การจัดการพลังงานโดย Clean Energy
มีเน็ตเวิร์ครถยนต์แยกต่างหากโดยมีแบตเตอรี่เสริมอีกสองลูกสำหรับช่วงการทำงานของโมดูล CE เพื่อให้แน่ใจว่ามีแหล่งจ่ายไฟที่เป็นอิสระจากกันสำหรับแต่ละแชนเนลของโมดูล CE
รายละเอียดโดยรวม
ภาพหลักต่อไปนี้จะแสดงรถยนต์รถยนต์รายละเอียดโดยรวมของโครงสร้างวงจรของรถยนต์ในรถยนต์ CE
- ไดโอดป้องกัน ไดโอดป้องกันทำหน้าที่ในการยับยั้งแบตเตอรี่เสริม CE ไม่ให้สามารถคายประจุผ่านทางระบบไฟฟ้ารถยนต์ได้ ดังนั้น แบตเตอรี่เสริมของ CE จึงต้องจ่ายไฟให้เฉพาะกับโมดูล CE และอุปกรณ์ CE ที่ต่ออยู่กับโมดูล CE เท่านั้น
- โมดูล CE เซ็นเซอร์แบตเตอรี่ที่ต่อไว้ (IBS) ทำให้โมดูล CE สามารถตรวจจับสถานะการชาร์จของแบตเตอรี่ CE ได้
- แบตเตอรี่ CE เพื่อความปลอดภัย จึงต้องมีแบตเตอรี่สองตัว โดยที่แบตเตอรี่แต่ละตัวจะจ่ายไฟให้กับแชนเนลของโมดูล CE หนึ่งแชนเนล และแบตเตอรี่ CE แต่ละตัวมีเซ็นเซอร์แบตเตอรี่เสริม (IBS = Intelligent Battery Sensor = เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ) เป็นของตัวเองซึ่งจะส่งสถานะของแบตเตอรี่ไปยังโมดูล CE
- แบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ารถยนต์
- ระบบไฟฟ้ารถยนต์ที่มีอัลเทอร์เนเตอร์ อัลเทอร์เนเตอร์ทำหน้าที่ชาร์จแบตเตอรี่ทั้งหมดในรถยนต์
หมายเหตุด้านความปลอดภัย
แบตเตอรี่ CE เป็นส่วนหนึ่งของหลักความปลอดภัยในรถยนต์ CE เนื่องจากแบตเตอรี่เหล่านี้เป็นแหล่งจ่ายไฟสำหรับเซ็นเซอร์และแอ๊คทูเอเตอร์ CE
การถอดหรือคายประจุแบตเตอรี่หมายความว่าจะไม่สามารถตรวจสอบหาสัญญาณเตือนแก๊สในรถยนต์ได้อีกต่อไป
ให้ปฏิบัติตามสิ่งต่อไปนี้อย่างเคร่งครัดเมื่อทำงานกับแบตเตอรี่ CE :
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องชาร์จแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับรถยนต์ตลอดเวลาที่รถยนต์อยู่ในศูนย์บริการ ให้ต่อเครื่องชาร์จที่จุดต่อสำหรับชาร์จส่วนกลางในห้องเครื่องยนต์
- การที่มีไดโอดป้องกันหมายความว่าแรงดันไฟฟ้าในเน็ตเวิร์ครถยนต์ CE จะลดลงตั้งแต่ 0.2 ถึง 0.3 โวลท์ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องตั้งแรงดันไฟชาร์จที่เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ไว้ที่ 14.8 โวลท์
- ถ้ามีการถอดหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ CE ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชาร์จแบตเตอรี่ CE จนเต็มแล้วก่อนที่จะทำการติดตั้ง ! โดยให้ต่อแบตเตอรี่ CE เข้ากับเครื่องชาร์จแบตเตอรี่และชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ในทุกกรณีก่อนที่จะทำการติดตั้ง
- ถ้ามีการเปลี่ยนเซ็นเซอร์แบตเตอรี่ (IBS) ของแบตเตอรี่ CE ต้องตรวจสอบให้แน่ใจเช่นกันว่าได้ชาร์จแบตเตอรี่ CE จนเต็มแล้วก่อนที่จะทำการติดตั้งเซ็นเซอร์ IBS ใหม่
- แบตเตอรี่ CE จะไม่สามารถคายประจุผ่านทางระบบไฟฟ้ารถยนต์ได้ก็ต่อเมื่อไดโอดป้องกันไม่มีความผิดปกติใดๆ เลยเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงต้องตรวจเช็คไดโอดป้องกันทุกๆ 3 เดือนในระหว่างการซ่อมบำรุง
และจะต้องทำการตรวจเช็คหลังจากการทำงานทุกอย่างเกี่ยวกับรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว
การตรวจเช็คไดโอดป้องกัน CE
สามารถตรวจเช็คไดโอดป้องกัน CE ได้ดังต่อไปนี้ :
- หยุดการทำงานทั้งหมดกับรถยนต์
- ถอดสายเครื่องชาร์จแบตเตอรี่
- สตาร์ทเครื่องยนต์ (โหมดการทำงานน้ำมันเบนซินหรือไฮโดรเจน)
- วัดแรงดันไฟของแบตเตอรี่รถยนต์
- วัดแรงดันไฟของแบตเตอรี่ CE
ถ้าแรงดันไฟแบตเตอรี่ที่วัดได้ของแบตเตอรี่ CE มีค่าต่ำกว่าแรงดันไฟแบตเตอรี่ที่วัดได้ของแบตเตอรี่รถยนต์ 0.2 โวลท์ ถึง 0.3 โวลท์ แสดงว่าไดโอดป้องกันเป็นปกติ
การกำหนดสถานะการชาร์จ
เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS)
เซ็นเซอร์แบตเตอรี่ (IBS) สองตัวได้รับการติดตั้งเพื่อกำหนดสถานะการชาร์จของแบตเตอรี่ CE IBS จะตรวจจับกระแสไฟฟ้าของการชาร์จและการคายประจุ (ความสมดุลของกระแสไฟฟ้า)
เพื่อให้สามารถสรุปผลของสถานะการชาร์จ (SoC = State of charge) ของแบตเตอรี่ได้ จึงจำเป็นจะต้องรู้สภาพทั่วไปของแบตเตอรี่ก่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้วิธีการวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจร
การวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจร
การวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจรสามารถทำได้โดยเซ็นเซอร์แบตเตอรี่ (IBS) ถ้าเน็ตเวิร์ครถยนต์ CE อยู่ในโหมดกระแสไฟฟ้าวงจรปิด (โมดูล CE ไม่ทำงาน) ลักษณะเฉพาะระบบของเน็ตเวิร์ครถยนต์ CE ในโหมดกระแสไฟฟ้าวงจรปิดจะถูกนำมาพิจารณาด้วย (ให้ดูเอกสาร 'ลักษณะเฉพาะของกระแสไฟฟ้าวงจรปิดในเน็ตเวิร์ครถยนต์ CE')
เมื่อต้องการทำการวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจร จะต้องมีเงื่อนไขตรงตามข้อกำหนดต่อไปนี้ก่อน :
- ความดันใช้งานในถังไฮโดรเจนสูงกว่า 3.3 บาร์
- ระดับไฮโดรเจนที่เติมไว้ไม่ต่ำกว่า 2000 กรัม
การวัดแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจรที่สมบูรณ์ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง