ระบบปรับอากาศด้านหลัง

ระบบปรับอากาศด้านหลัง (FKA) พร้อมตู้แช่แบบรวม เป็นอุปกรณ์เพิ่มพิเศษของรุ่นพิเศษของระบบปรับอากาศ (IHKA)การควบคุมและการต่อระบบ FKA เข้ากับ IHKA ได้รับการออกแบบในลักษณะที่สามารถทำงานแยกกันได้ อากาศที่ใช้ในการควบคุมสภาพอากาศด้านหลังดูดผ่านตัวกรอง (ตัวกรองอากาศหมุนเวียน) จากช่องเก็บสัมภาระเข้ามา ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ระบบปรับอากาศด้านหลังจะจ่ายลมเย็นให้กับตู้แช่แบบรวม (ยกเว้นอุปกรณ์พิเศษ 'ตู้แช่แบบทำงานด้วยไฟฟ้า')

ระบบปรับอากาศด้านหลังจะมีฟังก์ชั่นต่อไปนี้ :

ระบบปรับอากาศด้านหลังจะใช้ในการปรับสภาพอากาศในห้องโดยสารด้านหลังตามความต้องการของผู้โดยสารที่นั่งอยู่ด้านหลัง โดยสามารถตั้งแยกกันระหว่างด้านซ้ายและด้านขวา การรับส่งระหว่างอุปกรณ์รถยนต์, IHKA และระบบปรับอากาศด้านหลังจะส่งผ่านทางบัสข้อมูลระบบ K-CAN

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

ชุดปรับอากาศด้านหลัง

ชุดปรับอากาศด้านหลังติดตั้งอยู่ในบริเวณส่วนหน้าของช่องเก็บสัมภาระ

ชุดปรับอากาศด้านหลังประกอบด้วย อุปกรณ์/หน่วยการทำงาน ต่อไปนี้ :

ชุดปรับอากาศด้านหลังได้รับการออกแบบให้มีฟังก์ชั่นการทำงานดังต่อไปนี้ :

ชุดปรับอากาศด้านหลังจะเชื่อมต่อเข้ากับระบบน้ำยาทำความเย็นของ IHKA โดยท่อน้ำยาทำความเย็น (ท่อจ่ายและท่อดูด) ผ่านทางวาล์วกันกลับ วาล์วกันกลับจะอยู่ในท่อจ่ายที่ด้านหน้าของอีแวปเพอเรเตอร์

จะมีท่อระบายน้ำที่เกิดจาการควบแน่นเมื่อมีการทำความเย็นอากาศที่อีแวปเพอเรเตอร์ ออกสู่ภายนอก

หมายเหตุ : ในระหว่างการประกอบ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่อระบายน้ำอยู่ในตำแหน่งอย่างถูกต้อง โดยเซอร์โวมอเตอร์ของเบรคจอดรถจะอยู่ใต้ท่อนี้พอดี

ตัวขับลิ้นอากาศ

การควบคุมการจ่ายอากาศและปรับอุณหภูมิอากาศของชุดปรับอากาศด้านหลัง จะใช้ลิ้นอากาศซึ่งขับโดยสเต็ปมอเตอร์สี่ชุด ดังต่อไปนี้ :

ส่วนประกอบของระบบน้ำยาทำความเย็นของระบบปรับอากาศด้านหลัง

อีแวปเพอเรเตอร์ : อุณหภูมิในอีแวปเพอเรเตอร์จะควบคุมโดยชุดควบคุมของระบบปรับอากาศด้านหลัง ตัวควบคุมอุณหภูมิอีแวปเพอเรเตอร์จะทำงานเป็นอิสระจากลูปการควบคุมอื่นๆ โดยใช้ตัวแปรควบคุมที่สร้างขึ้นมาเฉพาะ

เอ็กซ์แพนชั่นวาล์ว: เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วติดอยู่กับอีแวปเพอเรเตอร์ เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วทำหน้าที่ปรับปริมาณน้ำยาทำความเย็นเหลวที่ฉีดเข้าไปในอีแวปเพอเรเตอร์ น้ำยาทำความเย็นเหลวจะได้รับการปรับให้เพียงพอที่จะสามารถระเหยเข้าไปในอีแวปเพอเรเตอร์ได้หมดเท่านั้น

วาล์วกันกลับ: วาล์วกันกลับด้านหน้าจะต่ออยู่ระหว่างท่อน้ำยาทำความเย็น (ท่อจ่ายและท่อดูด) กับระบบปรับอากาศด้านหลัง ที่บริเวณหลังจากอีแวปเพอเรเตอร์ของ IHKA ส่วนวาล์วกันกลับด้านหลังจะต่ออยู่ระหว่างท่อน้ำยาทำความเย็นกับเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วที่อีแวปเพอเรเตอรของชุดปรับอากาศด้านหลัง

