ระบบไดนามิกไดรฟ์ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่รถจะพลิกคว่ำขณะเข้าโค้ง ช่วยเพิ่มความสบายในขณะขับขี่ สามารถหักเลี้ยวได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น
อุปกรณ์ต่อไปนี้ได้อธิบายไว้สำหรับระบบไดนามิกไดรฟ์ :
ฟังก์ชั่นต่างๆ ของชุดควบคุมถูกควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์ แรงดันไฟฟ้าจะส่งไปที่ชุดควบคุมผ่านเทอร์มินอล 30 (พร้อมชุดควบคุม 10 แอมแปร์) ชุดควบคุมจะทำงานผ่านสายกระตุ้นให้กลับมาทำงาน (เทอร์มินอล 15)
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ปลั๊กสำหรับระบบไดนามิกไดรฟ์ |
2 |
ชุดควบคุมสำหรับระบบไดนามิกไดรฟ์ |
วาล์วต่อไปนี้จะรวมอยู่ในชุดวาล์ว :
ชุดวาล์วอยู่ในบังโคลนล้อหน้าด้านขวา ใกล้กับเสาเอ ซึ่งจะทำงานดังต่อไปนี้
วาล์วควบคุมความดันทั้งสองชุด (ชุดหนึ่งที่ด้านหน้า และอีกชุดหนึ่งที่ด้านหลัง) จะทำหน้าที่แยกการไหลของน้ำมัน การไหลของน้ำมันจะตรงไปที่มอเตอร์ไฮดรอลิก ความดันที่มอเตอร์ไฮดรอลิกของชุดกันสะเทือนด้านหน้า จะมากกว่าหรือเท่ากับความดันที่มอเตอร์ไฮดรอลิกของชุดกันสะเทือนด้านหลัง
การวัดความดันค่าจริงของน้ำมันความดันสูง : จะมีเซ็นเซอร์ความดันที่ทางออกของชุดวาล์ว สำหรับมอเตอร์ไฮดรอลิกของชุดกันสะเทือนด้านหน้าและด้านหลัง
ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ไฮดรอลิกสองตัวถูกกำหนดค่าโดยวาล์วเปลี่ยนทางร่วมกัน ตำแหน่งของวาล์วเปลี่ยนทางจะถูกตรวจพบและตรวจสอบโดยเซ็นเซอร์ตำแหน่งสวิตช์
ในกรณีต่อไปนี้ มอเตอร์ไฮดรอลิกของระบบกันสะเทือนด้านหน้าจะถูกซีลและล็อกไว้ สามารถไหลจากท่อน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านวาล์วกันกลับ
สามารถไหลจากท่อน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านวาล์วกันกลับ
อัตราเร่งแนวขวางที่ที่วัดได้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ในการตรวจหาการทำงานแบบไม่คงที่ของระบบไดนามิกไดรฟ์ ตำแหน่งศูนย์ของเซ็นเซอร์อัตราเร่งแนวขวางสามารถรับรู้และกำหนดค่าได้ในฟังก์ชั่นบริการ โดยใช้คำสั่งการวิเคราะห์จากชุดควบคุมไดนามิกไดรฟ์
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
เซ็นเซอร์อัตราเร่งตามแนวขวาง |
2 |
ปลั๊กของเซ็นเซอร์อัตราเร่งแนวขวาง |
เซ็นเซอร์ความดันจะอยู่บนชุดวาล์ว ค่าตำแหน่งศูนย์ของเซ็นเซอร์ความดันสามารถรับรู้และกำหนดค่าได้ผ่านคำสั่งการวิเคราะห์ในฟังก์ชั่นบริการจากชุดควบคุมไดนามิกไดรฟ์
เซ็นเซอร์ตำแหน่งสวิตช์ติดตั้งอยู่ที่ชุดวาล์ว และจะทำการตรวจจับตำแหน่งของวาล์วเปลี่ยนทาง
