ระบบความปลอดภัย และไบต์ไฟลต์บัส
คำอธิบายลักษณะการทำงานทั่วไป

ระบบความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้ :

หน้าที่ของแต่ละฟังก์ชั่นจะระบุไว้ในคำอธิบายลักษณะการทำงานที่เกี่ยวข้อง

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

ไบต์ไฟลต์บัสและอุปกรณ์เชื่อมต่อรูปดาว SIM หรือ SGM

ระบบไบต์ไฟลต์บัสมีโครงสร้างเป็นรูปดาว แซทเทิลไลท์แต่ละตัว (= ชุดควบคุมที่มี/ไม่มีเซ็นเซอร์) เชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อรูปดาวโดยใช้สายไฟเบอร์ออปติก อุปกรณ์เชื่อมต่อรูปดาวในไบต์ไฟลต์บัสจะเป็น โมดูลข้อมูลและความปลอดภัย (SIM) หรือ โมดูลเกตเวย์และความปลอดภัย (SGM) ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นรถยนต์รุ่นใด อุปกรณ์เชื่อมต่อรูปดาวเป็น SIM หรือ SGM โดยจะมีคำอธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับ SIM และ SGM ในหัวข้อถัดไป

ตัวอย่างเช่น :

แซทเทิลไลท์/ชุดควบคุม

ในแซทเทิลไลท์แต่ละตัวจะมีชุดโมดูลส่งสัญญาณหนึ่งตัวและโมดูลรับสัญญาณหนึ่งตัว (ตัวส่งและตัวรับสัญญาณ) เพื่อทำหน้าที่ในการติดต่อกับไบต์ไฟลต์บัส แต่ละชุดมีไดโอดส่งและรับสัญญาณแบบรวมอยู่หนึ่งตัว

เซ็นเซอร์

ระบบความปลอดภัยจะใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ภายในและเซ็นเซอร์ภายนอก

ฟังก์ชั่นหลัก

การทดสอบตัวเอง

การทดสอบตัวเองขณะเทอร์มินอล R อยู่ในตำแหน่ง ON : การทดสอบตัวเองจะทำงานขณะที่เทอร์มินอล R อยู่ในตำแหน่ง ON การทดสอบตัวเองนี้ใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที ระบบความปลอดภัยทั้งหมดจะได้รับการตรวจเช็คระหว่างระยะการวิเคราะห์ตัวเอง

ความผิดปกติที่ตรวจพบในระบบ : ถ้า SIM หรือ SGM ตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นในขณะกำลังทดสอบตัวเอง การทดสอบตัวเองจะใช้เวลาสูงสุดประมาณ 1 นาที ไฟเตือนถุงลมนิรภัย ยังคงติดสว่างต่อไปอีก 10 วินาที ถ้ามีการตรวจพบความผิดปกติ

ระบบที่ไม่มีความผิดปกติ : ถ้าไม่พบความผิดปกติในระบบ ไฟเตือนถุงลมนิรภัยจะดับลงอีกครั้ง

ระบบความปลอดภัยจะเข้าสู่โหมดสแตนด์บายทันทีที่การทดสอบตัวเองสิ้นสุดลง

การตรวจสอบในระหว่างการใช้รถ : ในระหว่างการใช้รถ แซทเทิลไลท์แต่ละตัวจะทำการตรวจสอบตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยจะทำการตรวจสอบดังต่อไปนี้ :

การสั่งงานวงจรกระตุ้นการทำงาน

การสั่งงานวงจรกระตุ้นการทำงานจำเป็นต้องมีค่าอัตราเร่ง, การตรวจจับการใช้ที่นั่ง, การตรวจสอบหัวเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งในรูปแบบของข้อความไปยังไบต์ไฟลต์บัส จากนั้น SIM หรือ SGM จะทำหน้าที่ประเมินผล SIM หรือ SGM (เป็นตัวควบคุมไบต์ไฟลต์บัส) จะถอดรหัสตามข้อมูลเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ทั้งหมด เมื่อจำเป็นต้องปรับตั้งไบต์ไฟลต์ บัสให้อยู่ในสถานะที่สามารถกระตุ้นการทำงานได้ ”โหมดกระตุ้นการทำงาน” นี้ จะปรับตั้งแอ๊คทูเอเตอร์ทั้งหมดของระบบความปลอดภัยให้อยู่ในสถานะที่สามารถกระตุ้นการทำงานได้