ตู้แช่ด้านหลัง

ตู้แช่ด้านหลังพร้อมไฟภายในจะติดตั้งอยู่หลังที่วางแขนตรงกลางของที่นั่งด้านหลัง การเปิดตู้แช่ด้านหลังนี้ สามารถทำได้โดยพับฝาปิดไปด้านหลัง ที่ฝาปิดจะมีปุ่มสำหรับปิดและเปิดตู้แช่ด้านหลัง

พัดลมและตัวกรองอากาศหมุนเวียน

พัดลม : พัดลมปีะกอบด้วยมอเตอร์พัดลม พร้อมโรเตอร์พัดลม และ ชุดส่งเอาต์พุตไฟฟ้าพร้อมเร็คกูเลเตอร์

ตัวกรองอากาศหมุนเวียน ตัวกรองอากาศหมุนเวียนพร้อมกล่องตัวกรองจะอยู่ใต้พัดลม โดยตัวกรองละเอียดขี้ จะสามารถเปลี่ยนได้ (รอบระยะเวลาการเปลี่ยนได้กำหนดไว้ในคู่มือการซ่อมบำรุง)

แผงควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลัง

แผงควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลัง (แซทเทิลไลท์) จะติดตั้งอยู่บนด้านซ้ายมือและด้านขวามือของแผงหลังคา การออกแบบและฟังก์ชั่นของอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ จะเหมือนกันทั้งสองชุด การทำงานของปุ่มต่างๆ สามารถสังเกตได้โดยจะมีไฟ LED อยู่ภายในปุ่ม ปุ่มต่างๆ จะมีสัญลักษณ์และไฟแสดง LED ชุดควบคุมสำหรับระบบปรับอากาศด้านหลังจะติดตั้งอยู่ในแผงควบคุมด้านขวามือ

ชุดควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลัง

สัญญาณของชุดควบคุมของ FKA จะทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการปรับสภาพอากาศในห้องโดยสารด้านหลัง การรับส่งระหว่างอุปกรณ์รถยนต์กับชุดควบคุม FKA จะส่งผ่านทางบัสข้อมูลระบบ K-CAN ชุดควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลังยังมีความสามารถในการวิเคราะห์ด้วย

จอแสดงการควบคุมและตัวควบคุม

จอแสดงการควบคุม จอแสดงการควบคุม (CD) ทำหน้าที่ควบคุมและแสดงผลการทำงานของระบบอิเล็กทรอนิกส์ตัวถังรถ โดยมีข้อยกเว้นอยู่บ้างเล็กน้อย จอแสดงการควบคุมทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากระบบ และกำหนดคำสั่งที่ได้รับมาให้กับฟังก์ชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สถานะของระบบปรับอากาศด้านหลังจะถูกรายงานไปยังจอแสดงการควบคุม และแสดงผลที่นั้น

ตัวควบคุม : การสั่งงานจอแสดงการควบคุมสามารถทำได้โดยใช้ตัวควบคุมที่ติดตั้งอยู่ในที่วางแขนตรงกลางด้านหน้า

โมดูลไฟ LM

โมดูลไฟ LM จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับค่าการปรับความสว่างและสถานะของไฟ (เช่น ไฟหน้าทำงาน) ให้กับชุดควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลัง ชุดควบคุมจะควบคุมความสว่างของไฟ LED แสดงการทำงานและไฟสัญลักษณ์ในปุ่มตามข้อมูลนี้

โมดูลจ่ายกำลังไฟ PM

โมดูลจ่ายกำลังไฟจะตรวจสอบสถานะประจุของแบตเตอรี่ และการใช้กระแสไฟเปิดวงจรของรถ จะมีการรับส่งข้อมูลผ่านทางบัสข้อมูลอุปกรณ์ต่อพ่วง K-CAN

ฟังก์ชั่นหลัก

ลิ้นอากาศ / กลไกลิ้นอากาศ / ตำแหน่งลิ้นอากาศ

โปรแกรมการทำงานในขณะที่เทอร์มินอล 15 OFF: สำหรับระบบปรับอากาศด้านหลัง ในขณะนี้ยังไม่มีโปรแกรมการทำงานที่แน่นอน สำหรับตำแหน่งลิ้นอากาศขณะที่เทอร์มินอล 15 OFF

การทำงานของตู้แช่ด้านหลัง: ในระหว่างที่ตู้แช่ด้านหลังทำงาน ระบบปรับอากาศด้านหลังสำหรับด้านซ้ายมือและด้านขวามือจะปิดการทำงาน ตำแหน่งลิ้นอากาศจะเป็นดังต่อไปนี้ :