วาล์วควบคุมความดันจะติดตั้งอยู่ในชุดวาล์ว วาล์วควบคุมความดันเป็นแบบทำงานด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่ปรับตั้งความดันของเหล็กกันโคลงที่ช่วงล่างหลังและด้านหน้า ขณะรถยนต์แล่นในทางตรง วาล์วควบคุมความดันจะไม่ได้รับการจ่ายไฟ และไม่มีการจำกัดการไหลของน้ำมันไปยังท่อเก็บ ขณะเข้าโค้ง วาล์วจะได้รับไฟจ่าย ความดันในมอเตอร์ไฮดรอลิกจะเพิ่มขึ้น และจะได้รับการปรับให้เป็นค่าเป้าหมาย
วาล์วเปลี่ยนทางติดตั้งอยู่ในชุดวาล์ว วาล์วเปลี่ยนทางเป็นแบบทำงานด้วยไฟฟ้า วาล์วเปลี่ยนทางจะทำการปรับตั้งทิศทางการไหลของน้ำมันให้ไปทางด้านซ้ายและขวา เซ็นเซอร์ตำแหน่งสวิตช์จะตรวจสอบตำแหน่งของวาล์วเปลี่ยนทาง
วาล์วนิรภัยติดตั้งอยู่ที่ชุดวาล์ว วาล์วนิรภัยจะทำงานด้วยการสั่งงานแบบไฟฟ้า และเมื่อไม่มีไฟจ่ายจะเป็นการปิดการทำงานมอเตอร์ไฮดรอลิกของช่วงล่างหน้า
วาล์วกันกลับติดตั้งอยู่ในชุดวาล์ว วาล์วกันกลับจะช่วยให้น้ำมันไหลเข้าไปข้างในได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดฟองอากาศในมอเตอร์ไฮดรอลิก
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
วาล์วควบคุมทิศทาง |
2 |
เซ็นเซอร์ความดัน, ช่วงล่างหลัง |
3 |
วาล์วจำกัดความดันที่เหมาะสม, ช่วงล่างหน้า |
4 |
วาล์วจำกัดความดันที่เหมาะสม, ช่วงล่างหลัง |
5 |
เซ็นเซอร์ความดัน, ช่วงล่างหน้า |
6 |
เซ็นเซอร์ตำแหน่งสวิตช์ |
7 |
วาล์วนิรภัย |
|
|
เหล็กกันโคลงแบบแอ็คทีฟจะแยกออกเป็นสองส่วนที่จุดกึ่งกลางตามแนวดิ่ง โดยจะมีมอเตอร์ไฮดรอลิกยึดอยู่กับเหล็กกันโคลง สำหรับจุดยึดของเหล็กกันโคลงทั้งสองส่วนจะเป็นลูกปืนแบบลูกกลิ้งสวมอัด แกนมอเตอร์ไฮดรอลิกและตัวเรือนจะยึดเข้ากับเหล็กกันโคลงแต่ละด้าน ในมอเตอร์ไฮดรอลิก ห้องที่อยู่ตรงข้ามกันจะเชื่อมถึงกัน แสดงว่าแต่ละห้องมีความดันเท่ากัน ห้องทั้งสองห้องจะได้รับความดันสูงผ่านทางจุดต่อจุดเดียว ห้องทั้งสองห้องจะต่ออยู่กับท่อไหลกลับที่ต่อไปยังถังพัก ความดันจะเปลี่ยนไปตามแรงที่ส่งมาจากมอเตอร์ แรงนั้นจะทำให้เกิดแรงบิดซึ่งไปหมุนเพลาโดยสัมพันธ์กับตัวเรือน เหล็กกันโคลงด้านหนึ่งจะติดอยู่กับเพลา โดยที่อีกส่วนหนึ่งจะติดกับตัวเรือน ซึ่งทำให้ทั้งสองส่วนบิดไปในทิศทางตรงข้ามกัน โมเมนตัมจะทำหน้าที่ในการสร้างการป้องกัน/ความมั่นคงให้เมื่อมีการโคลงเกิดขึ้น ความดันระบบสูงสุดเท่ากับ 180 บาร์
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
มอเตอร์ไฮดรอลิกด้านหน้า |
2 |
จุดต่อไฮดรอลิก |
3 |
จุดต่อไฮดรอลิก |
|
|
