โมดูลจ่ายกำลังไฟ

ตั้งแต่รุ่นปี 03/05เป็นต้นไป ต้องปฏิบัติตามคำอธิบายลักษณะการทำงานเพิ่มเติมต่อไปนี้ โดยต้องถอดสายเทอร์มินอล LM ออก :
TIS -> เอกสาร -> SI เทคโนโลยี -> หมายเลข SBT 610105125

โมดูลจ่ายกำลังไฟมีหน้าที่รักษาสภาพประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่ให้เพียงพอ

 

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

ส่วนประกอบของโมดูลจ่ายกำลังไฟ

เมนสวิตช์แบตเตอรี่แบบอิเล็กทรอนิกส์

เมนสวิตช์แบตเตอรี่แบบอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อมต่ออินพุตเทอร์มินอล 30 กับเอาต์พุตเทอร์มินอล 30U และเทอร์มินอล 30B บนโมดูลจ่ายกำลังไฟ

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะควบคุมฟังก์ชั่นการทำงานต่อไปนี้ ตามตำแหน่งของสวิตช์แบตเตอรี่ :

ซอคเก็ตกระแสไฟฟ้าแรงสูง

กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 220 แอมแปร์สามารถไหลผ่านซอคเก็ตกระแสไฟฟ้าแรงสูงสำหรับเทอร์มินอล 30, 30U และ 30B เป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้

สวิตช์แบตเตอรี่

ตำแหน่งของสวิตช์แบตเตอรี่มีดังต่อไปนี้ :

เซ็นเซอร์อุณหภูมิแบตเตอรี่

จะทำการวัดอุณหภูมิที่ขั้วลบของแบตเตอรี่โดยตรง

ฟังก์ชั่นหลัก

ฟังก์ชั่นการทำงานของโมดูลจ่ายกำลังไฟ

การชาร์จที่ดีที่สุด

จะมีการปรับตั้งแรงดันไฟฟ้าในการชาร์จที่ดีที่สุดตามระดับประจุไฟฟ้าและอุณหภูมิแบตเตอรี่ โดยมีค่าสูงสุดที่ 16 โวลท์ โมดูลจ่ายกำลังไฟจะรับรู้ระดับประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ได้ โดยการคำนวณกระแสไฟฟ้าแบตเตอรี่ในขณะขับขี่ และการวัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายออก เมื่อไม่มีการใช้รถ จะมีการคำนวณระดับประจุไฟฟ้า และอัพเดทโดยการวัดแรงดันไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ของแบตเตอรี่ หากระดับประจุไฟฟ้าต่ำกว่าระดับต่ำสุดที่คำนวณได้สำหรับการสตาร์ท ความเร็วรอบเดินเบาจะเพิ่มขึ้นเพื่อช่วยปรับสมดุลของการชาร์จ

การลดสภาพการใช้กระแสไฟฟ้าสูงสุด

หากตรวจพบการจ่ายประจุแบตเตอรี่ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน (ถึงแม้ว่าจะเพิ่มความเร็วรอบเดินเบาแล้ว) การจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จะค่อยๆ ลดลงจนหยุดทำงาน ตามลำดับความสำคัญของอุปกรณ์

อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ได้แก่

ถ้าแรงดันไฟแบตเตอรี่ลดลงต่ำกว่า 10.5 โวลท์ (เป็นเวลา 5 วินาที) เนื่องจากระดับโหลดสูง โมดูลจ่ายกำลังไฟจะสั่งงานให้เพิ่มความเร็วรอบเดินเบา และสั่งงานปิดระบบของอุปกรณ์ไฟฟ้าก่อนเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกัน เอาต์พุตไฟจ่ายของโมดูลจ่ายกำลังไฟ (ไฟภายในรถ, การตัดอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณหลังคา/ตัวถังรถ) จะหยุดทำงาน และข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้น

การตัดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม

เพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์สามารถสตาร์ทได้ จะต้องทำการตรวจสอบระดับประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ในขณะไม่ใช้งานรถยนต์ด้วย

โดยขึ้นอยู่กับ

การคำนวณระดับต่ำสุดของประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่มีความจำเป็นก็คือ เพื่อให้แน่ใจว่ารถยนต์สามารถสตาร์ทได้อีกครั้ง

หากระดับประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่เข้าใกล้ระดับต่ำสุดเนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม โมดูลจ่ายกำลังไฟจะสั่งให้ตัดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น

ในกรณีของการตัดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม จะสามารถแยกออกได้เป็นสองระดับดังนี้:

อุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมเมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่เทอร์มินอล R

เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสวิตช์กุญแจจากตำแหน่งเทอร์มินอล 15 เป็นเทอร์มินอล R จะมีการส่งข้อมูลที่มีความสำคัญอันดับ 1 การลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะลดลงตามลำดับ

และจะมีการคำนวณค่าประจุไฟของแบตเตอรี่ ถ้าค่าที่ได้ไม่ถึงค่าที่สามารถทำการสตาร์ทได้ ข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้น

ถ้าสถานะประจุไฟไม่เพิ่มขึ้น โมดูลจ่ายกำลังไฟจะส่งข้อความ ”ตัวนับการปิดระบบ” หลังจากผ่านไป 5นาที

หลังจากเวลาผ่านไปอีก 90 วินาที ระบบไฟฟ้าของรถยนต์จะหยุดทำงาน

เงื่อนไขสำหรับขั้นตอนนี้คือ ไม่มีชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายเปิดทำงานอยู่

ข้อความ ตัวนับการปิดระบบ รายงานให้ชุดควบคุมทั้งหมดทราบว่า จะมีการปิดแบตเตอรี่ในอีก 90 วินาที ซึ่งทำให้ชุดควบคุมทั้งหมดที่มีฟังก์ชั่นหน่วยความจำสามารถบันทึกข้อมูลลงใน EEPROM ได้

ถ้าชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปิดทำงานอยู่ มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย รวมอยู่ด้วย แบตเตอรี่จะไม่ตัดการทำงาน ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่จ่ายประจุไฟฟ้าออกจนหมดได้

อุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมเมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่เทอร์มินอล 0

หากคนขับเปิดสวิตช์ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม จะเป็นการส่งข้อความ ”ระบบควบคุมกำลังไฟ ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม” ไปยังโมดูลจ่ายกำลังไฟ การส่งข้อความนี้ ทำให้โมดูลจ่ายกำลังไฟสามารถคำนวณค่าประจุไฟฟ้าได้แม่นยำยิ่งขึ้น

หลังจากการส่งข้อมูลอย่างถูกต้อง ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมจะเริ่มทำงานและมีการตรวจสอบระดับประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ถ้าค่าที่ได้ไม่ถึงค่าที่สามารถทำการสตาร์ทได้ ข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้น

หลังจากเวลาผ่านไปอีก 5 นาที โมดูลจ่ายกำลังไฟจะเปลี่ยนเป็นการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ เงื่อนไข : ต้องไม่มีชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่กำหนดตามกฎหมาย เปิดทำงานอยู่

การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์

ขณะเทอร์มินอล 0 ทำงาน โมดูลจ่ายกำลังไฟจะเปลี่ยนไปตรวจสอบกระแสไฟฟ้าวงจรปิด หลังจาก 60 นาที หากรถยนต์มีการทำงานก่อนที่เวลาจะผ่านไป 60 นาที (เช่น การทำงานของไฟภายในรถ, ระบบเซ็นทรัลล็อค)ไทม์เมอร์สำหรับการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าวงจรปิดจะเริ่มทำงานอีกครั้ง