การใช้ฟังก์ชั่นการทำความเย็นสูงสุด (MAX AC) : ในกรณีที่ใช้ฟังก์ชั่น MAX AC ตำแหน่งของลิ้นอากาศจะเป็นดังต่อไปนี้ :

การปรับตั้งลิ้นอากาศแบบแมนนวล :

ลิ้นจ่ายอากาศ : ตำแหน่งของลิ้นจ่ายอากาศจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนการจ่ายอากาศของพัดลมสำหรับด้านซ้ายมือและด้านขวามือ ด้านที่ตั้งอัตราส่วนการจ่ายอากาศของพัดลมไว้มากกว่าจะเปิด 100% สำหรับตำแหน่งของลิ้นจ่ายอากาศของด้านที่อัตราส่วนการจ่ายอากาศของพัดลมน้อยกว่า จะกำหนดตามเส้นกราฟลักษณะการทำงานพิเศษ ขนาดการเปิดของลิ้นอากาศตามหลักทฤษฎีจะได้รับการแก้ไขโดยเส้นกราฟลักษณะการทำงานของลิ้นอากาศเฉพาะชุด ซึ่งหมายความว่า ขนาดการเปิดลิ้นอากาศจริงๆ นั้นจะได้รับการกำหนดโดยใช้หลักเกณฑ์ที่เฉพาะสำหรับแต่ละด้าน

ลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศ : การเปิดลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศจะกำหนดตามค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้สำหรับด้านซ้ายและด้านขวา :

ช่วงการตั้งค่าอุณหภูมิ: 3°C ... 25°C (22°C)

ช่วงการตั้งค่าสวิตช์หมุน : 180 องศาโดยมี 18 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งต่างกัน 10 องศา

ขั้นเพิ่ม : 22°C: 18 ตำแหน่ง ประมาณ 1.22°C ต่อมุม

ช่วงการปรับ : 0.2 วินาที

ค่าแทน : 15°C

การควบคุมอุณหภูมิอากาศที่ช่องอากาศที่หลังคา

อุณหภูมิอากาศที่ด้านขวาและด้านซ้ายจะได้รับการควบคุมแยกกัน โดยการใช้ปุ่มหมุนบนแผงควบคุมในการตั้งค่าอุณหภูมิในช่วง 3°C ... 25°C สำหรับอุณหภูมิอากาศที่ช่องอากาศหลังคา ค่าอุณหภูมิปกติที่ตั้งไว้จะเป็นตัวกำหนดอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้าที่จุดร่วม ก่อนเข้าเร็คกูเลเตอร์แบบ PI เพื่อป้องกันความแตกต่างในการควบคุมที่อาจมีเหลืออยู่ ที่จุดร่วมนี้ จะมีค่าอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้าจากเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ติดตั้งไว้ในเส้นทางการไหลของอากาศด้วย ค่าดิฟเฟอเรนเชียล (Y) ที่ได้จากค่าอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้าจะได้รับการแก้ไขโดยเส้นกราฟลักษณะการทำงานของลิ้นอากาศ ลิ้นจ่ายอากาศและลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศจะถูกควบคุมโดยค่าดิฟเฟอเรนเชียล ที่ได้รับการแก้ไขแล้ว อากาศเย็นจากอีแวปเพอเรเตอร์และอากาศอุ่นจากช่องเก็บสัมภาระจะถูกจ่ายออกไปตามตำแหน่งของลิ้นจ่ายอากาศ ส่วนตำแหน่งของลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศจะทำหน้าที่ในการผสมอากาศ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งลิ้นอากาศ จะถูกกำหนดโดยเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่อยู่ในเส้นทางการไหลของอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะส่งผลกลับไปที่จุดร่วมในรูปของค่าอัตราส่วนแรงดันไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลต่อวงจรการควบคุม

การควบคุมการไหลของอากาศ

การแก้ไขปริมาณการจ่ายอากาศของพัดลม :

การแก้ไขปริมาณการจ่ายอากาศที่ด้านขวา/ด้านซ้าย จะแยกกัน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ :

การทำงานของตู้แช่ด้านหลัง : ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ระบบปรับอากาศด้านหลังจะจ่ายลมเย็นให้กับตู้แช่แบบรวม อากาศเย็นที่จ่ายให้กับตู้แช่ด้านหลัง จะเป็นอากาศที่จัดเตียมไว้ก่อนที่จะผ่านลิ้นระบายอากาศและลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศ อากาศที่รั่วไหลออกไปจากตู้แช่เมื่อเปิดตู้ จึงไม่มีมีผลต่อชุดควบคุมอุณหภูมิ และเพื่อเป็นการรักษาอากาศเย็นไว้ในขณะที่ปิดการทำงานของระบบปรับอากาศด้านหลัง (ปิดการทำงานทั้งด้านซ้ายและด้านขวา) ลิ้นจ่ายอากาศจะปิด อากาศเย็นจะถูกส่งไปที่ตู้แช่ด้านหลังเพียงอย่างเดียว โดยพัดลมจะทำงานในระดับที่ได้บันทึกเอาไว้

