การทำงานของเครื่องมือวัด

ในกรณีการทำงานของเครื่องมือวัด จะมีการทำงานที่มีส่วนแสดงผลต่างๆ กันดังต่อไปนี้:

ส่วนแสดงผลด้วยเข็ม

จอเครื่องมือวัด

จอการเตือนและสัญญาณ

สัญญาณเสียง

ฟังก์ชั่นของออนบอร์ดคอมพิวเตอร์

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

ระบบการเข้าถึงรถยนต์ CAS

ระบบการเข้าถึงรถยนต์ CAS ประกอบด้วยการทำงานของรีโมทคอนโทรลแบบคลื่นวิทยุ ปุ่มสตาร์ทเตอร์การจุดระเบิด การควบคุมเทอร์มินอลและอิมโมบิไลเซอร์ รวมทั้งเป็นโมดูลเกตเวย์ระหว่างบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM และ K-CAN PERIPHERALS

ZGM (โมดูลเซ็นทรัลเกตเวย์)

โมดูลเซ็นทรัลเกตเวย์ ZGM เชื่อมต่อบัสข้อมูล BYTEFLIGHT, K-CAN SYSTEM, บัส PT-CAN และ DIAGNOSTIC BUS

บัสข้อมูล K-CAN SYSTEM

บัสข้อมูล K-CAN SYSTEM เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผงหน้าปัดและชุดควบคุมในแชสซีกับส่วนของระบบกันสะเทือน การขับ และตัวถัง การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำโดยใช้ข้อมูลเทเลแกรม

บัส MOST

บัส MOST เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างชุดควบคุมในส่วนของการติดต่อ (ระบบนำทาง ระบบควบคุมแบบเสียง ASK ระบบการประมวลผลภาษา SVS จอการควบคุมซีดี) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำโดยใช้ข้อมูลเทเลแกรม

โมดูลไฟ LM

โมดูลไฟ LM จะควบคุมและตรวจสอบไฟรถยนต์ ข้อมูลจะถูกรับส่งโดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM

โมดูลประตู DM

โมดูลประตูจะตรวจจับสัญญาณของสวิตช์และเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ที่ประตู และควบคุมการขับเคลื่อนต่างๆ ที่ประตู ข้อมูลจะถูกรับส่งโดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN PERIPHERALS

โมดูลไฟฟ้า PM

โมดูลไฟฟ้า PM จะตรวจสอบสถานะการชาร์จแบตเตอรี่และการใช้กระแสไฟฟ้าวงจรปิดของรถยนต์ นอกจากนี้ยังควบคุมตัวล็อคฝากระโปรงหลังผ่านทางโมดูลไฟฟ้าอีกด้วย ข้อมูลจะถูกรับส่งโดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN PERIPHERALS

ชุดปิดเปิดส่วนกลางของแกนพวงมาลัย (SZL)

ชุดปิดเปิดส่วนกลางของแกนพวงมาลัย (SZL) จะตรวจจับสัญญาณของสวิตช์และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนพวงมาลัยและแกนพวงมาลัย และยังควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนพวงมาลัยและคอพวงมาลัยอีกด้วย ข้อมูลจะถูกรับส่งโดยผ่านบัสข้อมูล BYTEFLIGHT

ตัวควบคุม

ตัวควบคุมเป็นชุดควบคุมการทำงานสำหรับออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะติดตั้งอยู่ที่ด้านหน้า บริเวณที่วางแขนตรงกลาง

แผงหน้าปัด

แผงหน้าปัดถูกผลิตออกมาโดยมีรูปร่างหลายแบบสำหรับตลาดที่ต่างกันออกไป และจะถูกติดตั้งเป็นอุปกรณ์เดี่ยว โดยมีการแสดงผลเป็นหมวดหมู่ในแผงเครื่องมือวัด

แผงหน้าปัดมีการแสดงผลดังต่อไปนี้:

ตัวแสดงและไฟเตือนรวมทั้งไฟฉากหลังของจอ LC ถูกออกแบบเป็น LEDs สีเดียวหรือหลายสีที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้

ฮีทเตอร์ในตัวของจอทำให้แน่ใจว่าจะสามารถอ่านจอได้แม้ในอุณหภูมิต่ำ ฮีทเตอร์ของจอจะทำงานที่อุณหภูมิ< 10°C. สัญญาณเริ่มทำงานจะถูกส่งเมื่อประตูคนขับเปิดออกจาก CAS โดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM ไปที่แผงหน้าปัด

ชุดควบคุมการแปลงสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตและคอมพิวเตอร์สองตัวจะรวมอยู่ในแผงหน้าปัด

แผงหน้าปัดจะต่อกับระบบไฟฟ้าของรถยนต์ด้วยบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM และ MOST ข้อมูล/การเตือนที่ส่งไปและมาจากแผงหน้าปัดจะถูกส่งเป็นข้อมูลเทเลแกรม

