ช่วงการทำงานของ SZL สามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลักๆ :
ในแผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย คนขับสามารถใช้งานฟังก์ชั่นต่อไปนี้ได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสมกับหลักสรีรศาสตร์ :
พวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น (MFL) ประกอบด้วย
อุปกรณ์ที่อยู่ใต้พวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น คือ
ชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัยแบ่งเป็นโมดูลอิเล็กทรอนิกส์สองโมดูล ได้แก่ :
สัญญาณจากอุปกรณ์ควบคุมในพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น (MFL) ถูกส่งมาจากสปริงขด
คันเกียร์ใช้ในการเลือกตำแหน่งเกียร์ R - N - D และ P (เกียร์ถอยหลัง - เกียร์ว่าง - เกียร์ขับ - ตำแหน่งจอด) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งชุด
โดยมีเซ็นเซอร์แบบฮอลล์ 7 ตัว ทำหน้าที่ตรวจจับตำแหน่งขับที่ต้องการ เซ็นเซอร์แบบฮอลล์เหล่านี้ ได้รับการออกแบบมาอย่างถี่ถ้วน โดยถึงแม้ว่าเซ็นเซอร์แบบฮอลล์ตัวใดตัวหนึ่งไม่ทำงาน ก็ยังคงสามารถทำการเลือกเกียร์ได้อยู่
คันเลือกเกียร์มีฟังก์ชั่นต่างๆ ต่อไปนี้
ฟังก์ชั่น |
การสั่งงาน |
---|---|
ตำแหน่งขับ D (เกียร์เดินหน้า) |
กดลงจนสุด |
ตำแหน่งขับ R (เกียร์ถอยหลัง) |
กดขึ้นจนสุด |
ตำแหน่งขับ N (เกียร์ว่าง) : |
จากตำแหน่ง P : กดขึ้นหรือลงครั้งเดียว |
ตำแหน่ง P (เกียร์จอด) |
กดคันสวิตช์เข้าด้านใน |
จะมีการแสดงข้อมูลให้คนขับทราบ
แนวคิดในการส่งสัญญาณ : ขณะที่คนขับใช้งานคันสวิตช์ที่คอพวงมาลัย หรือปุ่มกดครั้งเดียวตามแนวแกนนั้น จะมีการส่งข้อความไปยังชุดควบคุม EGS (ระบบควบคุมเกียร์แบบอิเล็กทรอนิกส์)
เส้นทางการส่งสัญญาณ : จาก SZL (แผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย) -> บัสข้อมูล ”ไบต์ไฟลต์” -> SIM (โมดูลข้อมูลและความปลอดภัย) -> บัสข้อมูล ”ไบต์ไฟลต์” -> ZGM (โมดูลเซ็นทรัลเกตเวย์) -> บัสข้อมูล PT-CAN -> EGS (ระบบควบคุมเกียร์แบบอิเล็กทรอนิกส์)
เพื่อความปลอดภัย จะมีสายอนุกรมระหว่าง SZL และ EGS อยู่ด้วย ข้อความที่ส่งผ่านบัส จะถูกส่งผ่านสายนี้ด้วย
อินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ : ในระบบควบคุมชุดเกียร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ จะไม่ใช้ระบบล็อคคอพวงมาลัยอีกต่อไป เนื่องจากมีมาตรการป้องกันขโมย คือ ใช้อินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนระบบล็อคคอพวงมาลัย
การปลดล็อคฉุกเฉินของอินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ : ในกรณีฉุกเฉิน อินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถปลดล็อคทางกลได้ :
คันสวิตช์ที่คอพวงมาลัยสำหรับระบบควบคุมความเร็วคงที่ จะใช้สำหรับเพิ่มหรือลดความเร็วในการขับ
ระบบควบคุมความเร็วคงที่ติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์พิเศษ ”ACC ระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับอัตโนมัติ”
ฟังก์ชั่น |
การสั่งงานโดยไม่มี ACC |
การสั่งงานด้วย ACC |
เปลี่ยนสถานะจาก OFF เป็น ON และตั้งความเร็วปัจจุบัน ถ้าเปิดสวิตช์ระบบควบคุมความเร็วคงที่อยู่แล้ว จะเป็นการเพิ่มหรือลดความเร็วที่ตั้งไว้ |
ดันไปข้างหน้า/ดึงเข้าหาตัวเพียงครั้งเดียว |
ดันไปข้างหน้า/ดึงเข้าหาตัวเพียงครั้งเดียว |
เปลี่ยนสถานะระบบควบคุมความเร็วคงที่จาก OFF เป็น ON และตั้งความเร็วปัจจุบัน ถ้าเปิดสวิตช์ระบบควบคุมความเร็วคงที่แล้ว จะสั่งให้ทำงานที่ระดับความเร็วที่สูงกว่า/ต่ำกว่าถัดไปที่บันทึกไว้ |
