ชุดควบคุมเครื่องยนต์ จะคำนวณตำแหน่งของลิ้นปีกผีเสื้อ โดยพิจารณาจากตำแหน่งของคันเร่งน้ำมัน และตัวแปรอื่นประกอบกัน จากนั้น ชุดควบคุมเครื่องยนต์ จะสั่งการเปิดและปิดลิ้นปีกผีเสื้อด้วยระบบไฟฟ้า
การทำงาน
ในการตรวจจับตำแหน่งปัจจุบันของลิ้นปีกผีเสื้อจะใช้โพเทนชิออมิเตอร์สองตัว จากนั้น ระบบควบคุมเครื่องยนต์จะควบคุมการจัดวางตำแหน่ง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า จนกระทั่งลิ้นปีกผีเสื้อเปิดออกตามตำแหน่งที่คำนวณไว้ โพเทนชิออมิเตอร์ทั้งสองตัว จะถูกนำมาใช้เพื่อความปลอดภัยด้วย เส้นกราฟลักษณะการทำงานของโพเทนชิออมิเตอร์สองตัวมีลักษณะเส้นที่สวนทางกัน (contra-rotating) โพเทนชิออมิเตอร์ทั้งสองตัวจะรับแรงดันไฟฟ้า 5 โวลท์จากชุดควบคุมเครื่องยนต์ และใช้แหล่งจ่ายไฟนี้สำหรับจ่ายไฟเซ็นเซอร์ตำแหน่งคันเร่งตัวที่ 1 หรือโมดูลคันเร่งน้ำมันด้วย
ลักษณะเฉพาะของเซ็นเซอร์จับตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ
การตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณ
ชุดควบคุมเครื่องยนต์จะตรวจสอบค่าแรงดันไฟฟ้าทั้งสองของโพเทนชิออมิเตอร์ตลอดเวลา โดยจะตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าทั้งสองของสัญญาณว่าอยู่ภายในช่วงที่ยอมรับได้และมีความสอดคล้องกันหรือไม่ รวมทั้งยังตรวจสอบว่ามีการลัดวงจรหรือไม่ ชุดควบคุมเครื่องยนต์สามารถทราบได้ว่าแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณใดเกิดความผิดปกติ โดยดูจากสัญญาณมวลอากาศ
ถ้าชุดควบคุมเครื่องยนต์ตรวจพบว่าแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณของโพเทนชิออมิเตอร์ผิดปกติ จะมีการจำกัดการเปิดวาล์วสูงสุดไว้ที่ 20 องศา
ถ้าตรวจพบว่าแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณของโพเทนชิออมิเตอร์ทั้งสองไม่สอดคล้องกัน ลิ้นปีกผีเสื้อจะหยุดทำงาน ในกรณีเหล่านี้จะไม่สามารถตรวจจับตำแหน่งปัจจุบันของลิ้นปีกผีเสื้อได้อีกต่อไป และผลที่ตามมาคือ สปริงดึงกลับจะทำการปิดลิ้นปีกผีเสื้อ
การตรวจสอบตำแหน่งลิ้นปีกผีเสื้อ
ชุดควบคุมเครื่องยนต์จะตรวจเช็คตลอดเวลาว่า ตำแหน่งจริงของลิ้นปีกผีเสื้อตรงกับตำแหน่งที่กำหนดไว้แล้วหรือไม่ เพื่อให้สามารถทราบได้ว่า ลิ้นปีกผีเสื้อเกิดการติดขัดหรือไม่ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ ความเร็วรอบเครื่องจะถูกจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 1300 rpm. เท่านั้น
สปริงดึงกลับจะทำการปิดลิ้นปีกผีเสื้อดังกล่าวที่ติดขัดที่เคลื่อนที่ช้าลง ในกรณีนี้ ความเร็วรอบเครื่องสูงสุดจะถูกจำกัดไว้ที่ 1300 rpm โดยใช้การตัดการฉีดเชื้อเพลิง