ข้อมูลจะถูกป้อนทางสายไฟแบบทั่วไปจาก:

ฟังก์ชั่นหลัก

พื้นที่แสดงผลของแผงหน้าปัด

พื้นที่แสดงผล 1: จอ LC

พื้นที่แสดงผล 1 ภายในมาตรวัดความเร็ว

สามารถแสดงเนื้อหาเป็นข้อความหรือรูปภาพได้ในพื้นที่นี้

พื้นที่แสดงผล 2 ภายในตัวนับความเร็วรอบ

สามารถแสดงเนื้อหาเป็นข้อความหรือรูปภาพได้ในพื้นที่นี้

พื้นที่แสดงผล 3 ใต้มาตรวัดความเร็ว

สามารถแสดงเนื้อหาเป็นข้อความหรือรูปภาพได้ในพื้นที่นี้

พื้นที่แสดงผล 4 ใต้ตัวนับความเร็วรอบ

ทั้งข้อความ BC และ CC จะแสดงในพื้นที่นี้ ข้อความที่เป็นตัวอักษร BC จะถูกเขียนทับโดยข้อความที่เป็นตัวอักษร CC

ข้อความที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่จะถูกเพิ่มเติมโดยการเพิ่มสัญญลักษณ์ที่สอดคล้องกับข้อความในการแสดงผลที่เปลี่ยนแปลงได้ และส่วนการเตือน (พื้นที่แสดงผล 5)

พื้นที่แสดงผล 5 การแสดงผลที่เปลี่ยนแปลงได้ และส่วนการเตือน

พื้นที่นี้ทำหน้าที่แสดงผลที่เปลี่ยนแปลงได้และส่วนการเตือน สามารถแสดงเนื้อหาเป็นข้อความหรือรูปภาพได้ในพื้นที่นี้

พื้นที่แสดงผล 6 ตัวแสดงเกียร์

ในโหมดสเต็ปโทรนิก เกียร์ที่ถูกเลือกโดยการส่งกำลัง (M1 ไปที่ M6) จะแสดงในพื้นที่นี้

S จะแสดงผลที่นี่ ในโปรแกรมการขับตำแหน่ง D และเมื่อโปรแกรม S ทำงานอยู่

พื้นที่แสดงผล 2 เครื่องมือวัดแบบเข็ม: มาตรวัดความเร็ว

สเกลมาตรวัดความเร็วและคำบรรยายสเกลจะแสดงบนหน้าปัดที่แบ่งระดับไว้แล้วอย่างถาวร

เข็มจะเคลื่อนไหวด้วยสเต็ปปิงมอเตอร์

การแสดงระดับความเร็วจะมาจากสัญญาณที่ตรวจสอบได้ที่เซ็นเซอร์ล้อหลังซ้ายและส่งไปที่ชุดควบคุม DSC สัญญาณ (สัญญาณระยะเดินทาง) ซึ่งถูกกำหนดเงื่อนไขโดยชุดควบคุม DSC จะถูกส่งในรูปของเทเลแกรมโดยผ่าน PT-CAN ไปที่ ZGM และผ่าน K-CAN SYSTEM ไปที่แผงหน้าปัด

พื้นที่แสดงผล 3 เครื่องมือวัดแบบเข็ม: ตัวนับความเร็วรอบ

สเกลตัวนับความเร็วรอบ และคำบรรยายสเกลจะแสดงบนหน้าปัดที่แบ่งระดับไว้แล้วอย่างถาวร

หน้าปัดที่แบ่งระดับจะมีลักษณะเป็นโซนไฟเตือนแอดวานซ์รอบต่อนาที (เส้นประสีแดง) ตามด้วยโซนไฟเตือนรอบต่อนาที (เส้นต่อเนื่องสีแดง)

เข็มจะเคลื่อนไหวด้วยสเต็ปปิงมอเตอร์

สัญญาณความเร็วรอบเครื่องจะถูกส่งไปโดย DME ผ่าน PT-CAN ไปที่ ZGM และผ่าน K-CAN SYSTEM ไปที่แผงหน้าปัด

พื้นที่แสดงผล 4: ตัวแสดงและไฟเตือน

ตัวแสดงและไฟเตือนจะติดตั้งอย่างถาวรอยู่ระหว่างและถัดจากเครื่องมือวัดแบบเข็ม สัญญลักษณ์จะเป็นแบบไฟสว่างด้านหลังสำหรับแสดงผล โดยใช้ LED ที่มีสี หรือมีหลายสี

ด้วยวิธีนี้ สัญญลักษณ์จะแสดงเป็นสีแดง, เหลือง, เขียว หรือน้ำเงิน ขึ้นอยู่กับความสำคัญของสัญญลักษณ์นั้นๆ

ตัวแสดงและไฟเตือนมาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนดได้แก่:

พื้นที่นี้ยังประกอบด้วยตัวแสดงและไฟเตือนสำหรับ:

