เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
ในกรณีนี้ ปริมาณการจ่ายอากาศให้กับเครื่องยนต์จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับลิ้นปีกผีเสื้อ แต่จะขึ้นอยู่กับช่วงชักของวาล์วไอดีซึ่งสามารถปรับได้ เพลาข้อเหวี่ยงแบบปรับด้วยไฟฟ้าจะใช้แกนกลางเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานของเพลาข้อเหวี่ยงบนกระเดื่องวาล์ว ซึ่งจะทำให้สามารถปรับช่วงชักของวาล์วได้
ในขณะนี้ จะใช้ลิ้นปีกผีเสื้อเฉพาะในการสตาร์ทและใช้สำหรับฟังก์ชั่นการทำงานฉุกเฉินเท่านั้น ในสถานะการทำงานอื่นๆ ทั้งหมด ลิ้นปีกผีเสื้อจะเปิดโดยจะส่งผลต่อการเหยียบคันเร่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับการระบายไอน้ำมัน ยังคงจำเป็นต้องใช้สุญญากาศอยู่ส่วนหนึ่ง
ชุดควบคุมเครื่องยนต์จะคำนวณตำแหน่งของเฟืองขับวาล์วแบบปรับได้จากตำแหน่งของคันเร่งน้ำมันและค่าตัวแปรอื่นๆ เฟืองขับวาล์วแบบปรับได้จะเลื่อนโดยใช้การสั่งงานจากชุดควบคุมและเซอร์โวมอเตอร์ของตัวมันเอง เซอร์โวมอเตอร์จะติดตั้งอยู่ที่ฝาสูบและทำหน้าที่ขับเพลาข้อเหวี่ยงผ่านเกลียวตัวหนอนเข้าไปในช่องน้ำมันเครื่องของฝาสูบ
การรับส่งสัญญาณระหว่างชุดควบคุมเครื่องยนต์และชุดควบคุมวาล์วโทรนิกจะผ่านบัส LoCAN แยกต่างหาก ฟังก์ชั่นทั้งหมดจะถูกคำนวณในชุดควบคุมเครื่องยนต์ ชุดควบคุมวาล์วโทรนิกจะประเมินสัญญาณของเซ็นเซอร์ตำแหน่ง และควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ของเพลาข้อเหวี่ยง
ตำแหน่งปัจจุบันของเพลาข้อเหวี่ยงจะถูกตรวจจับโดยเซ็นเซอร์ตำแหน่งแบบพิเศษ เซ็นเซอร์จะประกอบด้วยก้านตรวจวัดเชิงมุมแบบอิสระสองตัว ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์จะควบคุมตำแหน่งโดยชุดขับแบบไฟฟ้า จนกว่าตำแหน่งปัจจุบันจะตรงกับตำแหน่งที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัย ก้านตรวจวัดเชิงมุมจะมีเส้นกราฟการทำงานที่ตรงข้ามกัน โดยจะส่งสัญญาณแบบดิจิตอลสองสัญญาณไปยังชุดควบคุมวาล์วโทรนิก
โพเทนชิออมิเตอร์ทั้งสองตัวจะรับแรงดันไฟฟ้า 5 โวลท์จากชุดควบคุมวาล์วโทรนิก
ชุดควบคุมวาล์วโทรนิกจะตรวจสอบสัญญาณแรงดันไฟฟ้าของโพเทนชิออมิเตอร์ทั้งสองตัวตลอดเวลา โดยตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าอยู่ภายในช่วงที่ยอมรับได้หรือไม่ นั่นคือไม่มีการลัดวงจรหรือไม่มีความผิดปกติของเซ็นเซอร์
และสัญญาณทั้งสองต้องไม่แตกต่างกัน
ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น เพลาข้อเหวี่ยงจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่จะทำให้วาล์วเปิดสูงสุด ขณะนี้ปริมาณอากาศจะถูกจำกัดโดยลิ้นปีกผีเสื้อ ถ้าไม่สามารถที่จะตรวจจับตำแหน่งปัจจุบันได้ วาล์วจะเปิดสูงสุดโดยไม่มีการควบคุม
ชุดควบคุมวาล์วโทรนิกจะตรวจเช็คตลอดเวลาว่าตำแหน่งจริงของเพลาข้อเหวี่ยงตรงกับตำแหน่งที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อให้สามารถตรวจสอบการติดขัดของวาล์วได้ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ วาล์วจะเปิดกว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการจ่ายอากาศจะถูกควบคุมโดยลิ้นปีกผีเสื้อเท่านั้น
ถ้าชุดควบคุมเครื่องยนต์ไม่สามารถติดต่อกับชุดควบคุมวาล์วโทรนิกได้ เนื่องจากบัส LoCAN ผิดปกติ จะมีการสร้างการติดต่อแบบฉุกเฉินขึ้นระหว่างสายข้อมูลที่แยกต่างหาก (P_VVTEN)
เพื่อให้ได้ความสูงที่ถูกต้องของวาล์วที่เปิดออก ต้องปรับค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมดในเฟืองขับวาล์วให้สมดุลกัน ในขั้นตอนการรับรู้และกำหนดค่านี้ จะมีการเข้าถึงขีดจำกัดของกลไกการปรับเพลาข้อเหวี่ยงอย่างช้าๆ หลังจากนั้นจะบันทึกตำแหน่งที่เข้าถึงดังกล่าวนี้ไว้ และใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณช่วงชักของวาล์วปัจจุบันในตำแหน่งการทำงานแต่ละตำแหน่ง
ขั้นตอนการรับรู้และกำหนดค่าจะทำงานโดยอัตโนมัติ (ตัวอย่างเช่น หลังจากการซ่อม) ถ้าตรวจพบความแตกต่างระหว่างตำแหน่งสุดล่าสุดกับตำแหน่งเริ่มต้นใหม่ (เมื่อเทอร์มินอล 15 ON) นอกจากนี้สามารถทำการปรับได้โดยใช้เครื่องเทสเตอร์ DIS-plus