ปั๊มแบบเรียงซ้อนกันจะรองรับวงจรน้ำมันหล่อลื่นของระบบไดนามิกไดรฟ์ เช่นเดียวกับพวงมาลัยเพาเวอร์ ปั๊มประกอบด้วยลูกสูบแบบแนวด้านข้างของระบบไดนามิกไดรฟ์ และปั๊มแบบใบพัดสำหรับพวงมาลัยเพาเวอร์ ระบบไดนามิกไดรฟ์และพวงมาลัยเพาเวอร์จะใช้งานออยล์คูลเลอร์และกระปุกน้ำมันร่วมกัน
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ส่วนลูกสูบแบบแนวด้านข้างของปั๊มแบบเรียงซ้อนกัน |
2 |
ส่วนช่องใบพัดของปั๊มแบบเรียงซ้อนกัน |
กระปุกน้ำมันจะมีตัวกรองและสวิตช์ระดับน้ำมันรวมอยู่ ถ้าระดับน้ำมันลดลงต่ำกว่าเครื่องหมายต่ำสุด จะมีการส่งสัญญาณไปที่ชุดควบคุมไดนามิกไดรฟ์
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
กระปุกน้ำมัน |
2 |
สวิตช์ระดับน้ำมัน |
หม้อหล่อเย็นน้ำมันหล่อลื่นจะคอยรักษาระดับอุณหภูมิน้ำมันให้ต่ำกว่า 120 °C อุณหภูมิน้ำมันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดได้ไม่เกิน 135 °C ในช่วงสั้นๆ
ฟังก์ชั่นระบบต่อไปนี้ได้อธิบายไว้สำหรับระบบไดนามิกไดรฟ์ :
ระบบไดนามิกไดรฟ์จะทำหน้าที่ควบคุมเหล็กกันโคลงแบบแอ็คทีฟทั้งสอง ตามระดับอัตราเร่งแนวขวางที่ตรวจพบ ซึ่งการควบคุมนี้จะช่วยลดการโคลงของตัวถังขณะเข้าโค้ง และขณะวิ่งบนผิวถนนที่ไม่เรียบ
ชุดควบคุมไดนามิกไดรฟ์จะคำนวณสัญญาณอินพุต และส่งคำสั่งไปยังมอเตอร์ไฮดรอลิก นอกจากนั้นยังมีการตรวจเช็คสัญญาณอินพุตเพื่อหาความสอดคล้อง และนำมาใช้ในการตรวจสอบระบบอีกด้วย
ค่าผันแปรควบคุมที่สำคัญที่สุดคืออัตราเร่งแนวขวาง โดยจะนำสัญญาณ PT-CAN ต่อไปนี้มาวิเคราะห์ด้วย ได้แก่ :
ข้อมูลเพิ่มเติมนี้จะช่วยปรับปรุงเวลาในการตอบสนองของระบบให้ดีขึ้น
ชุดควบคุมมีเอาต์พุตป้องกันการลัดวงจรสำหรับ :
วาล์วจะถูกสั่งงานผ่านชุดควบคุมกระแสไฟ (สัญญาณแบบโมดูเลต) สัญญาณจะส่งผ่าน CAN สำหรับระบบส่งกำลังไปที่ชุด DME/DDE ของเครื่องยนต์ เพื่อแสดงว่ามีการเรียกขอกำลังไฟเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะทราบได้ว่าต้องการไฟหรือไม่ เช่น ขณะเดินเบาในระหว่างขั้นตอนการกำหนดการทำงาน
ระบบไดนามิกไดรฟ์จะไม่ทำงานขณะรถจอดอยู่กับที่ วาล์วทั้งหมดจะไม่มีกระแสไฟอยู่ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรถอยู่กับที่ เหล็กกันโคลงแบบแอ็คทีฟจะไม่สร้างแรงบิดใดๆ ถ้ารถยนต์เอียงไปด้านหนึ่งขณะจอด (เช่น ล้อทั้งสองอยู่บนขอบถนนหรือพื้นที่ไม่เท่ากัน) ระบบจะไม่ทำการปรับใดๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะมีแรงแนวขวางที่สามารถวัดได้ก็ตาม ไดนามิกไดรฟ์จะเริ่มทำงานเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15 กม./ชม.