ฟังก์ชั่นการทำความเย็นสูงสุด (MAX AC) : การเปิดใช้งานฟังก์ชั่น MAX AC ที่ด้านหนึ่งจะทำให้ลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศของด้านนั้นๆ ทำงานในตำแหน่งการทำความเย็นสูงสุด ในขณะเดียวกัน พัดลมจะถูกตั้งการทำงานไว้ที่ 100% ตำแหน่งของลิ้นจ่ายอากาศจะจ่ายอากาศไปยังทั้งสองด้านตามอัตราส่วน

การปรับระดับการทำงานของพัดลมแบบไม่ขึ้นกับการปรับลิ้นอากาศ : ขึ้นอยู่กับเวลาการปรับลิ้นอากาศ ในขณะทำการปรับเป็นช่วงกว้าง ความเร็วในการปรับพัดลมจะคงที่ (ค่าที่บันทึกไว้)

การปรับแบบแมนนวล : ในกรณีที่ทำการปรับแบบแมนนวล จะสามารถตั้งการทำงานของพัดลมโดยตรงได้ตามต้องการ โดยการใช้ตัวปรับ การใช้ค่าโพเทนชิออมิเตอร์ 0 - 100 % ในการปรับการทำงานของพัดลมจะเป็นไปตามเส้นกราฟลักษณะการทำงานที่ได้บันทึกเอาไว้ ค่าสูงสุดที่สามารถทำได้ในการทำงานแบบแมนนวลจะไม่ใช่ค่าเอาต์พุตสูงสุดของพัดลม

การลดการทำงานของพัดลมขึ้นอยู่กับแรงดันไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ารถยนต์: ถ้าจำเป็น ระดับการลดการทำงานของพัดลม จะส่งมาจากฟังก์ชั่นการลดการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าของโมดูลจ่ายกำลังไฟ โดยผ่านทาง K-CAN บัส สำหรับระดับ 4 และ 1 : ค่าการทำงานสูงสุดของพัดลม = 50% ของประสิทธิภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ของพัดลม

ผลกระทบของตำแหน่งสตาร์ท (50) :

ระบบน้ำยาทำความเย็น

ระบบน้ำยาทำความเย็นของระบบปรับอากาศด้านหลังจะต่อเข้ากับระบบน้ำยาทำความเย็นของ IHKA โดยคอมเพรสเซอร์น้ำยาทำความเย็นของ IHKA จะเป็นตัวจ่ายน้ำยาให้กับระบบน้ำยาทำความเย็นทั้งสองชุด ทั้งสองระบบนี้จะแยกจากกันโดยวาล์วกันกลับสองตัว วาล์วสองตัวนี้จะทำงานตามการสั่งงงานของระบบปรับอากาศด้านหลัง ซึ่งจะ 'ปิด' เมื่อไม่มีการจ่ายไฟให้

หมายเหตุ : วาล์วกันกลับนี้ จะติดตั้งคู่กับอุปกรณ์พิเศษ 'ระบบปรับอากาศด้านหลัง' เท่านั้น ถ้ามีการติดตั้ง FKA จะต้องให้รหัสระบบ IHKA เป็น ”ติดตั้ง FKA ไว้” ถ้าไม่ได้ให้รหัสตามนี้ วาล์วกันกลับจะไม่ทำงานและจะ 'ปิด' ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายขึ้นมาได้

อุณหภูมิน้ำยาทำความเย็นของระบบปรับอากาศด้านหลังจะคงที่อยู่ระหว่าง 2°C และ 3°C โดยการใช้การควบคุมสองจุด ด้วยการกระตุ้นการทำงานวาล์วกันกลับด้านหน้าและด้านหลังสลับกัน และจะมีเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วเสริมติดตั้งไว้ที่อีแวปเพอเรเตอร์ของระบบปรับอากาศด้านหลัง ซึ่งมีหน้าที่การทำงานเหมือนกับอีแวปเพอเรเตอร์ของ IHKA

หมายเหตุ : ห้ามสลับตัวหรือเปลี่ยนเอ็กซ์แพนชั่นวาล์วนี้

เอ็กซ์แพนชั่นวาล์วของ FKA จะให้ปริมาณน้ำยาทำความเย็นไหลผ่านได้มากกว่า มีผลให้มีการหมุนเวียนน้ำมันหล่อลื่นที่สูงกว่า ซึ่งจะช่วยป้องกันน้ำมันหล่อลื่นตกค้างในระบบน้ำยาทำความเย็นของ FKA และทำให้คอมเพรสเซอร์น้ำยาทำความเย็นชำรุดเสียหายได้