หลังจากที่ผ่านช่วงเวลานี้แล้ว กระแสไฟฟ้าวงจรปิดต้องไม่เกิน 80 มิลลิแอมป์ ถ้ากระแสไฟฟ้าวงจรปิดเกินกว่า 80 มิลลิแอมป์ โมดูลจ่ายกำลังไฟจะส่งข้อความ ”ตัวนับการปิดระบบ” หลังจาก 5 นาที หลังจากเวลาผ่านไปอีก 90 วินาที ระบบไฟฟ้าของรถยนต์จะหยุดทำงานเป็นเวลา 5 วินาที การหยุดทำงาน 5 วินาทีนี้ จะเป็นการรีเซ็ตฮาร์ดแวร์ของชุดควบคุม ซึ่งจะทำให้ชุดควบคุมอยู่ในสถานะเริ่มต้นตามที่กำหนดไว้ และด้วยการทำงานดังกล่าว ชุดควบคุมที่อาจเกิดความผิดปกติจะสามารถกลับมาทำงานได้อย่างถูกต้องอีกครั้ง

ถ้ากระแสไฟฟ้าวงจรปิดยังคงเกิน 80 มิลลิแอมป์ ในขณะที่เปิดสวิตช์อีกครั้ง ต้องทำขั้นตอนตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นซ้ำ

หากหลังจากนั้นกระแสไฟฟ้าวงจรปิดยังคงเกิน 80 มิลลิแอมป์ มาสเตอร์สวิตช์ของแบตเตอรี่จะสั่งให้ระบบหยุดทำงานอย่างถาวร

และจะทำการบันทึกสาเหตุของการหยุดทำงานไว้ในโมดูลจ่ายกำลังไฟ

เมื่อเทอร์มินอล 15 เปิด เมนสวิตช์แบตเตอรี่แบบอิเล็กทรอนิกส์จะปิด และข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้น

หมายเหตุ :

หลังจากเทอร์มินอล R OFF แล้ว จะทำการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าเสริมทันที หากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้เกิน 120 แอมแปร์ ไฟภายในรถ, อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณหลังคาและตัวถังจะถูกตัดการทำงานทันที

โหมดขนส่ง

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะเข้าสู่ฟังก์ชั่นโหมดขนส่งหลังจากเทอร์มินอล R OFF เป็นเวลา 30 นาที เมื่อทำการปรับสวิตช์แบตเตอรี่ไปที่ตำแหน่งปิด โมดูลจะส่งสัญญาณ”ปิดระบบ” ก่อนการปิดระบบ หลังจากเวลาผ่านไปอีก 90 วินาที จึงจะทำการปิดระบบ

เมื่อบิดสวิตช์กุญแจไปที่เทอร์มินอล R ข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้นเพื่อแจ้งให้คนขับทราบว่ารถยนต์อยู่ในโหมดขนส่ง

เมื่อตรวจพบสัญญาณเทอร์มินอล 15_w (จากระบบการเข้า-ออกรถ) หรือสวิตช์แบตเตอรี่เปิด (การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าวงจรปิด) เมนสวิตช์แบตเตอรี่แบบอิเล็กทรอนิกส์จะปิด

ในโหมดขนส่ง จะยังคงสามารถสตาร์ทรถยนต์และขับได้ ระบบทั้งหมดสามารถทำงานได้ ข้อความเช็ค-คอนโทรลจะยังคงทำงาน เมื่อบิดสวิตช์กุญญแจออกจากเทอร์มินอล R (OFF) การปิดระบบจะเกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากเวลา 30 นาทีตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น

การตัดระบบไฟฟ้าอัตโนมัติ

ถ้าไม่มีการสั่งการทำงานของฟังก์ชั่นใดๆ เกินกว่า 3 สัปดาห์ จะมีการตัดแบตเตอรี่ออกจากระบบไฟฟ้ารถยนต์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมดไฟ ฟังก์ชั่นดังกล่าวนี้ สามารถให้รหัสได้

การตัดโหลด

เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่หมดไฟ ถ้ามีการเปิดชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ (ไฟภายในรถ, ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณตัวถังรถและหลังคา) จะมีการตัดการทำงานของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นจากส่วนกลาง

เวลาการตัดทำงานหลังจากเทอร์มินอล R ปิด จะเป็นดังต่อไปนี้ :

