ระบบควบคุมความดันท่อหัวฉีด DDE6.0/6.2/6.3
อุปกรณ์ต่อไปนี้อยู่ในระบบท่อหัวฉีด และมีผลต่อระบบควบคุมความดันท่อหัวฉีด :
- ปั๊มแรงดันสูง (HDP)
- วาล์วควบคุมความดันท่อหัวฉีด (DRV)
- วาล์วควบคุมการไหล (MRV)
- เซ็นเซอร์ความดันท่อหัวฉีด
- แอคคิวมูเลเตอร์ความดันสูง (ท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิง)
- ท่อความดันสูง
- หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
การทำงาน
ปั๊มความดันสูงจะทำให้ความดันระบบคงที่ในท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดเวลา จะมีการปรับระดับความดันท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงให้ถูกต้องตามพารามิเตอร์การทำงานของเครื่องยนต์ ด้วยวิธีการควบคุมวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ (แนวคิดแอ๊คทูเอเตอร์คู่) :
- การปรับความดันด้วยวาล์วควบคุมความดันท่อหัวฉีด :
ปั๊มความดันสูงจะส่งน้ำมันเชื้อเพลิงความดันสูงไปยังท่อตลอดเวลา วาล์วควบคุมความดันท่อหัวฉีดจะเบี่ยงเบนปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากเกินที่ส่งไปยังท่อเข้าไปในท่อไหลกลับ จึงช่วยรักษาความดันท่อหัวฉีดให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ยิ่งกระแสไฟสัญญาณควบคุมสูงเท่าใด จะมีการรักษาความดันท่อหัวฉีดมากขึ้นเท่านั้น
วาล์วควบคุมการไหลจะปรับไปยังการไหลต่ำสุด
- การควบคุมปริมาณการไหลด้วยวาล์วควบคุมการไหล :
วาล์วควบคุมการไหล จะยอมให้ของน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนหนึ่งไหลจากด้านความดันต่ำเข้าไปในปั๊มความดันสูง เพื่อสร้างความดันท่อทางน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ต้องการ กระบอกสูบของปั๊มความดันสูงจะไม่มีน้ำมันเชื้อเพลิงจนเต็ม ยิ่งกระแสไฟสัญญาณควบคุมสูงเท่าใด จะมีการสร้างความดันท่อหัวฉีดน้อยลงเท่านั้น
วาล์วควบคุมความดันท่อหัวฉีดยังคงปิดอยู่ นั่นคือ ปรับไปยังความดันท่อหัวฉีดสูงสุด
วิธีการควบคุมสองวิธีการจะใช้ภายใต้เงื่อนไขการทำงานของเครื่องยนต์ ดังนี้ :
- เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบควบคุมความดันท่อหัวฉีดจะทำงานเสมอ
- เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน :
- ที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 19 °C ระบบควบคุมความดันท่อหัวฉีดจะทำงานเสมอ
- ที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงกว่า 19 °C การควบคุมปริมาณการไหลจะทำงาน
การตรวจสอบความดันท่อหัวฉีด
ความดันท่อหัวฉีดจะได้รับการตรวจสอบ ในระหว่างการสตาร์ทเครื่องยนต์และการทำงานของเครื่องยนต์ โดยใช้การเปรียบเทียบค่าที่กำหนด/ค่าจริง เซ็นเซอร์ความดันท่อหัวฉีดจะส่งค่าจริงไปยัง DDE DDE จะคำนวณค่าที่กำหนดตามสถานะการทำงาน ถ้า DDE ตรวจพบว่าความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าที่กำหนดและค่าจริง ออกนอกขีดจำกัดที่ยอมได้ จะมีการบันทึกความผิดปกติไว้ในหน่วยความจำความผิดปกติ
ความเบี่ยงเบนของความดันท่อหัวฉีดจากค่าที่กำหนด อาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้ :
- เกิดรอยรั่วภายนอกที่อุปกรณ์ในระบบท่อหัวฉีด
- วาล์วควบคุมการไหลยังไม่เปิด
- เกิดรอยรั่วภายในในระบบท่อหัวฉีด เช่น
- ในปั๊มความดันสูง (เช่น ลูกสูบสึกหรอ)
- บนวาล์วควบคุมความดันท่อหัวฉีด (การเบี่ยงเบนน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังท่อไหลกลับน้อยเกินไปหรือมากเกินไป)
- ที่หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง (ปริมาณการไหลกลับมากเกิน)
- สาเหตุจากภายนอก เช่น ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงผิดปกติ, ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงไหลกลับอุดตัน, มีอากาศเข้าในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
การตรวจสอบค้นหาสาเหตุและแก้ปัญหา
ถ้า DDE ตรวจพบว่าความคลาดเคลื่อนของการควบคุมความดันท่อหัวฉีด ออกนอกขีดจำกัดที่ยอมได้ จะทำการจำกัดปริมาณการฉีดเชื้อเพลิงในทันที ถ้าไม่มีการแก้ไขหรือทำให้ความคลาดเคลื่อนของการควบคุมลดลง เครื่องยนต์จะดับ หรือในบางกรณีอาจจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้