การแสดงผลโปรแกรมเกียร์อัตโนมัติ: ลูกศรถัดจากการแสดงผลโปรแกรม (สถานะของโปรแกรมการส่งกำลัง P, N, D, R) แสดงถึงทิศทางที่เป็นไปได้ของการเคลื่อนไหวของคันเกียร์ส่งกำลังบนแกนพวงมาลัย

การแสดงผลโปรแกรมยังคงทำงานอยู่

การแสดงผล 30 นาทีนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนว่าไม่ได้เลือกตำแหน่งการขับที่ P เมื่อจอดรถ เกียร์จอดจะทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากเลยเวลา 30 นาทีแล้ว

ชุดควบคุม EGS จะควบคุมการแสดงผลโปรแกรมและเกียร์อย่างเต็มที่

ตัวแสดงและไฟเตือนอื่นๆจะแสดงเป็นสัญญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องในส่วนการเตือนที่เปลี่ยนแปลงได้

การตรวจสอบก่อนการขับขี่:การตรวจสอบก่อนการขับขี่ทำหน้าที่ตรวจเช็คฟังก์ชันภายในของแผงหน้าปัดและตรวจสอบสัญญาณที่ปรากฏขึ้นของชุดควบคุมทั้งหมดที่สามารถส่งข้อความ CC ได้

การตรวจสอบก่อนการขับขี่ทั้งหมดจะกินเวลาอย่างน้อยสี่วินาที

สัญญาณที่ปรากฏของชุดควบคุมทั้งหมดที่สามารถส่งข้อความ CC ได้ จะถูกตรวจเช็คในระหว่างการตรวจสอบก่อนการขับขี่

ไฟแสดงทั้งหมดจะหยุดการทำงานพร้อมกันเมื่อสิ้นสุดการตรวจสอบก่อนการขับขี่ที่ไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น

หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการตรวจสอบก่อนการขับขี่ การตรวจสอบจะถูกขัดจังหวะโดยระบบที่เกี่ยวข้อง

ไฟแสดงสิ่งที่ผิดปกติติดสว่างขึ้น และเช็ค-คอนโทรลจะส่งข้อความที่เกี่ยวข้อง

ระบบแสงสว่างและการปรับความสว่าง

ระบบแสงสว่าง:พื้นที่แสดงผลจะเป็นแบบไฟสว่างด้านหลังและเข็มและหน้าปัดที่แบ่งระดับ ซึ่งสว่างเรืองด้วยไฟ LED สีส้มของ BMW

พื้นที่แสดงผลแต่ละพื้นที่จะมีไฟสว่างด้านหลังเมื่อมีการแสดงข้อมูลในที่นั้นเท่านั้น ข้อยกเว้น : การตั้งค่าขีดจำกัดความเร็ว พื้นที่แสดงผลที่ติดกันสองพื้นที่จะมีไฟสว่างด้านหลังพร้อมกันเสมอ

เข็มและหน้าปัดที่แบ่งระดับจะสว่างเรืองก็ต่อเมื่อเปิดสัญญาณไฟขณะขับและทำหน้าที่เป็นตัวแสดงการทำงานของ”สัญญาณไฟขณะขับที่เปิดอยู่ ”.

การปรับความสว่าง: ความสว่างของจอ LC และตัวแสดงทั้งหมด รวมทั้งไฟเตือนจะถูกปรับโดยโฟโตทรานซิสเตอร์ให้เข้ากับสภาวะแสงที่เกี่ยวข้อง

ความคมชัดของจอ LC จะถูกปรับโดยอัตโนมัติด้วยการทำงานของอุณหภูมิ LCD และเวลาในการทำงาน

แรงดันไฟฟ้าสำหรับปรับความคมชัดจะถูกปรับให้เข้ากับอุณหภูมิโดยชุดอิเล็กทรอนิกส์ในแผงหน้าปัดด้วยการใช้ตัวต้านทาน NTC ในจอ LC

สัญญาณความสว่างจะถูกคำนวณในแผงหน้าปัดโดยใช้ค่าของโฟโตทรานซิสเตอร์และโพเทนชิออมิเตอร์ปรับความสว่าง (ตั้งค่าปุ่มควบคุมความสว่าง) สัญญาณความสว่างจะส่งผ่าน K-CAN บัส ไปที่ชุดควบคุมอื่นๆ (ฟังก์ชันหลักของ”ปุ่มปรับความสว่าง”)

เมื่อนำเรื่องการเสื่อมอายุตามเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เวลาของการทำงานและการหยุดทำงานของแผงหน้าปัดจะถูกบันทึกไว้ด้วยไทม์เมอร์ในตัว แรงดันไฟฟ้าสำหรับปรับของความคมชัดจะถูกปรับโดยสัมพันธ์กับเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ (เสื่อมอายุมากขึ้น)

ตัวแสดงสัญญาณเลี้ยวแบบเสียง

ลำโพงถูกติดตั้งที่แผงหน้าปัดเพื่อส่งสัญญาณเสียงเมื่อตัวแสดงสัญญาณเลี้ยวทำงาน สัญญาณเสียงเกิดจากเจนเนอเรเตอร์เสียงที่ติดตั้งไว้

สัญญาณเสียงอื่นๆ ทั้งหมด มาจากตัวควบคุมระบบเสียง ASK และส่งเอาต์พุตผ่านทางลำโพงรถยนต์

ปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยว

ฟังก์ชันต่อไปนี้สามารถดำเนินการได้ด้วยปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยวที่มุมบนซ้ายของแผงหน้าปัด

ฟังก์ชันกดเป็นระยะเวลาสั้นๆ: เมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่ OFF สิ่งต่อไปนี้จะถูกแสดงเป็นเวลา 8 วินาทีเมื่อกดปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยวเป็นระยะเวลาสั้นๆ:

ระยะทางที่เดินทางที่แสดงจะถูกรีเซ็ตเมื่อกดปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยวอีกครั้งภายในช่วงเวลานี้

ฟังก์ชันกดเป็นระยะเวลานาน: เมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ที่ OFF ฟังก์ชันต่อไปนี้จะถูกกระตุ้นการทำงานเมื่อกดปุ่มเป็นระยะเวลานานกว่าสองวินาที

คำอธิบายการเริ่มทำงาน

เทอร์มินอล 30:หลังจากที่ประตูคนขับเปิด ไฟเบรคจอดรถจะทำงานและฮีทเตอร์จอจะทำงานโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเมื่อเบรคจอดรถทำงาน

ระยะทางที่เดินทาง เวลา และอุณหภูมิภายนอกจะถูกแสดงเมื่อปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยว”ถูกกดเป็นระยะเวลาสั้นๆ”. มีเพียงพื้นที่แสดงผลภายในมาตรวัดความเร็วและตัวนับความเร็วรอบเท่านั้นที่มีไฟสว่างด้านหลัง

เทอร์มินอล R:หลังจากที่เทอร์มินอล R ทำงาน เวลาและอุณหภูมิภายนอกจะแสดงในพื้นที่แสดงผลภายในมาตรวัดความเร็ว มีเพียงพื้นที่แสดงผลนี้เท่านั้นที่มีไฟสว่างด้านหลัง

ข้อความ CC ที่มีอยู่จะแสดงในพื้นที่แสดงผลภายในตัวนับความเร็วรอบ

เทอร์มินอล 15:การตรวจสอบก่อนการขับขี่ถูกสั่งงานจากเทอร์มินอล 15 ที่ทำงาน การแสดงผลโปรแกรมของเกียร์อัตโนมัติจะถูกแสดงเพิ่มเติมจากเวลาและอุณหภูมิภายนอก

สามารถเรียกข้อมูล BC ได้ด้วยปุ่มบนสวิตช์ไฟเลี้ยว/ไฟหรี่

ระยะทางโดยรวม/ระยะทางที่เดินทางจะแสดงในพื้นที่แสดงผลภายในตัวนับความเร็วรอบเป็นระยะเวลาสั้นๆ ข้อมูลบริการจะถูกแสดงในพื้นที่แสดงผลใต้มาตรวัดความเร็ว การแสดงผลจะเปลี่ยนเป็นการแสดงข้อมูลก่อนหน้านี้ เช่น ระดับน้ำมันและการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อความ CC ที่มีอยู่จะปรากฏขึ้นแทนที่ระยะทางโดยรวม/ระยะทางที่เดินทาง ในพื้นที่แสดงผลภายในตัวนับความเร็วรอบ

เมื่อเครื่องยนต์กำลังทำงาน โซนไฟเตือนล่วงหน้ารอบต่อนาทีที่เปลี่ยนแปลงได้จะแสดงในพื้นที่แสดงผลภายในตัวนับความเร็วรอบ ตราบใดที่ขีดจำกัดความเร็วรอบเครื่องซึ่งส่งต่อโดย DME ต่ำกว่าโซนเตือนที่คงที่

เครื่องหมายวงกลมจะแสดงในมาตรวัดความเร็วเฉพาะเมื่อขีดจำกัดถูกตั้งค่าสำหรับตัวควบคุมความเร็วรถยนต์ และ/หรือ ฟังก์ชัน LIMIT ถูกสั่งงาน

พื้นที่แสดงผลของมาตรวัดความเร็วและตัวนับความเร็วรอบจะมีไฟสว่างด้านหลังเฉพาะเมื่อฟังก์ชันการแสดงผลฟังก์ชันหนึ่งทำงาน พื้นที่แสดงผลทั้งสองจะยังคงดำมืดเฉพาะเมื่อการแสดงผล LIMIT ทำงาน

การเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน

ข้อมูลจะต้องถูกเก็บไว้เมื่อเปลี่ยนแผงหน้าปัดเพื่อให้สามารถตรวจสอบการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยจุดประสงค์นี้ ข้อมูลต่อไปนี้จึงถูกเก็บซ้ำซ้อน (เป็นครั้งที่สอง) ในระบบการเข้าถึงรถยนต์ CAS :

