เครื่องยนต์ควรจะทำงานได้อย่างดี ภายใต้สภาพการทำงานทั้งหมด และต้องแน่ใจว่า พลังงานที่ได้รับจะนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ จะต้องได้รับการเตรียมให้เหมาะที่สุด เพื่อให้ได้ตามเงื่อนไขนี้ เฉพาะวิธีนี้เท่านั้น ที่จะทำให้มีการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้นได้ และจะให้เอาต์พุตกำลังเครื่องยนต์ที่สัมพันธ์กัน นอกจากนี้ การเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพ ยังสามารถทำให้แน่ใจได้ว่า มลพิษที่ปะปนอยู่ จะไม่เกินขีดจำกัดที่ยอมรับได้
การปรับ ทำให้ชุดควบคุมเครื่องยนต์สามารถรับรู้และกำหนดค่าที่แน่นอน จากอุปกรณ์และรุ่นของอุปกรณ์ เพื่อที่จะชดเชยกับค่าความคลาดเคลื่อน และจะมีการแสดงความผิดปกติ ถ้าการปรับเกินข้อจำกัดกำหนดไว้นี้
การปรับแลมบ์ด้า จะช่วยชดเชยค่าความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์ ซึ่งมีผลต่อส่วนผสมและการเสื่อมอายุ
ปัจจัยต่างๆ เช่น เซ็คกันดารี่แอร์ และความดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็มีผลต่อการปรับแลมบ์ด้า และจะได้รับการชดเชยค่าด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถระบุขอบเขตการขัดจังหวะการทำงาน ในกรณีที่มีความผิดปกติได้
การปรับแลมบ์ด้า จะแตกต่างกันระหว่างการปรับส่วนผสมที่รอบเดินเบา (แบบเพิ่มส่วน) กับที่ช่วงเร่งปานกลาง (แบบทวีคูณ) :
- การปรับที่รอบเดินเบาจะมีผลในช่วงความเร็วรอบเดินเบา และในช่วงใกล้จะถึงความเร็วรอบเดินเบา โดยจะทำการลดลง เมื่อความเร็วรอบเครื่องเพิ่มขึ้น (ปัจจัยที่สำคัญคือ เซ็คกันดารี่แอร์)
- การปรับที่ช่วงเร่งปานกลางจะมีผลกับช่วงแผนผังลักษณะการทำงานทั้งหมด (ปัจจัยที่สำคัญคือ ความดันน้ำมันเชื้อเพลิง)
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว จำเป็นต้องมีอัตราส่วนของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่คงที่ (แลมบ์ด้า) เพื่อที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อัตราส่วนของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ตามทฤษฎีแล้วเป็น 14.7 : 1
อย่างไรก็ตาม ในเงื่อนไขการทำงานที่แตกต่างกัน (ขณะเย็น, อุ่นเครื่อง, เร่งความเร็ว เป็นต้น) ทำให้ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง จำเป็นต้องแตกต่างไปจากค่าตามอุดมคติ การแก้ไขส่วนผสม สามารถทำได้โดยการใช้วิธีการต่างๆ กัน
ส่วนผสมหนา จะจำเป็นในระหว่างการทำงานที่ตำแหน่งปีกผีเสื้อเปิดเต็มที่ เพื่อที่จะเพิ่มกำลังขับเคลื่อน
ถ้าแลมบ์ด้าเป็น < 1 อากาศจะไม่พอ ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ "หนา" เครื่องยนต์ จะให้กำลังขับเคลื่อนได้ค่ามากสุดที่แลมบ์ด้า = 0.85 ถึง 0.95
ถ้าแลมบ์ด้า > 1 มีอากาศมากเกินไป ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง "บาง" ผลที่ตามมาคือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และกำลังขับเคลื่อนจะลดลงไป
ถ้าแลมบ์ด้า > 1.3 ส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง จะไม่เกิดการจุดระเบิดอีก เครื่องยนต์จะไม่ทำงานต่อไป แสดงว่าเกินขีดจำกัดของการทำงานแล้ว
ได้มีการพิสูจน์มาแล้วว่า ค่าที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งาน คือ ค่าแลมบ์ด้า 0.9 ถึง 1.1 อย่างไรก็ตาม ถ้าจำเป็นที่จะให้เครื่องยนต์ทำงานที่ค่าแลมบ์ด้าประมาณ = 1 จำเป็นต้องใช้หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการควบคุมมลพิษ (แลมบ์ด้า) เพื่อทำการเตรียมส่วนผสม
ระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะวัดอากาศที่ดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ และแปลงค่าที่วัดได้ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งจะทำการประเมินโดยชุดควบคุม DME ชุดควบคุมจะคำนวณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยอาศัยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ และพารามิเตอร์อื่นๆ ชุดควบคุมจะสั่งงานหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอแมกเนติก ให้สัมพันธ์กัน หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง จะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังวาล์วไอดีกระบอกสูบเป็นระยะๆ