ดันไปข้างหน้าจนสุด/ดึงเข้าหาตัวจนสุด |
|
เรียกความเร็วที่บันทึกไว้ |
กดคันสวิตช์เข้าด้านใน |
กดคันสวิตช์เข้าด้านใน |
ตั้งหรือลบระดับความเร็ว |
กดคันสวิตช์เข้าด้านใน (กดค้าง - อย่างน้อย 3 วินาที) |
|
ปิดระบบควบคุมความเร็วคงที่ |
กดคันสวิตช์ขึ้น/ลง |
กดคันสวิตช์ขึ้น/ลง |
เปลี่ยนค่าระยะทาง (เฉพาะที่มี ACC เท่านั้น) |
|
สั่งงานแอ็คทูเอเตอร์แบบหมุน |
ตัวตั้งค่าความเร็วของความเร็วที่ต้องการ : คันสวิตช์ที่คอพวงมาลัยสำหรับระบบควบคุมความเร็วคงที่ยังสามารถใช้ในการเลือกความเร็วที่ต้องการได้อีกด้วย ระดับความเร็วที่ต้องการ ได้แก่ ระดับความเร็วที่ใช้อยู่เสมอ เช่น 30 กม./ชม., 50 กม./ชม., 60 กม./ชม. ท่านสามารถตั้งค่าและบันทึกตัวตั้งค่าความเร็วสำหรับระดับความเร็วดังกล่าวนี้ได้
การตั้งโปรแกรมระดับความเร็วที่ต้องการ : การตั้งโปรแกรมระดับความเร็วที่ต้องการขณะที่รถจอดอยู่กับที่จะได้ผลดีที่สุด ! เหตุผล : เมื่อรถเคลื่อนที่อยู่ จะตั้งความเร็วที่บันทึกเป็นความเร็วที่ต้องการทันที !
การลบความเร็วที่ต้องการ :
แนวคิดในการส่งสัญญาณ : เมื่อคนขับใช้งานคันสวิตช์ที่คอพวงมาลัย ปุ่มแบบกดครั้งเดียวหรือแอ๊คทูเอเตอร์แบบหมุน (ในกรณีที่มี ”ACC, ระบบควบคุมความเร็วคงที่แบบปรับอัตโนมัติ” เป็นอุปกรณ์พิเศษ) จะมีการส่งข้อความไปที่ DME/DDE หรือชุดควบคุม ACC
เส้นทางการส่งสัญญาณ : จาก SZL (แผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย) -> บัสข้อมูล ”ไบต์ไฟลต์” -> SIM (โมดูลข้อมูลและความปลอดภัย) -> บัสข้อมูล ”ไบต์ไฟลต์” -> ZGM (โมดูลเซ็นทรัลเกตเวย์) -> บัสข้อมูล PT-CAN -> DME/DDE หรือ ACC
การใช้ปุ่มสเต็ปโทรนิกจะทำให้ EGS (ระบบควบคุมชุดเกียร์แบบอิเล็กทรอนิกส์) เปลี่ยนเกียร์เพิ่มขึ้นหรือลดเกียร์ลง
ปุ่มสเต็ปโทรนิกมีไว้เพื่อความปลอดภัย โดยอยู่ทางด้านซ้ายและขวาของพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นด้านละหนึ่งปุ่ม
ปุ่มสเต็ปโทรนิกจะทำงานเมื่อสวิตช์ S/M (S = โปรแกรมการขับขี่แบบสปอร์ต, M = โปรแกรมการเปลี่ยนเกียร์แบบแมนนวล) ทางด้านขวาของพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นเปลี่ยนไปเป็นแบบแมนนวลเท่านั้น : ตัวอักษร M จะแสดงขึ้นที่จอแสดงโปรแกรมของแผงหน้าปัด (ส่วนแสดงผลระหว่างมาตรวัดความเร็วและมาตรวัดความเร็วรอบ) โดยจะแสดงตัวอักษร M1 ถึง M6 ตามเกียร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ปุ่มสเต็ปโทรนิกเป็นเซ็นเซอร์แบบฮอลล์
เพื่อความปลอดภัย จะมีสายอนุกรมระหว่าง SZL และ EGS อยู่ด้วย
ปุ่มฟังก์ชั่นด้านขวาเป็นปุ่มสำหรับเลือกฟังก์ชั่นต่างๆ :
ชุดควบคุมต่อไปนี้จะมีการส่งข้อความสำหรับ SZL :
เพื่อความปลอดภัย นอกเหนือจากการติดต่อผ่านทางระบบบัสแล้ว ยังมีการติดต่อผ่านทางสายอนุกรมอีกสองสาย :
สำหรับการทำงานทั้งหมดเกี่ยวกับแผงสวิตช์ที่คอพวงมาลัย ให้ปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยสำหรับการทำงานเกี่ยวกับถุงลมนิรภัย !
ถอดสายแบตเตอรี่ออกก่อนเสมอ !
ในกรณีฉุกเฉิน อินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถปลดล็อคทางกลได้ :
ถอดฝาปิดในช่องวางเท้าที่ด้านคนขับทางซ้ายของเสาเอ
ในรุ่น USA จะสามารถถอดฝาปิดออกได้พร้อมตัวแสดงค่าเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตทำการปลดอินเตอร์ล็อคการจอดรถแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ในแบบแมนนวล