แอ๊คทูเอเตอร์ความดันเทอร์โบ/ชุดควบคุมความดันเทอร์โบ DDE 5.0
สำหรับชุดควบคุมความดันเทอร์โบ จะใช้เทอร์โบชาร์จเจอร์แบบมีเทอร์ไบน์แบบปรับได้ และไม่มี”ช่องระบาย” สำหรับที่ด้านไอเสีย จะมีใบพัดที่สามารถปรับได้อยู่ที่ด้านนอกของเทอร์ไบน์บนลูกปืนหมุน ใบพัดเหล่านี้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงแรงที่ไอเสียกระทำกับเทอร์ไบน์ ซึ่งมีผลให้ความดันอัดที่เกิดขึ้นจากเทอร์โบชาร์จเจอร์เปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็น
อุปกรณ์
- เทอร์โบชาร์จเจอร์แบบมีเทอร์ไบน์แบบปรับได้
- ชุดสุญญากาศพร้อมก้านควบคุม
- คอนเวอร์เตอร์ความดัน, ท่อสุญญากาศ
การทำงาน
แกนควบคุมบนตัวเรือนเทอร์ไบน์จะทำหน้าที่ปรับใบพัดแบบปรับได้ แกนควบคุมจะต่อเข้ากับชุดสุญญากาศบนเทอร์โบชาร์จเจอร์โดยใช้ก้านควบคุม ชุดสุญญากาศจะเลื่อนก้านควบคุมเข้าและออกตามปริมาตรสุญญากาศที่เข้ามา
คอนเวอร์เตอร์ความดันต่อชุดสุญญากาศกับชุดจ่ายสุญญากาศ โดยใช้ท่อ โดยท่อจะต่อสุญญากาศที่ปรับได้เข้ากับชุดสุญญากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการสั่งงาน และการควบคุมด้วยชุดควบคุม DDE ในกรณีนี้ ต้องตั้งก้านควบคุมไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการ คอนเวอร์เตอร์ความดันจะทำงานโดยอาศัยสัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยมที่มีดิวตี้แฟคเตอร์ (= ความกว้างพัลส์แบบปรับได้) ระหว่าง 5% ถึง 95%
การตรวจเช็คขนาดของเทอร์ไบน์แบบปรับได้
- ช่วงชักสูงสุดของก้านควบคุม : 10 มม.
- ก้านควบคุมจะต้อง ร่นกลับ ทั้งหมด เมื่อปริมาตรสุญญากาศที่เข้ามายังชุดสุญญากาศเท่ากับ 650 มิลลิบาร์ (= ความดันเทอร์โบสูงสุด)
- ก้านควบคุมจะต้อง ยืดออก ทั้งหมด เมื่อปริมาตรสุญญากาศที่เข้ามายังชุดสุญญากาศเท่ากับ 0 มิลลิบาร์ (= ความดันเทอร์โบต่ำสุด)
การตรวจสอบค้นหาสาเหตุและแก้ปัญหา
ชุดควบคุม DDE จะตรวจสอบความผิดปกติในการควบคุมความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ต่อไปนี้ :
- 4180, 4191, 41A2, การสั่งงานตัวปรับความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์
- 41A3, ชุดส่งเอาต์พุตอุณหภูมิสูงเกิน
- 4521, การเบี่ยงเบนจากค่าควบคุมความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์เป็นลบ, ความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์สูงเกินไป
- 4530, การเบี่ยงเบนจากค่าควบคุมความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์เป็นบวก, ความดันเทอร์โบชาร์จเจอร์ต่ำเกินไป
- 3F25, การตรวจสอบท่อชาร์จอากาศขณะทำงาน, ท่อชาร์จอากาศหลุด (สำหรับ M47TUE ตั้งแต่ซอฟท์แวร์ V43)
- 3F35, การตรวจสอบท่อชาร์จอากาศขณะเดินเบา, ท่อชาร์จอากาศหลุด (สำหรับ M47TUE ตั้งแต่ซอฟท์แวร์ V43)
ผลที่ตามมา :
- ชุดควบคุมความดันเทอร์โบหยุดการทำงาน
- การหมุนเวียนไอเสียหยุดการทำงาน