคุมความดันเทอร์โบ จะใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์แบบมีเทอร์ไบน์แบบปรับได้ และไม่มีวาล์ว ”ช่องระบาย”
สำหรับที่ด้านไอเสีย จะมีใบพัดที่สามารถปรับได้อยู่ที่ด้านนอกของเทอร์ไบน์บนลูกปืนหมุน ใบพัดเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแรงที่ไอเสียกระทำกับเทอร์ไบน์ ซึ่งมีผลให้ความดันอากาศชาร์จที่เกิดขึ้นจากเทอร์โบชาร์จเจอร์เปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็น
ก้านปรับบนตัวเรือนเทอร์ไบน์ใบพัดตัวนำแบบปรับได้
ก้านปรับถูกสั่งงานโดยแอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จแบบไฟฟ้า (มอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมเฟืองตัวหนอน และชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม) แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จยึดอยู่กับเทอร์โบชาร์จเจอร์โดยตรง และไม่สามารถเปลี่ยนแยกส่วนได้
DDE จะสั่งงานแอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จแบบไฟฟ้าโดยใช้สัญญาณแบบโมดูเลต ช่วงการทำงานของสัญญาณอยู่ระหว่าง 10 % ถึง 95 % โดยที่ 10 % หมายถึง ใบพัดนำเปิด และ 95 % หมายถึง ใบพัดนำปิด
ชุดอิเล็กทรอนิกส์ในแอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จแบบไฟฟ้าจะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ PWM ไปเป็นมุมปรับตั้งและจะสั่งงานมอเตอร์แอ๊คทูเอเตอร์
แอ๊คทูเอเตอร์ความดันอากาศชาร์จแบบไฟฟ้าจะทำการวิเคราะห์ตัวเอง และรายงานข้อมูลความผิดปกติไปที่ DDE
แกนปรับต้องสามารถปรับได้จากตำแหน่งการสั่งงานต่ำสุดถึงสูงสุด ซึ่งเป็นมุมการหมุนระหว่าง 35° ถึง 45° การปรับต้องทำอย่างรวดเร็ว
จะมีการตรวจสอบความดันอากาศชาร์จเพื่อหาความผิดปกติต่อไปนี้ :
ผลที่ตามมาเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระบบชุดควบคุมความดันอากาศชาร์จ :
ชุดควบคุมความดันอากาศชาร์จจะหยุดการทำงานด้วยเช่นกัน เมื่อมีความผิดปกติต่อไปนี้เกิดขึ้น :
เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จจะตรวจจับความดันสัมบูรณ์ (ความดันอากาศชาร์จและความดันบรรยากาศทั้งหมด) ในระบบไอเสีย และทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์สำหรับชุดควบคุมความดันอากาศชาร์จ
เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จจะยึดโดยตรงอยู่กับตัวดักอากาศสำหรับไอดี ชุดควบคุม DDE จะส่งสัญญาณไปให้เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จด้วยสายดิน (สัญญาณ M_LDF) และแรงดันไฟจ่าย 5 โวลท์ (สัญญาณ U_LDF)
ช่องในเซ็นเซอร์จะตรวจจับความดัน และจะส่งแรงดันไฟฟ้าที่สอดคล้องกับค่าแรงดันที่วัดได้ (สัญญาณ A_LDF) ไปยังชุดควบคุม DDE)
ถ้าตรวจพบความผิดปกติที่เซ็นเซอร์ความดันอากาศชาร์จ ชุดควบคุม DDE จะแสดงปฏิกิริยา ดังนี้ :
เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จจะตรวจจับอุณหภูมิของไอดีที่อัดโดยเทอร์โบชาร์จเจอร์และทำความเย็นโดยหม้อหล่อเย็นอากาศชาร์จ
เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จติดตั้งอยู่ที่ท่ออากาศชาร์จระหว่างหม้อหล่อเย็นอากาศชาร์จ และลิ้นปีกผีเสื้อ
ชุดควบคุม DDE จะตรวจจับอุณหภูมิของอากาศชาร์จ โดยใช้อิมพีแดนซ์ที่เปลี่ยนแปลงของเซ็นเซอร์
ตารางต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะค่าความต้านทานของเซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จ :
อุณหภูมิอากาศชาร์จ |
ค่าความต้านทาน |
- 20 °C |
21.8 กิโลโอห์ม |
0 °C |
7.35 กิโลโอห์ม |
20 °C |
2.8 กิโลโอห์ม |
40 °C |
1.2 กิโลโอห์ม |
60 °C |
560.1 โอห์ม |
80 °C |
282.9 โอห์ม |
100 °C |
152.9 โอห์ม |
ถ้าตรวจพบความผิดปกติที่เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศชาร์จ ชุดควบคุม DDE จะแสดงปฏิกิริยา ดังนี้ :