ข้อควรระวัง ! การโคลงของรถในขณะที่กำลังกำหนดการทำงาน
ในระหว่างที่กำหนดการทำงาน อาจทำให้รถยนต์เกิดการโคลงอย่างแรงและรวดเร็ว ดังนั้น จึงไม่ควรให้มีผู้ใดเข้าใกล้รถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่อุปกรณ์ต่างๆ กำลังเคลื่อนที่ รวมทั้งต้องไม่มีวัตถุใดๆ อยู่ใต้รถ หรือในบังโคลนล้อ ! ให้ทำขั้นตอนการกำหนดการทำงานขณะที่รถยนต์จอดอยู่บนพื้นผิวที่เรียบและมั่นคงเท่านั้น และล้อทั้งสี่ต้องอยู่บนพื้น ห้ามทำการกำหนดการทำงานโดยเด็ดขาด เมื่อ
ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้ อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ !
หลังจากที่เปิดระบบไฮดรอลิก กล่าวคือ หลังจากทำงานที่
ให้เริ่มทำการกำหนดการทำงาน หลังจากการให้รหัสหรือการตั้งโปรแกรมชุดควบคุมไดนามิกไดรฟ์แล้ว จำเป็นต้องทำการกำหนดการทำงานด้วยเช่นกัน
การกำหนดการทำงาน
วัตถุประสงค์ของการกำหนดการทำงานคือ เพื่อกำหนดค่าพารามิเตอร์และตำแหน่งศูนย์ของเซ็นเซอร์ทุกตัว การกำหนดการทำงานจะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ และจะใช้เวลาประมาณ 25 วินาที
หมายเหตุ ! อุณหภูมิขณะทำการกำหนดการทำงาน
อุณหภูมิน้ำมันถือเป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการกำหนดการทำงาน ห้ามทำขั้นตอนการกำหนดการทำงาน (โดยใช้คำสั่งการวิเคราะห์) ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก (อุณภูมิบรรยากาศและอุณหภูมิระบบ)
หลังจากที่ทำการให้รหัสหรือตั้งโปรแกรมชุดควบคุมแล้ว ถึงจะเริ่มการกำหนดการทำงานได้
คำเตือนและสาเหตุต่างๆ ต่อไปนี้จะปรากฏขึ้นบนจอ CID ในรูปแบบของข้อความเช็ค-คอนโทรล :
พร้อมคำเตือน :
ระบบไดนามิกไดรฟ์หยุดทำงาน
หมายเหตุ : รถยนต์เอียงมากขึ้นในขณะเข้าโค้ง เมื่อไม่ได้ใช้ระบบไดนามิกไดรฟ์ เงื่อนไขเมื่อต้องการขับรถต่อไปให้ถึงศูนย์บริการที่อยู่ถัดไป :
สาเหตุที่เป็นไปได้ของข้อความเตือน :
เพื่อให้สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้อ่านหน่วยความจำรหัสความผิดปกติและปฏิบัติตามแผนการทดสอบที่แสดงไว้ เมื่อความผิดปกติได้รับการแก้ไขแล้ว ให้ลบหน่วยความจำรหัสความผิดปกติออก
พร้อมคำเตือน :
คนขับได้รับการแจ้งเตือนว่ามีการสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมากในแชสซีและระบบบังคับเลี้ยว
ในกรณีนี้ ไม่สามารถทำการขับขี่ต่อไปจนถึงศูนย์บริการที่อยู่ถัดไปได้
สาเหตุที่เป็นไปได้ของข้อความเตือน :
เพื่อให้สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้อ่านหน่วยความจำรหัสความผิดปกติและปฏิบัติตามแผนการทดสอบที่แสดงไว้ เมื่อความผิดปกติได้รับการแก้ไขแล้ว ให้ลบหน่วยความจำรหัสความผิดปกติออก
พร้อมคำเตือน :
คนขับจะได้รับการแจ้งเตือนว่าเสถียรภาพของแชสซีที่ได้รับจากระบบไดนามิกไดรฟ์ถูกจำกัด แต่ยังสามารถขับขี่ต่อไปได้
ควรทำการติดต่อศูนย์บริการในโอกาสต่อไป
สาเหตุที่เป็นไปได้ของข้อความเตือน :
เพื่อให้สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ให้อ่านหน่วยความจำรหัสความผิดปกติและปฏิบัติตามแผนการทดสอบที่แสดงไว้ เมื่อความผิดปกติได้รับการแก้ไขแล้ว ให้ลบหน่วยความจำรหัสความผิดปกติออก
อาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการพิมพ์หรือความผิดพลาดอื่นๆ ได้ ข้อมูลทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า