ข้อมูลเหล่านี้จะถูกตรวจสอบทุกครั้งที่เทอร์มินอล 15 เริ่มทำงาน หากตรวจพบความไม่สอดคล้องกัน จุดการแก้ไขสีส้มจะสว่างขึ้นในพื้นที่แสดงผลใต้ตัวนับความเร็วรอบ ซึ่งจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ดังต่อไปนี้:

สังเกตสิ่งต่อไปนี้เมื่อเปลี่ยนแผงหน้าปัด:

ติดตั้ง CAS ใหม่:

ติดตั้งแผงหน้าปัดใหม่

การทดสอบการติดตั้งแผงหน้าปัดใหม่

การเปลี่ยน CAS และแผงหน้าปัดพร้อมๆ กัน

หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนอุปกรณ์สองตัวใหม่พร้อมๆ กันเนื่องจากการอ่าน ก.ม. และข้อมูล CBS ทั้งหมดจะสูญหายไปโดยที่ไม่อาจเรียกคืนได้

หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนชุดควบคุมทั้งสองตัวพร้อมๆ กันได้ ขอแนะนำให้ทำตามขั้นตอนการติดตั้งต่อไปนี้

การเปลี่ยนแผงหน้าปัด:

เปลี่ยน CAS:

จุดแก้ไขถูกลบทิ้งหลังจากเทอร์มินอล 15 เริ่มทำงานอีกครั้ง การสื่อสารระหว่างแผงหน้าปัดและ CAS ในเรื่องการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนสามารถรับประกันได้ในขณะนี้

การวิเคราะห์

แผงหน้าปัดเป็นระบบที่สอดคล้องกับการวิเคราะห์ การวิเคราะห์และการอ่านหน่วยความจำความผิดปกติในแผงหน้าปัดทำได้ด้วย MoDiC หรือ DISplus โดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM แผงหน้าปัดมีฟังก์ชันการทดสอบด้วย ซึ่งอ่านได้จากการแสดงผลของแผงหน้าปัด

การวิเคราะห์ออนบอร์ด: แผงหน้าปัดดำเนินการวิเคราะห์ออนบอร์ดเพื่อตรวจสอบฟังก์ชั่นและระบุความผิดปกติ ความผิดปกติที่ถูกระบุจะถูกเก็บไว้หากถูกตรวจจับได้สามครั้งว่า”เกิดขึ้นจริง” ความผิดปกติใหม่จะไม่ถูกนำมาพิจารณาหากหน่วยความจำเต็ม ความผิดปกติที่ไม่เกิดขึ้นอีกหลังจากเทอร์มินอล 15 ON/OFF 40 ครั้ง จะถูกลบออกโดยอัตโนมัติเมื่อหน่วยความจำเต็ม หน่วยความจำความผิดปกติสามารถอ่านได้ด้วยชุดวิเคราะห์หรือในการแสดงผลของแผงหน้าปัด

ฟังก์ชันการทดสอบ: ฟังก์ชันการทดสอบที่ระบุสามารถแสดงในแผงหน้าปัดได้เมื่อกดปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยว การระบุจะปรากฏขึ้นในพื้นที่แสดงผลด้านซ้ายภายในมาตรวัดความเร็วพร้อมด้วยไฟฉากหลังสีส้ม

หมายเลขการทดสอบ

การทำงาน

01

การระบุ (แผงหน้าปัด)

02

การทดสอบระบบ

03

ไม่กำหนด

04

ค่าความสิ้นเปลืองในขณะนี้ (คิดเป็นอัตรา ลิตร/100 กม. และ ลิตร/ชั่วโมง)

05

ช่วงของความสิ้นเปลืองและช่วงค่าในปัจจุบัน

06

ปริมาณน้ำมันในถังและค่าที่ระบุ

07

ค่าปัจจุบันสำหรับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น อุณหภูมิภายนอก โฟโตทรานซิสเตอร์ (การปรับความสว่าง) ความเร็วรอบเครื่อง

08

ความเร็วในปัจจุบัน (ค่าเป็น กม./ชม.)

09

แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงาน (แรงดันไฟฟ้าของระบบ: ค่าที่เทอร์มินอล 30 เป็นโวลท์)

10

อ่านค่ารหัสเฉพาะประเทศ

11

อ่านค่าหน่วย (AM/PM หรือ เดือน.วัน/วัน.เดือน) เป็นต้น

12

การระบุสำหรับการมาถึงจุดหมาย (ความเร็วเฉลี่ยสำหรับการคำนวณเวลามาถึงจุดหมายและค่าการมาถึงจริง)

13

การกระตุ้นการทำงานสัญญาณเสียง

14

อ่านไบต์ที่ผิดพลาด (การวิเคราะห์ออนบอร์ด)

15

การแสดงสถานะของพอร์ท I/O

16

การแสดงบิทแมพทดสอบ (โลโก้ BMW)