ในการกระตุ้นการทำงานในขั้นต้น จะต้องมีสัญญาณที่เป็นอิสระและแยกจากกันอย่างสมบูรณ์ รวมถึงเส้นทางการเลือกด้วย : ในการกระตุ้นการทำงาน

การวิเคราะห์ตัวเองของวงจรกระตุ้นการทำงาน

ตรวจเช็ควงจรกระตุ้นการทำงาน

แสดงความผิดปกติโดยใช้ไฟเตือนถุงลมนิรภัย

ไฟเตือนถุงลมนิรภัยและตรวจเช็คข้อมูลการควบคุม

แซทเทิลไลท์แต่ละตัวจะส่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของชุดควบคุมไปยัง SIM หรือ SGM จากนั้น SIM หรือ SGM จะทำการประเมินข้อมูลที่เข้ามา และสั่งงานตามข้อมูลดังกล่าว

ในกรณีที่มีความผิดปกติ :

แรงดันไฟจ่าย SIM หรือ SGM

ช่วงที่กำหนดสำหรับแหล่งจ่ายไฟจากโมดูลข้อมูลด้านความปลอดภัยไปยังแซทเทิลไลท์ คือ : 9 โวลท์ - 11 โวลท์ SIM หรือ SGM จะสั่งปิดแหล่งจ่ายไฟไปยังแซทเทิลไลท์แต่ละจุด หลังจากผ่านไป 4 วินาที ถ้า

ถ้าถอดสายแซทเทิลไลท์ออก แหล่งจ่ายไฟจาก SIM หรือ SGM ไปยังแซทเทิลไลท์จะหยุดทำงานด้วย เพื่อให้สามารถวัดแรงดันไฟจ่ายจาก SIM หรือ SGM ต้องสั่งให้เอาต์พุตทำงานก่อน

ตัวอย่างเช่น : ต้องวัดแรงดันไฟจ่ายจาก SIM หรือ SGM ต้องใช้ขั้นตอนต่อไปนี้ :

ขั้นตอนการทำงานนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติในโปรแกรมการทดสอบ และเพื่อป้องกันการวัดที่ไม่ถูกต้อง (เช่น ใช้มัลติมิเตอร์) จึงมีคำอธิบายไว้ และไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยน !

หน่วยความจำความผิดปกติ

และอาจได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติแต่ละข้อมูล ดังต่อไปนี้ :

ระยะเวลาความผิดปกติ : ระยะเวลาความผิดปกติใช้สำหรับจัดระดับของความผิดปกติตามระยะเวลาของเหตุการณ์ที่ไม่ถูกรบกวน หรือมีการตรวจพบโดยชุดควบคุม จะปรากฏข้อมูลของการจัดระดับขึ้น เมื่อความผิดปกติได้หายไป หรือมีการเปลี่ยนการทำงานของชุดควบคุมเข้าสู่ ”โหมดสแตนด์บาย” ถ้าเกิดความผิดปกติที่ต่างไปจากที่จัดระดับไว้ จะมีการบันทึกไว้เป็นอีกระดับหนึ่ง

เวลาที่ระบบเริ่มผิดปกติ : จะแสดงเวลาที่เกิดความผิดปกติขึ้นเป็นครั้งแรก คำสั่งระบบวิเคราะห์ความผิดปกติจะทำการกำหนดเวลาของระบบ ในระหว่างการผลิตรถยนต์

เวลาที่ระบบหยุดผิดปกติ : จะแสดงเวลาเมื่อความผิดปกติหายไป ถ้ามีความผิดปกติอยู่ในขณะนี้ เวลาที่ระบบหยุดผิดปกติจะเท่ากับเวลาที่ระบบเริ่มผิดปกติ

อาการความผิดปกติ : ไฟเตือนถุงลมนิรภัยติดสว่าง แต่ไม่มีข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ

ถ้ามีการลบหน่วยความจำรหัสความผิดปกติออกหลังจากทำงานกับรถยนต์ไฟเตือนถุงลมนิรภัยอาจติดสว่าง แต่ไม่มีการบันทึกความผิดปกติลงในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติของชุดควบคุมไบต์ไฟลต์ ถึงแม้ว่าสวิตช์กุญแจจะอยู่ที่ OFF และ ON ไฟเตือนถุงลมนิรภัย ก็จะไม่ดับไปและจะไม่มีข้อมูลในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ :

E65, E66, E67, RR01 :

E85 :

E60, E61, E63, E64 :

หลังจากนี้ ควรปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติในชุดควบคุมไบต์ไฟลต์

ฟังก์ชั่นชุดควบคุม

ในโปรแกรมการทดสอบ จะมีคำแนะนำต่อไปนี้สำหรับความผิดปกติบางอย่าง :

  1. เปลี่ยนไปที่ 'ฟังก์ชั่นชุดควบคุม' และปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ :
  2. แซทเทิลไลท์ : ลบหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ
  3. SIM หรือ SGM : การสั่งงานเฉพาะอุปกรณ์ : เริ่มต้นการทดสอบตัวเอง
  4. SIM หรือ SGM : คำสั่งการวิเคราะห์ : สังเกตจุดสิ้นสุดของการทดสอบตัวเอง
  5. แซทเทิลไลท์ : อ่านหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ

หมายเหตุสำหรับกรณีที่ 2 : เปลี่ยนไปที่ฟังก์ชั่นชุดควบคุมของแซทเทิลไลท์ที่เกี่ยวข้อง และลบข้อมูลหน่วยความจำผิดปกติออก

หมายเหตุสำหรับกรณีที่ 3 : เปลี่ยนไปที่ฟังก์ชั่นชุดควบคุม SIM หรือ SGM ภายใต้ 'การสั่งงานเฉพาะอุปกรณ์' จากนั้นเริ่มต้นการทดสอบตัวเอง (การทดสอบตัวเองเป็นการทดสอบระบบความปลอดภัยโดยรวม) การทำงานนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการบันทึกความผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ !

หมายเหตุสำหรับกรณีที่ 4 : เปลี่ยนไปที่ฟังก์ชั่นชุดควบคุม SIM หรือ SGM ภายใต้คำสั่งการวิเคราะห์ ให้สังเกตจุดสิ้นสุดการทดสอบตัวเอง (หลังจากสิ้นสุดการทดสอบตัวเอง ให้ไปที่ข้อ 5)

หมายเหตุสำหรับกรณีที่ 5 : เปลี่ยนไปที่ฟังก์ชั่นชุดควบคุมของแซทเทิลไลท์ที่เกี่ยวข้อง และอ่านหน่วยความจำความผิดปกตินั้น

ฟังก์ชั่นบริการ

หมายเหตุด้านความปลอดภัย

ในทุกกรณี ให้ทำงานกับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่สวิตช์กุญแจ OFF เท่านั้น !

หากจะกระทำการใดๆ กับถุงลมนิรภัย จะต้องถอดสายแบตเตอรี่ออกก่อนทุกครั้ง !!

หากจะทำการต่อหรือถอดสายชุดควบคุมไบต์ไฟลต์, เซ็นเซอร์ต่างๆ หรือชุดจ่ายลมตัวใดก็ตาม จะต้องถอดสายแบตเตอรี่ออกก่อนเท่านั้น !

ถ้าจำเป็นต้องซ่อมสายไฟเบอร์ออปติกที่ไบต์ไฟลต์บัส ให้ระลึกไว้เสมอว่า อาจมีจุดต่อเพียงจุดเดียวระหว่างโมดูลข้อมูลความปลอดภัยกับแซทเทิลไลท์ หากมีการเชื่อมต่อปลั๊กประตูไว้แล้ว ห้ามทำการซ่อมสายไฟเบอร์ออปติกเด็ดขาด ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ จะต้องเปลี่ยนสายไฟเบอร์ออปติก !