ระบบปรับอากาศ IHKA จะมีติดตั้งในรุ่น มาตรฐาน และ ใน รุ่นพิเศษ โดยใช้แผงควบคุมที่แตกต่างกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รถยนต์กับ IHKA จะกระทำผ่านทางระบบบัสข้อมูล K-CAN
แผงควบคุมที่มีชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม จะมีเพียงอุปกรณ์ควบคุมที่สำคัญที่สุดสำหรับระบบปรับอากาศประกอบอยู่เท่านั้น ซึ่งทำหน้าที่ปรับเซ็นเซอร์อุณหภูมิโดยใช้พัดลมของเซ็นเซอร์ภายใน เพื่อการบันทึกอุณหภูมิภายใน ปุ่ม ”ไฟเตือนฉุกเฉิน” และ ”เซ็นทรัลล็อค” (ระบบเซ็นทรัลล็อค) จะไม่ได้รับการประเมินจากระบบควบคุม IHKA
จะมีการปรับฟังก์ชั่น IHKA อย่างถูกต้องที่ จอแสดงการควบคุม (ออนบอร์ดมอนิเตอร์)
ชุดควบคุม IHKA บันทึกสัญญาณอุปกรณ์ IHKA และควบคุม/ปรับขั้นตอนการทำความร้อนและการปรับอากาศ ชุดควบคุม IHKA เป็นสาเหตุให้ที่ทำความร้อนกระจกหลังทำงานและหยุดทำงาน โดยใช้โมดูลขับ ชุดส่งเอาต์พุตสำหรับม่านบังแดดม้วนได้ด้านหลังรวมอยู่ในชุดควบคุม IHKA ด้วย การรับส่งข้อมูลโดยใช้ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล (DME) เพื่อจ่าย/ตัดคอมเพรสเซอร์แอร์จะผ่านทางบัสข้อมูล K-CAN ชุดควบคุม IHKA มีอยู่ สี่รุ่น: รุ่น พื้นฐาน และ พิเศษ ที่มีและที่ไม่มีชุดส่งเอาต์พุตม่านบังแดดกระจกหลังแบบม้วนได้
เครื่องปรับอากาศประกอบด้วย อุปกรณ์/หน่วยการทำงาน ต่อไปนี้ :
โบลเวอร์ : โบลเวอร์จะยึดติดกับมอเตอร์ของโบลเวอร์เป็นชุดอุปกรณ์ โบลเวอร์สามารถแยกจากมอเตอร์ได้ และมี รุ่น สำหรับรถพวงมาลัยซ้ายและขวา
ตัวควบคุม : ตัวควบคุมบนปลอกของมอเตอร์ของโบลเวอร์จะทำงานโดยอาศัยชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมในแผงควบคุมของ IHKA ผ่านทางบัส MUX และตัวควบคุมสามารถทำการวิเคราะห์ออนบอร์ด ข้อมูลการวิเคราะห์จะส่งผ่านไปยังชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เพื่อประเมินผล ถ้าการวิเคราะห์ออนบอร์ดพบความผิดปกติซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์โอเวอร์ฮีท จะลดกระแสไฟฟ้าลงหรือตัดการทำงานจนกระทั่งความผิดปกติได้รับการแก้ไขแล้ว
ลิ้นอากาศบริสุทธิ์ : ลิ้นอากาศบริสุทธิ์จะควบคุมจำนวนอากาศบริสุทธิ์ที่ไหลเข้ามา ตัวขับความเร็วสูงเลื่อนลิ้นอากาศ เพื่อให้ลิ้นอากาศสามารถปิดได้เร็วเป็นพิเศษในโหมดอากาศหมุนเวียนภายในอัตโนมัติ (โหมด AUC) ลิ้นอากาศบริสุทธิ์ทำหน้าที่ชดเชยความดันลูกสูบด้วย
ลิ้นอากาศหมุนเวียน : ลิ้นอากาศหมุนเวียนได้รับการออกแบบเป็นบานเกล็ดที่มีครีบสามอัน ลิ้นอากาศนี้ปรับปริมาณอากาศหมุนเวียนภายในที่ดูดเข้า
ลิ้นอากาศช่องวางเท้า : ในรุ่น พื้นฐาน ลิ้นอากาศช่องวางเท้าจะจ่ายอากาศเข้าไปในช่องวางเท้าด้านหน้าและด้านหลังโดยตรง ในรุ่น พิเศษ จะมีการจ่ายอากาศเข้าไปในช่องวางเท้าด้านหน้าและด้านหลังแยกกันที่ด้านซ้ายและด้านขวา
ลิ้นจ่ายอากาศห้องโดยสารด้านหลัง : ลิ้นจ่ายอากาศห้องโดยสารด้านหลัง (แยกกันที่ด้านซ้ายและด้านขวา) จะ มีติดตั้งในรุ่นพิเศษเท่านั้น ลิ้นจ่ายอากาศนี้ทำหน้าที่ปรับการไหลของอากาศที่ช่องระบายอากาศห้องโดยสารด้านหลัง และปรับอุณหภูมิ (การปรับอุณหภูมิอากาศห้องโดยสารด้านหลัง)
ลิ้นอากาศละลายน้ำแข็ง : ลิ้นอากาศละลายน้ำแข็ง ที่เชื่อมต่อกัน ทั้งสอง ทำหน้าที่ปรับการไหลของอากาศไปที่กระจกหน้า ลิ้นอากาศจะได้รับการสั่งงานร่วมกับการปรับและฟังก์ชั่นการทำงานทั้งหมดจากด้านคนขับเท่านั้น
ลิ้นอากาศร้อน/เย็น :ลิ้นอากาศร้อน/เย็น ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของอากาศที่ช่องลมวัดอุณหภูมิของแผงหน้าปัดและที่ช่องระบายอากาศเสา B นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมด้วย การทำงานร่วมกันของลิ้นอากาศคู่จะควบคุมการไหลของอากาศและอุณหภูมิไปพร้อมๆ กัน ในรุ่น พิเศษ จะแยกการทำงานด้านซ้ายและด้านขวาออกจากกัน
มอเตอร์ความเร็วสูง :มอเตอร์ความเร็วสูง ใช้สำหรับลิ้นอากาศบริสุทธิ์ เท่านั้น ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมจะสั่งให้ขดลวดของมอเตอร์เหล่านี้ทำงานด้วยความถี่สูงถึง 500 เฮิร์ทซ์
มอเตอร์ MUX : มอเตอร์ MUX ใช้ สำหรับลิ้นอากาศอื่นๆ ทั้งหมด มอเตอร์ MUX มีวงจรรวมสำหรับการควบคุมขดลวด วงจรรวมใช้ได้กับบัสและการวิเคราะห์ ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมสั่งงานตัวขับ MUX ทั้งหมด ผ่านทางบัสมอเตอร์ร่วม (MUX บัส) ความผิดปกติที่แจ้งโดยวงจรรวมจะบันทึกไว้ในชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม และส่งผลไปยังการสั่งงานที่กำลังได้รับการรบกวน ตัวขับจะได้รับการระบุตำแหน่งตามวิธีการซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและสับเปลี่ยนได้
การระบายความร้อนจะกระจายพลังงานความร้อน ที่เกิดจากการอัดของแก๊สน้ำยาทำความเย็นในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน ไปรอบๆ พื้นผิวคอนเดนเซอร์ น้ำยาทำความเย็นจะควบแน่นและเปลี่ยนเป็นของเหลว เพื่อที่จะป้องกันความการเกิดสนิม ดรายเออร์ที่รวมอยู่จะดูดซับน้ำที่มีในระบบน้ำยาทำความเย็นออก ไส้กรองดรายเออร์สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งรวมทั้งตะแกรงกรอง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามา
คอมเพรสเซอร์อัดแก๊สน้ำยาทำความเย็นที่ดูดจากอีแวปเพอเรเตอร์และอัดเข้าในคอนเดนเซอร์ ซึ่งจะทำงานเมื่อเครื่องยนต์ทำงานเสมอ การปรับเอาต์พุตโดยใช้ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมสามารถทำได้อย่างไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับการออกแบบและการทำงานของวาล์วปรับที่มีสัญญาณแบบโมดูเลตตามความกว้างพัลส์ และเพื่อเป็นการลดโหลด จึงมีการสร้างเอาต์พุตการทำความเย็นที่จำเป็นโดยตรงเท่านั้น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง IHKA กับ DME จะกระทำผ่านทาง K-CAN บัส
ไมโครฟิลเตอร์จะอยู่ในตัวเรือนของท่ออากาศเข้าทั้งสอง ในรุ่นมาตรฐาน จะเป็น ตัวกรองอนุภาค ในขณะที่รุ่น พิเศษ จะเป็น ชุดรวม ของ ตัวกรองอนุภาคและห้องดักไอน้ำมัน
เซ็นเซอร์ความดันในท่อความดันระหว่างคอนเดนเซอร์กับอีแวปเพอเรเตอร์ จะส่งสัญญาณเกี่ยวกับความดันระบบไปยังชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วติดอยู่กับอีแวปเพอเรเตอร์ ทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำยาทำความเย็นเหลวที่ฉีดเข้าไปในอีแวปเพอเรเตอร์ น้ำยาทำความเย็นเหลวจะได้รับการปรับให้เพียงพอที่จะสามารถระเหยเข้าไปในอีแวปเพอเรเตอร์ได้หมดเท่านั้น
อีแวปเพอเรเตอร์ประกอบด้วยเพลทอะลูมิเนียม 27 แผ่น และมีพื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร ชุดควบคุมจะทำการควบคุมอุณหภูมิในอีแวปเพอเรเตอร์ ตัวควบคุมอุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์ทำงานอย่างอิสระจากวงจรควบคุมอื่นๆ ที่มีตัวแปรควบคุม อากาศเย็นที่ไหลมาจากอีแวปเพอเรเตอร์จะเพิ่มอุณหภูมิขึ้นถึงระดับที่ต้องการ โดยอาศัยระบบแลกเปลี่ยนความร้อน
พัดลมเสริมจำเป็นสำหรับการหล่อเย็นคอนเดนเซอร์ ความเร็วพัดลมเสริมสามารถปรับได้อย่างอิสระ และทำงานได้โดยใช้การรวมสัญญาณตามความกว้างพัลส์ (PWM) ระบบปรับอากาศจะทำการรับส่งสัญญาณความเร็วพัดลมที่ต้องการผ่านทาง CAN บัส ไปยัง DME
เซ็นเซอร์คอยล์ร้อนติดตั้งอยู่บนด้านซ้ายและขวาในช่องจ่ายอากาศของฮีทเตอร์ ทำหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิที่ออกมาที่ระบบแลกเปลี่ยนความร้อน ค่าที่ตรวจวัดได้นี้จะกำหนดเวลาในการเปิดวาล์วน้ำ สัญญาณแบบโมดูเลตตามความกว้างพัลส์จะสั่งให้วาล์วน้ำทำงาน
ปั๊มน้ำเสริมแบบทำงานด้วยไฟฟ้าทำให้แน่ใจว่า ที่ความเร็วรอบเครื่องต่ำจะยังมีการไหลของน้ำเพียงพอ
เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศภายนอกในบริเวณกันชน จะทำหน้าที่วัดอุณหภูมิภายนอก ค่าที่วัดได้จะใช้เพื่อชดเชยอุณหภูมิที่ปรับตั้งในห้องโดยสารที่ได้รับผลกระทบจากแสงแดด ค่าดังกล่าวจะได้รับการส่งผ่านไปยัง IHKA ผ่านทางบัส K-CAN
ในกรณีของ รุ่นพิเศษ โซลาร์เซ็นเซอร์ ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดแหล่งความร้อนภายนอก (เช่น แสงอาทิตย์) จะติดตั้งอยู่บนแผงหน้าปัดในหน้ากากของลำโพงกลาง