17

อนาล็อก-ดิจิตอล คอนเวอร์เตอร์ ADC

18

ค่า PWM (ระบบแสงสว่าง/การปรับความสว่าง)

19

การล็อคและการปลดล็อคของฟังก์ชั่นทดสอบ

20

ปัจจัยการตรวจสอบ ความสิ้นเปลือง

21

การรีเซ็ตซอฟท์แวร์/การรีโหลด RAM (แผงหน้าปัด)

การเรียกใช้ฟังก์ชันการทดสอบ:

การแสดงฟังก์ชันการทดสอบ:

หมายเลขฟังก์ชันการทดสอบจะเพิ่มสูงขึ้นทุกครั้งที่ปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยวถูกกดเป็นระยะเวลาสั้นๆ

สามารถแสดงฟังก์ชันการทดสอบพร้อมกันได้สูงสุดสี่ฟังก์ชัน

ฟังก์ชันการทดสอบทั้งหมดจะต้องถูกปลดล็อคด้วยฟังก์ชันการทดสอบ 19 ยกเว้นฟังก์ชันการทดสอบ 1 และ 2

การเริ่มเลือกฟังก์ชันการทดสอบ:กดปุ่มรีเซ็ตมิเตอร์ระยะการเดินทางต่อเที่ยวนานกว่าสองวินาที

การแสดงฟังก์ชันการทดสอบที่เลือก: ฟังก์ชันการทดสอบที่เลือกจะแสดงภายในตัวนับความเร็วรอบ

การยุติฟังก์ชันการทดสอบ:

หมายเหตุ: หลังจากทำการทดสอบเสร็จแล้ว ล็อคฟังก์ชันการทดสอบให้สอดคล้องกับฟังก์ชันการทดสอบ 19

เช็ค-คอนโทรล CC

เช็ค-คอนโทรลเป็นระบบข้อความที่รายงานความผิดปกติในรถยนต์และในขณะเดียวกันยังทำหน้าที่แสดงสถานะการทำงานและคำแนะนำ

ตำแหน่งที่แสดง:สัญญาณเช็ค-คอนโทรลจะแสดงในหลายตำแหน่งด้วยไฟแสดงที่คงที่หรือเปลี่ยนแปลงได้ในแผงหน้าปัด

ข้อความเช็ค-คอนโทรลส่วนใหญ่มีคำอธิบายและคำแนะนำเพิ่มเติมในจอควบคุม คำอธิบายและคำแนะนำเหล่านี้สามารถเรียกดูได้โดยใช้เมนูข้อมูลออนบอร์ด หรือจะแสดงโดยอัตโนมัติในสถานการณ์ที่อันตราย

ลักษณะการแสดงผล: ข้อความเช็ค-คอนโทรลมักจะมีเสียง "ก๊อง" เอาต์พุตจะอยู่ในรูป

หากข้อความที่เป็นตัวอักษรหลายข้อความจะต้องเป็นเอาต์พุตพร้อมๆ กัน หรือไฟแสดงหนึ่งดวงถูกกระตุ้นการทำงานโดยข้อความที่ไม่เป็นตัวอักษรหลายข้อความพร้อมๆ กัน ข้อความที่มีความสำคัญสูงสุดจะได้แสดงก่อน

นอกจากการแสดงผลให้เห็นด้วยตาแล้ว เช็ค-คอนโทรลยังเตือนคนขับด้วยสัญญาณเสียงอีกด้วย เสียง 'ก๊อง' จะดังขึ้นครั้งเดียวหรือสองครั้ง ด้วยระดับความดังและระดับเสียงที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อความนั้นๆ เสียงเตือนจะออกมาจากลำโพงรถยนต์ด้านซ้ายหรือด้านขวา ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงเตือน

การทำงาน: สามารถเรียกดูข้อความเช็ค-คอนโทรลได้ด้วยปุ่ม CC บนสวิตช์ไฟเลี้ยว/ไฟหรี่ ซึ่งทำได้โดย:

การแสดงผลจะกลับไปที่สถานะเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ (เป็นจอมืดหรือออนบอร์ดคอมพิวเตอร์) แปดวินาทีหลังจากการทำงานของปุ่มสุดท้าย

การแสดงผลจะไม่เป็นจอมืดหากเช็ค-คอนโทรลกำลังแสดงข้อความที่มีความสำคัญมากอยู่ (เช่นเครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท) หรือเกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิงแสดงว่ามีเชื้อเพลิงเหลือน้อย

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ :

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่ในจอควบคุมและทำงานด้วยตัวควบคุม คอมพิวเตอร์นี้มีฟังก์ชันย่อยที่จัดเป็นหมวดหมู่

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ”หลัก”ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์”หลัก” เหมือนกับออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ดังต่อไปนี้

การแสดงผล: คอมพิวเตอร์ให้ข้อมูลจากเทอร์มินอล R สำหรับการแสดงผลต่อไปนี้:

