ในการควบคุมความดันเทอร์โบ จะใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์ที่มีหัวฉีดแบบปรับได้โดยไม่มี”ช่องระบาย” สองตัว
สวิตช์ควบคุมที่ตัวเรือนเทอร์ไบน์จะสั่งงานใบพัดนำแบบปรับได้ในเทอร์ไบน์ สวิตช์ควบคุมจะทำงานด้วยแอ๊คทูเอเตอร์ไฟฟ้า (มอเตอร์ไฟฟ้าแบบใช้เฟืองตัวหนอนและชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งมีการติดตั้งโดยตรงเข้ากับเทอร์โบชาร์จเจอร์ แอ๊คทูเอเตอร์ไม่สามารถแยกเปลี่ยนต่างหากได้
ตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ 1 จะติดตั้งอยู่ด้านขวาตามทิศทางเมื่อมองจากหลังรถ
ชุดควบคุมหลัก DDE สั่งให้ตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ 1ทำงาน ในขณะที่ชุดควบคุมรอง DDE จะสั่งให้ตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ 2 ทำงาน ตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ได้รับการสั่งให้ทำงานด้วยสัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยมที่มีพัลส์ดิวตี้แฟคเตอร์ (= ความกว้างพัลส์แบบเปลี่ยนแปลงได้) ตั้งแต่ 5 % ถึง 95 %
สวิตช์ควบคุมต้องเคลื่อนอยู่ระหว่างการสั่งงานค่าต่ำสุดและสูงสุด ที่มุมการหมุน 35° ถึง 45° การปรับต้องทำอย่างรวดเร็ว
จะมีการตรวจสอบความดันอากาศชาร์จเพื่อหาความผิดปกติต่อไปนี้ :
ผลจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบควบคุมความดันเทอร์โบ :
การควบคุมความดันเทอร์โบจะหยุดทำงานเช่นกัน เมื่อเกิดความผิดปกติต่อไปนี้ :