เซอร์กิตเบรกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์

ถ้าตรวจพบกระแสไฟฟ้าลัดวงจรมากกว่า 250 แอมแปร์ มาสเตอร์สวิตช์แบตเตอรี่จะเปิดวงจรออก ก็ต่อเมื่อตรวจพบสัญญาณการแจ้งเตือน 15_w (จากระบบการเข้า-ออกรถ) เพื่อปิดมาสเตอร์สวิตช์แบตเตอรี่อีกครั้ง ขั้นตอนนี้จะทำซ้ำอย่างต่อเนื่องจนกว่าการลัดวงจรจะได้รับการแก้ไข

การแจ้งแรงดันไฟแบตเตอรี่ส่วนกลาง

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะวัดแรงดันไฟฟ้าแบตเตอรี่อยู่ตลอดเวลา และส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังชุดควบคุมอื่นๆ ทั้งหมด ผ่านทางสายเชื่อมต่อบัส

การแจ้งแรงดันไฟแบตเตอรี่ส่วนกลางจะช่วยให้ไม่จำเป็นต้องวัดแรงดันไฟแบตเตอรี่ของชุดควบคุมแต่ละตัวแยกทีละส่วน

ที่ทำความร้อนกระจกหลัง (ตัวไล่ฝ้า)

ชุดส่งเอาต์พุตฮีทเตอร์กระจกหลังแบบอิเล็กทรอนิกส์บน PM จะได้รับการสั่งงานโดยข้อความ K-CAN จากชุดควบคุม IHKA

ไฟภายในรถ

ไฟภายในรถจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะควบคุมไฟภายในรถ แรงดันไฟฟ้าของชุดเอาต์พุตจะได้รับการปรับให้คงที่

การควบคุมฝากระโปรงหลังและฝาปิดช่องเติมน้ำมันเชื้อเพลิง

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะควบคุมฟังก์ชั่นการทำงานของชุดอิเล็กทรอนิกส์บริเวณตัวถังที่เกี่ยวข้องกับฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายต่อไปนี้ :

หน่วยความจำข้อมูล

หน่วยความจำข้อมูลจะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ข้อมูลดังกล่าวจะเกี่ยวกับการอ่านสถานะการจ่ายไฟของแบตเตอรี่และอายุการใช้งาน

และจะใช้หน่วยความจำข้อมูลเพื่อเป็นขอบเขตการจ่ายไฟของแบตเตอรี่ในการทำงานปกติต่อไปในอนาคต

การป้องกันการทำงานผิดพลาด

เซ็นเซอร์อุณหภูมิแบตเตอรี่

ในกรณีที่เกิดการวงจรขาด, ลัดวงจร หรือค่าไม่สอดคล้องกัน ระบบจะใช้ค่า 20 องศาเซลเซียสเป็นค่ามาตรฐาน ค่าดังกล่าวนี้ จะตรงกับแรงดันไฟฟ้าชาร์จ 14.3 โวลท์ ที่แบตเตอรี่

สวิตช์แบตเตอรี่

ถ้าสวิตช์แบตเตอรี่เกิดความผิดปกติ การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าวงจรปิดจะทำงาน

เทอร์มินอล 15_w

การป้องกันการปิดสวิตช์โมดูลจ่ายกำลังไฟโดยไม่มีสัญญาณเทอร์มินอล 15_w สามารถทำได้โดยใช้สัญญาณต่อไปนี้ :

การติดต่อกับระบบบัส

ถ้าไม่สามารถติดต่อกับระบบบัสได้ ข้อมูลทั้งหมดจะหยุดชะงัก

ข้อความเช็ค-คอนโทรล

โมดูลจ่ายกำลังไฟสามารถส่งข้อความเช็ค-คอนโทรลต่อไปนี้ได้ :

การวิเคราะห์

ฟังก์ชั่นการวิเคราะห์จะทำการตรวจเช็คสถานะของสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตทั้งหมดของฟังก์ชั่นโมดูลจ่ายกำลังไฟ โดยจะสามารถสั่งงานเอาต์พุตแต่ละตัวแยกกันได้

สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์และมาสเตอร์สวิตช์แบตเตอรี่อิเล็กทรอนิกส์ จะได้รับการตรวจสอบการลัดวงจร/เปิดวงจร

ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น จะมีการบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำความผิดปกติ และข้อความเช็ค-คอนโทรลจะปรากฏขึ้น

ฟังก์ชั่นบริการ

คำสั่งปิดการทำงานระบบ

ฟังก์ชั่นนี้จะทำให้ชุดควบคุมเข้าสู่โหมดสแตนด์บาย

การเปลี่ยนแบตเตอรี่

ฟังก์ชั่นนี้ จะแจ้งโมดูลจ่ายกำลังไฟเกี่ยวกับการเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยจะมีการทำงานดังต่อไปนี้ :

ค่าอุณหภูมิที่กล่าวถึงข้างต้น จะเป็นค่าเฉลี่ยอุณหภูมิแบตเตอรี่ในช่วงสองถึงสามวันที่ผ่านมา

ค่าระดับประจุไฟฟ้าตามคำสั่งการวิเคราะห์ ”ตรวจจับการเปลี่ยนแบตเตอรี่” ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเฉลี่ยที่กล่าวถึงข้างต้น

อุณหภูมิเฉลี่ย

ค่าความจุ

< 25 °C

98 %

-10 °C

68 %

0 °C

66 %

10 °C

63 %

20 °C

61 %

> 30 °C

58 %

ค่าดังกล่าวนี้ จะถูกเก็บไว้จนกระทั่งไม่ได้ใช้รถยนต์เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หลังจากนั้น การวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจรจะตรวจวัดค่าความจุ ค่าความจุที่ตรวจวัดได้ในกรณีนี้ จะบันทึกไว้ในโมดูลจ่ายกำลังไฟ

ข้อสังเกตสำหรับฝ่ายบริการ :

การชาร์จแบตเตอรี่

จะสามารถเชื่อมต่อเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่ห้องเครื่องยนต์โดยการต่อกับขั้วสายดินแบตเตอรี่ หรือต่อตรงเข้ากับแบตเตอรี่ที่ด้านหลังรถก็ได้ เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้ โมดูลจ่ายกำลังไฟจะตรวจจับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ภายนอก หลังจาก 1 ชั่วโมง และแรงดันไฟแบตเตอรี่ > 13.2 โวลท์ โดยที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน หลังจากการตรวจจับการชาร์จแบตเตอรี่ภายนอก จะรายงานค่าระดับประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่ 80 % ไปยังฟังก์ชั่นการวิเคราะห์ แม้ว่าระดับประจุไฟฟ้าจะสูงหรือต่ำกว่าค่าดังกล่าวก็ตาม

ฟังก์ชั่นการชาร์จแบตเตอรี่ผ่านทางที่จุดบุหรี่

สามารถต่อเครื่องชาร์จกระแสไฟต่ำเข้ากับที่จุดบุหรี่ได้ อย่างไรก็ตาม ที่จุดบุหรี่ได้รับไฟจ่ายจากวงจรแยกของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบริเวณตัวถังผ่านทางรีเลย์ ถ้าสัญญาณเทอร์มินอล R ปิด นานกว่า 60 นาที รีเลย์ดังกล่าว จะถูกตัดวงจรโดยฟังก์ชั่นการตัดชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งหมายความว่า จะตัดวงจรเครื่องชาร์จที่เชื่อมต่อกับที่จุดบุหรี่ออกจากแบตเตอรี่ด้วย เพื่อป้องกันการตัดวงจร สามารถยกเลิกการทำงานของฟังก์ชั่นปิดระบบชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าได้

ขั้นตอน :

ปิดและเปิดสวิตช์แบตเตอรี่ 2 ครั้งภายในเวลา 2 วินาที

ฟังก์ชั่นนี้จะยกเลิกโดย