การทำงาน: สามารถเรียกดูและลากผ่านการแสดงผลของออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ได้ด้วยปุ่มบนสวิตช์ไฟเลี้ยว/ไฟหรี่ ซึ่งทำได้โดย:

การแสดงผลจะไม่เป็นจอมืดหากเช็ค-คอนโทรลกำลังแสดงข้อความอยู่ หรือเกจวัดน้ำมันเชื้อเพลิงแสดงว่ามีเชื้อเพลิงเหลือน้อย

ส่วนแสดงผลทั้งสองจะสว่างหรือมืดพร้อมๆกัน โดยไม่สามารถแสดงผลต่างหากได้

คอมพิวเตอร์การเดินทางคอมพิวเตอร์การเดินทางทำหน้าที่ตรวจสอบในแต่ละสถานะ ซึ่งสามารถหยุดหรือขัดจังหวะการทำงานได้ คอมพิวเตอร์การเดินทางจะต้องถูกเลือกและสั่งงานในเมนูออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ในจอควบคุม ข้อมูลของคอมพิวเตอร์การเดินทางจะแสดงในจอควบคุมเท่านั้น ข้อมูลนี้ไม่สามารถแสดงในส่วนแสดงผลของแผงหน้าปัดได้

คอมพิวเตอร์การเดินทางแสดงผลดังต่อไปนี้:

คอมพิวเตอร์การเดินทางจะถูกสั่งงานโดยตัวควบคุมในส่วนการเลือก START

เมื่อการเดินทางถูกขัดจังหวะเนื่องจากเทอร์มินอล 15 หยุดทำงาน การคำนวณค่าเฉลี่ยจะหยุดลง (โดยที่มีการสั่งงาน START หรือ STOP) และจะเริ่มใหม่อีกครั้งเมื่อเดินทางต่อ

การแสดงผลจะหยุดนิ่งด้วยส่วนการเลือก STOP และจะไม่สามารถคำนวณต่อไปได้หลังจากที่การแสดงผลหยุดนิ่ง การเลือก START อีกครั้งจะรีเซ็ตการแสดงผลทั้งหมดของคอมพิวเตอร์การเดินทางพร้อมกัน ไม่สามารถ เลือกรีเซ็ตฟังก์ชันต่างหากในคอมพิวเตอร์การเดินทางได้

ขีดจำกัด:สามารถใส่ขีดจำกัดความเร็วในออนบอร์ดคอมพิวเตอร์โดยผ่านตัวควบคุมและจอควบคุมได้ สามารถใส่ข้อมูลแบบแมนนวลได้ด้วยตัวควบคุม หรืออาจใช้ความเร็วที่ขับอยู่ในปัจจุบัน พื้นที่เหนือความเร็วที่เป็นอินพุตซึ่งแสดงภายในสเกลมาตรวัดความเร็ว จะแสดงเป็นพื้นที่วงกลมสว่าง เมื่อความเร็วเกินค่าอินพุต จะมีเสียง "ก๊อง" เตือนพร้อมทั้งมีข้อความเช็ค-คอนโทรลปรากฏขึ้น

ระบบพร้อมที่จะทำงานเมื่อเทอร์มินอล R ทำงาน การเตือนเมื่อเกินขีดจำกัดอินพุต จะเป็นเอาต์พุตได้เฉพาะในโหมดการขับ (เทอร์มินอล 15 ทำงาน และเทเลแกรมพัลส์การเดินทาง) ขีดจำกัดความเร็วในปัจจุบันและสถานะการสั่งงานที่เกี่ยวข้องถูกเก็บอยู่ในแผงหน้าปัดหลังจากเทอร์มินอล 15 หยุดทำงาน

นาฬิกาจับเวลา: ฟังก์ชันนาฬิกาจับเวลาพร้อมที่จะทำงานจากเทอร์มินอล R นาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเทอร์มินอล R หยุดทำงาน นาฬิกาจะเดินต่อเมื่อเทอร์มินอล R ทำงาน

นาฬิกาจับเวลาจะเดินและหยุดเดินด้วยตัวควบคุมโดยผ่านช่องตัวเลือกในจอควบคุม สามารถเรียกดูช่วงเวลาได้เมื่อนาฬิกาจับเวลากำลังเดินอยู่ เวลาการเดินสูงสุดของนาฬิกาจับเวลาคือ 99 ชั่วโมงและ 59 นาที นาฬิกาจับเวลาจะยังคงอยู่ที่ค่านี้เมื่อเลยเวลานี้ไปแล้ว

การตั้งค่า :ฟังก์ชันเพิ่มเติมต่อไปนี้สามารถควบคุมได้ผ่านออนบอร์ดคอมพิวเตอร์และแสดงผลในจอควบคุม:

การแปลง, เกจวัดความสิ้นเปลืองน้ำมัน

การทำงาน

1

2

3

4

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ความสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ย

ลิตร/100 ก.ม.

ก.ม./ลิตร

ไมล์ต่อแกลลอน สหรัฐอเมริกา

ไมล์ต่อแกลลอน อังกฤษ

คอมพิวเตอร์การเดินทาง ความสิ้นเปลืองน้ำมันเฉลี่ย

ลิตร/100 ก.ม.

ก.ม./ลิตร

ไมล์ต่อแกลลอน สหรัฐอเมริกา

ไมล์ต่อแกลลอน อังกฤษ

จอแสดงความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง (แบบประหยัด)

ลิตร/100 ก.ม.

ก.ม./ลิตร

ไมล์ต่อแกลลอน สหรัฐอเมริกา

ไมล์ต่อแกลลอน อังกฤษ

การแปลง ฟังก์ชันอุณหภูมิ

การทำงาน

1

2

อุณหภูมิภายนอก

°เซลเซียส

° ฟาเรนไฮต์

การแปลง กิโลเมตร/ไมล์

การทำงาน

1

2

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ระยะทาง

ก.ม.

ไมล์

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ช่วง

ก.ม.

ไมล์

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ ความเร็วเฉลี่ย

ก.ม./ช.ม.

ไมล์ต่อชั่วโมง

ขีดจำกัด

ก.ม./ช.ม.

ไมล์ต่อชั่วโมง

ค่าระยะทางรวม

ก.ม.

ไมล์

ค่าของตัวบันทึกะยะทางต่อเที่ยว

ก.ม.

ไมล์

คอมพิวเตอร์การเดินทาง ระยะทางที่เดินทาง

ก.ม.

ไมล์

คอมพิวเตอร์การเดินทาง ความเร็วเฉลี่ย

ก.ม./ชั่วโมง

ไมล์ต่อชั่วโมง

การแปลง ฟังก์ชันเวลา

การทำงาน

1

2

ออนบอร์ดคอมพิวเตอร์ : เวลาที่มาถึง

24 น.

12 น.; AM/PM

คอมพิวเตอร์การเดินทาง: เวลาและวันที่เริ่มต้น

24 น.

วัน.เดือน.ปี

12 น.; AM/PM

วัน/เดือน/ปี

จอควบคุมและแผงหน้าปัด:

เวลาและวัน

24 น.

วัน.เดือน.ปี

12 น.; AM/PM

เดือน.วัน.ปี

อมพิวเตอร์การเดินทาง: เวลาในการขับ

24 น.

วัน.เดือน.ปี

12 น.; AM/PM

เดือน.วัน.ปี

 

รุ่นเฉพาะประเทศ

แผงหน้าปัดมีรูปร่างหลายแบบสำหรับตลาดต่อไปนี้:

กลุ่มประเทศยุโรป :

กลุ่มประเทศยุโรป ที่มีภาษาอื่นๆ

รุ่นนี้มีตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น เกาหลี และใต้หวันด้วย

ตลาดยุโรปและอเมริกา

ภาษาและหน่วย

ภาษาและหน่วยสามารถตั้งค่าได้โดยผ่านจอควบคุม

ภาษา: ภาษาต่อไปนี้จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภาษา 4 เมกกะไบต์ของแผงหน้าปัด:

นอกจากภาษาที่ระบุข้างต้นแล้ว ภาษาต่อไปนี้ยังถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำภาษา 8 เมกกะไบต์ของแผงหน้าปัดด้วย:

หน่วย: หน่วยต่อไปนี้ถูกเก็บไว้ในแผงหน้าปัด:

การให้รหัสภาษา

การให้รหัสภาษา:แพคเกจภาษาจะถูกโปรแกรมอยู่ในจอควบคุม ซึ่งประกอบด้วยภาษา 3 ภาษาจากที่ระบุข้างต้น ขึ้นอยู่กับการให้รหัสภาษาของระบบการเข้าถึงรถยนต์ CAS

จากภาษา 3 ภาษานี้ ภาษาหนึ่งจะถูกเลือกสำหรับใช้กับจอควบคุม

การตั้งค่าสามารถเก็บไว้เป็นฟังก์ชันหน่วยความจำกุญแจ ด้วยวิธีนี้ หน่วยและภาษาจะถูกเก็บและแสดงเป็นฟังก์ชันของกุญแจที่ใช้ (ผู้ใช้)

K-CAN SYSTEM BUS

แผงหน้าปัดจะสื่อสารกับชุดควบคุมในแชสซีและระบบกันสะเทือน ส่วนของการขับเคลื่อนและตัวถังรถ โดยผ่านบัสข้อมูล K-CAN SYSTEM ในรูปของเทเลแกรม ข้อมูล/ตัวเลขต่อไปนี้จะถูกส่งต่อ:

ฟังก์ชั่นความปลอดภัย

การหยุดทำงานเมื่อโหลด

ฮีทเตอร์ของจอจะทำงาน/หยุดทำงานด้วยโมดูลกำลังไฟฟ้า โดยเป็นฟังก์ชันของแรงดันไฟฟ้าของระบบ