การควบคุมด้วยสเต็ปมอเตอร์

การติดต่อระหว่างชุดควบคุมกับสเต็ปมอเตอร์ : การปรับลิ้นจ่ายอากาศสองชุดและลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศสองชุด จะใช้สเต็ปมอเตอร์แบบไปโพลาร์สี่ตัว เพื่อให้แน่ใจว่าได้ค่าแรงบิดตามที่ต้องการที่ลิ้นอากาศ สเต็ปมอเตอร์จะเชื่อมต่อเข้ากับกลไกลิ้นอากาศผ่านทางเฟืองทด

สเต็ปมอเตอร์ทั้งหมดจะต่อเข้าด้วยกันในแบบแบบขนาน และต่อเข้ากับจุดต่อสายแบบแบนสามสาย สายไฟทั้งสามเส้นจะได้แก่สายไฟเลี้ยง, สายดิน และสายข้อมูลแบบอนุกรม คำสั่งควบคุมจะถูกส่งไปยังสเต็ปมอเตอร์ผ่านทางการเชื่อมต่อข้อมูลแบบอนุกรม จากชุดควบคุมของระบบปรับอากาศด้านหลัง

เพื่อให้สเต็ปมอเตอร์แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน จึงมีการกำหนดตำแหน่งแอดเดรสเฉพาะให้กับมอเตอร์แต่ละตัว ตำแหน่งแอดเดรสที่ตั้งโปรแกรมไว้นี้ จะสามารถกำหนดได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และหลังจากที่กำหนดแล้ว จะไม่สามารถลบทิ้ง หรือแก้ไขได้อีก ซึ่งหมายความว่าสเต็ปมอเตอร์ ไม่สามารถเปลี่ยนกันได้ สเต็ปมอเตอร์แต่ละตัวทำงานเป็น ”ตัวรับคำสั่ง” โดยจะ ”รับ” ข้อมูลทั้งหมดที่บัส แต่จะยอมรับและสั่งงานเมื่อตรวจพบแอดเดรสของตัวมันเองเท่านั้น นอกจากนี้ การส่งผ่านข้อมูลเทเลแกรมจะต้องไม่มีความผิดพลาดด้วย ขณะสเต็ปมอเตอร์ดำเนินการตามคำสั่ง จะมีการสร้างข้อมูลสถานะ และส่งกลับไปยังชุดควบคุม

ความแม่นยำในด้านตำแหน่ง: การเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้ารถยนต์จะมีผลต่อแรงบิดของมอเตอร์ MUX4 อย่างไรก็ตาม มอเตอร์จะทำงานในโหมดการทำงานแบบสัญญาณรบกวนต่ำ (Lower-Noise Sinus Operation) เมื่อแรงดันไฟฟ้า U BKL30 มากกว่า 11 โวลท์ ถ้าแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าค่านี้ จะต้องเปลี่ยนไปทำงานในโหมดการทำงานแบบเต็มระดับ

การเปลี่ยนโหมดการทำงาน :

U BKL30 < 9.0 โวลท์มอเตอร์หยุดทำงาน

9.0 โวลท์ < U UBKL30 < 10.0 โวลท์ มอเตอร์ทำงานที่ความถี่ 140 Hz ในโหมดการทำงานเต็มระดับ

10.0 โวลท์ < U BKL30 < 11.0 โวลท์ มอเตอร์ทำงานด้วยความถี่จำกัด ในโหมดการทำงานแบบเต็มระดับ

11.0 โวลท์ < U BKL30 < 16.0 โวลท์ มอเตอร์ทำงานด้วยความถี่จำกัด ในโหมดการทำงานแบบไซน์ (Sine Operation)

16.0 โวลท์ < U BKL30 มอเตอร์หยุดทำงาน (เนื่องจากการสูญเสียกำลังไฟที่ IC)

เงื่อนไขเหล่านี้ จะใช้กับการทำงานอ้างอิงด้วย !

การทำงานอ้างอิง : เนื่องจากไม่มีสเต็ปปิงมอเตอร์ตัวใดที่มีการตรวจจับตำแหน่งจริง ดังนั้นสเต็ปปิงมอเตอร์จะเคลื่อนที่สัมพันธ์กับตำแหน่งสุดของลิ้นอากาศตัวใดตัวหนึ่ง (ตำแหน่งอ้างอิง) เสมอ (ตำแหน่งอ้างอิง: 0 / 100%). ถ้ามีการเปลี่ยนชุดควบคุม หรือแหล่งจ่ายไฟขาดหายไปในระหว่างการทำงานปกติ ลิ้นอากาศจะเลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งสุด โดยตำแหน่งสุดนี้ จะเลือกจากจุดที่ใกล้กับตำแหน่งค่าที่กำหนดค่าต่อไปมากที่สุด (การปรับเส้นทาง)

การรวมกันของตำแหน่งปกติที่นี่ จะทำให้ได้การปรับเวลาทำงานมอเตอร์ที่ดีที่สุด : ถ้าต้องการจะเปิดลิ้นอากาศค้างไว้หลังจากการทำงานอ้างอิง ก็จะดำเนินการทำงานอ้างอิงในทิศทาง ”เปิด” การปรับเส้นทางนี้จะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ดังต่อไปนี้ :

การปรับเส้นทางในระหว่างการทำงานอ้างอิง:

ค่าที่ตั้งของเครื่องวิเคราะห์สามารถเริ่มต้นการทำงานอ้างอิง

การทำงานตามตำแหน่ง : เมื่อจอดรถ (โดยเทอร์มินอล 15 OFF) สเต็ปมอเตอร์จะเลื่อนลิ้นอากาศไปที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง โดยลิ้นจ่ายอากาศจะปิด และลิ้นปรับอุณหภูมิอากาศจะอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลาง

การปรับมุม, จำนวนขั้นและเวลาในการปรับ :

การสั่งงานระบบปรับอากาศด้านหลัง

สามารถสั่งงานระบบปรับอากาศด้านหลังได้โดยใช้แผงควบคุมด้านซ้ายและด้านขวา และปุ่มสำหรับตู้แช่ด้านหลัง (เปิด/ปิด) นอกจากนั้น การทำงานบางส่วนยังสามารถสั่งจาก IHKA ได้อีกด้วย

การสั่งงานโดยใช้ปุ่ม :

ความสัมพันธ์ : ความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ กับสถานะเทอร์มินอล 15 ON มีดังต่อไปนี้ :

ฟังก์ชั่นที่ทำงานอยู่

กดปุ่ม

ฟังก์ชั่นใหม่

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

ปิด

ปิด

แมนนวล

ปิด

ปิด

ปิด

ปิด

การทำความเย็นสูงสุด MAX AC (ถ้า MAX AC 'ปิด' อยู่ก่อนหน้านี้ จะถูกลบออกไปโดย VA)

ปิด

ปิด

แมนนวล (ถ้าการทำงานในแบบแมนนวล 'ปิด' อยู่ก่อนหน้านี้)

แมนนวล

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

ปิด

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

การทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

แมนนวล

การสั่งงานโดยปุ่มหมุน :

ผลกระทบต่อสถานะ 'ปิด' และ ฟังก์ชั่น 'การทำความเย็นสูงสุด' :

หมายเหตุ : ”การทำงานของโหมดการทำงานแบบแมนนวล” เป็นออปชั่นที่สามารถการให้รหัสได้ ในขณะนี้ ฟังก์ชั่นนี้จะยังไม่ได้
ให้รหัสไว้

การสั่งงานผ่านทาง IHKA: การสั่งการทำงานของ MAX AC ที่แผงควบคุมของ IHKA จะเป็นการสั่งให้แผงควบคุมของ FKA ให้เปลี่ยนไปทำงานในโหมดการทำความเย็นสูงสุด (MAX AC)

ถ้ามีการปิดการทำงานของโหมดการทำความเย็นสูงสุดจากแผงควบคุมของ IHKA อีกครั้งหนึ่ง ระบบปรับอากาศด้านหลังสำหรับทั้งสองด้านจะเปลี่ยนไปที่สถานะที่ได้ตั้งไว้ก่อนหน้าที่ MAX AC จะทำงาน อย่างไรก็ตาม ระบบจะทำงานตามขั้นตอนการทำงานนี้ก็ต่อเมื่อ ไม่มีการปรับใดๆ ที่ FKA ในระหว่างการทำงานของการทำความเย็นสูงสุด หลังจากนั้น จะสามารถสั่งการทำงานของระบบปรับอากาศด้านหลังได้ในแบบปกติ

การสั่งการทำงานผ่านทางตัวควบคุม (BM ด้านหน้า) : จอแสดงการควบคุมจะติดต่อกับระบบปรับอากาศด้านหลังผ่านทางบัสข้อมูลระบบ K-CAN และสามารถที่จะปรับเปลี่ยนค่าการทำงานต่างๆ ได้ ค่าตั้งสำหรับการทำงานที่สามารถปรับได้โดยใช้ตัวควบคุมและส่วนแสดงบนจอแสดงการควบคุม มีดังต่อไปนี้ :

ส่วนการแสดงผล

ไฟ LED แสดงการทำงาน : การทำงานของปุ่มทั้งหมดจะสามารถสังเกตได้โดยจะมีไฟ LED แสดงการทำงาน, ไฟสัญลักษณ์ และไฟแสดงตำแหน่ง อยู่ในปุ่ม:

ไฟ LED นี้จะแสดงถึงสถานะของโปรแกรมโดยจะเป็นสัญญาณตอบกลับที่แท้จริง โดยชุดควบคุมของ FKA จะเป็นตัวสั่งงานไฟ LED แสดงการทำงานทั้งหมด

ความสว่างของไฟ LED แสดงการทำงานจะคงที่เสมอ เนื่องจากจะมีเร็คกูเลเตอร์ปรับแรงดันไฟฟ้าควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ ลำดับความสำคัญของปุ่มจะถูกตั้งไว้โดยโปรแกรม เมื่อมีสถานะการแสดงผลที่มีลำดับความสำคัญสูงกว่า ไฟแสดงการทำงานของปุ่มที่มีลำดับความสำคัญต่ำกว่าก็จะดับไป

การทำงานในเวลากลางวัน / กลางคืนของไฟ LED : ความสว่างของไฟ LED แสดงการทำงานจะได้รับการออกแบบไว้สำหรับเวลากลางวัน. เพื่อป้องกันอาการตาพร่าในช่วงเวลากลางคืน ความสว่างจะลดลงเมื่อมีการเปิดสวิตช์ไฟแสงสว่าง และเทอร์มินอล 58g ทำงาน สำหรับการควบคุมความสว่าง ไฟเลี้ยงสำหรับไฟ LED ได้รับการควบคุมโดยสัญญาณ PWM ค่าความสว่างต่ำสุดของไฟ LED แสดงการทำงานจะได้รับการบันทึกไว้ ความสว่างของไฟสัญลักษณ์ก็จะหรี่ลงตามสถานะของ เทอร์มินอล 58g ด้วย โดยสถานะของเทอร์มินอล 58g จะถูกส่งผ่านไปยังระบบควบคุมของระบบปรับอากาศด้านหลังผ่านทางข้อความ K-CAN ”การลดความสว่าง” โมดูลไฟก็จะส่งผ่านสถานะของไฟโดยใช้เทเลแกรม ”สถานะหลอดไฟ”

โหมดขนส่ง และโหมดบริการ

ถ้าโหมดใดโหมดหนึ่งในสองโหมดนี้ 'ทำงาน' ระบบปรับอากาศด้านหลังจะเปลี่ยนทำงานในโหมด 'ปิด' และจะอยู่ในสถานะนี้ จนกว่าโหมดดังกล่าวหยุดการทำงานไป หลังจากสิ้นสุดโหมดขนส่ง ระบบปรับอากาศด้านหลังจะยังคงอยู่ในสถานะ 'ปิด' แต่จะสามารถสั่งการทำงานได้อีกครั้งหนึ่ง

จะสามารถสั่งการทำงานหรือหยุดการทำงานของโหมดเหล่านี้ได้ โดยใช้เทเลแกรมการวิเคราะห์มาตรฐาน

ข้อสังเกตสำหรับฝ่ายบริการ :

โหมดการเติมน้ำยา

สำหรับระบบปรับอากาศด้านหลัง สามารถสั่งการทำงานของโหมดการเติมน้ำยาได้โดยใช้อินเตอร์เฟสการวิเคราะห์ ในระหว่างการทำงาน วาล์วกันกลับด้านหน้าบน IHKA และวาล์วกันกลับด้านหลังบน FKA จะเปิดออก

การปรับเทียบค่าขีดจำกัดโพเทนชิออมิเตอร์ สำหรับแผงควบคุมด้านขวาและด้านซ้าย

การสั่งงานในแบบแมนนวลของระบบปรับอากาศด้านหลัง จะเป็นการสั่งงานแยกกันระหว่างแผงควบคุมด้านซ้ายและด้านขวา เนื่องจากเฉพาะแผงควบคุมด้านขวาเท่านั้นที่เป็นแผงควบคุม ”อัจฉริยะ” จึงจำเป็นต้องทำการปรับเทียบโพเทนชิออมิเตอร์ของแผงควบคุมด้านซ้ายตามค่าขีดจำกัดที่แน่นอน

เงื่อนไขสำหรับการปรับเทียบ : เทอร์มินอล R ON , เทอร์มินอล 15 OFF

การเริ่มการการปรับเทียบ :

หลังจากเริ่มการปรับเทียบแล้ว ไฟ LED ของปุ่ม 'ปิด' (OFF) และปุ่ม MAX ของแผงควบคุมด้านซ้ายจพกะพริบ

ค่ามาตรฐานเพื่อความปลอดภัยซึ่งสูงกว่าค่าต่ำสุดหรือต่ำกว่าค่าสูงสูด จะบันทึกลงในตำแหน่งสำหรับค่าขีดจำกัดของโพเทนชิออมิเตอร์ของแผงควบคุมด้านซ้ายมือ ในหน่วยความจำ

การปรับเทียบโพเทนชิออมิเตอร์ :

หมายเหตุ : ต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่ได้หมุนปุ่มหมุนไปจนสุดจริงๆ อาจทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ (จะไม่สามารถทำการปรับเพิ่มได้)

1. หมุนปุ่มหมุนทั้งสองปุ่มไปทางซ้ายจนสุด (ค่าต่ำสุด)

2. กดปุ่ม MAX AC : เมื่อไฟ LED MAX AC หยุดกะพริบแสดงว่าได้ทำการบันทึกค่าตำแหน่งสุดทางด้านซ้ายเรียบร้อยแล้ว

ถ้าค่าที่วัดได้สูงกว่าค่าที่ใส่เข้าไปในตำแหน่งหน่วยความจำแต่ละตำแหน่งในขณะเริ่มต้น ระบบจะไม่ยอมรับค่าเหล่านี้ และไฟ LED MAX AC จะกะพริบต่อไป

3. หมุนปุ่มหมุนทั้งสองปุ่ม ไปทางขวาจนสุด (ค่าสูงสูด)

4. กดปุ่ม 'ปิด' : เมื่อไฟ LED 'ปิด' หยุดกะพริบแสดงว่าได้ทำการบันทึกค่าตำแหน่งสุดทางด้านขวาเรียบร้อยแล้ว

ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าค่าที่ใส่เข้าไปในตำแหน่งหน่วยความจำแต่ละตำแหน่งในขณะเริ่มต้น ระบบจะไม่ยอมรับค่าเหล่านี้ และไฟ LED 'ปิด' จะกะพริบต่อไป

การทำงานอ้างอิงของสเต็ปมอเตอร์ (มอเตอร์ MUX) :

สามารถสั่งการทำงานอ้างอิงของสเต็ปมอเตอร์ได้โดยใช้เครื่องเทสเตอร์การวิเคราะห์

การวิเคราะห์

แนวคิดสำหรับการวิเคราะห์ประกอบด้วยสองส่วน : การวิเคราะห์ตัวเอง ซึ่งทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ความผิดปกติในฮาร์ดแวร์โดยการใช้โปรแกรม และสร้างข้อมูลผลการการวิเคราะห์ให้กับเครื่องเทสเตอร์ผ่านทาง ระบบจัดการหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ การติดต่อระหว่างส่วนการวิเคราะห์สองส่วน ก็คือข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ตัวเอง :

การวิเคราะห์ตัวเองจะทำงาน เมื่อเทอร์มินอล 15 ON โดยสภาพต่างๆ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการวิเคราะห์ต่อไปนี้ก่อนเปิดสวิตช์ :

การวิเคราะห์ตัวเองจะทำงานหลังจากช่วงเวลาการเตรียมระบบ t = > 4 วินาที

ในระหว่างการทำงานปกติ (ก่อนเทอร์มินอล 15 OFF) รอบการวิเคราะห์อินพุตจะทำงานที่รอบระยะเวลา 4 วินาที ในกรณีของเอาต์พุต จะสามารถทำการวิเคราะห์ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยจะทำการตรวจสอบความผิดปกติของเอาต์พุตของระบบที่ทำงานอยู่เท่านั้น

ถ้าตรวจพบความผิดปกติเป็นระยะๆ จะมีการสร้างบิตข้อมูลความผิดปกติในการวิเคราะห์ในหน่วยความจำของชุดควบคุม และจะบันทึกความผิดปกติลงในหน่วยความจำของชุดควบคุม

สำหรับข้อความแสดงความผิดปกติ จะสร้างขึ้นเมื่อสภาพต่างๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการวิเคราะห์เท่านั้น

ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น อินพุตของระบบเกิดความผิดปกติ จะถูกแทนด้วยค่าแทนสำหรับอินพุตนั้นๆ แต่สำหรับในกรณีที่เกิดความผิดปกติของเอาต์พุตระบบ จะหยุดการทำงานของเอาต์พุตนั้น ในกรณีของตัวขับสำหรับเอาต์พุตสองชุด และสายสถานะหนึ่งเส้น บางกรณีเอาต์พุตจำเป็นต้องทำงานอยู่ มิฉะนั้นจะทำให้เกิดความผิดปกติของเอาต์พุตอีกตัวหนึ่ที่ต่ออยู่ด้วยกันได้

ในรอบการวิเคราะห์รอบต่อไป (การพยายามแก้ไขความผิดปกติทุก 20 วินาที) สถานะความผิดปกติของพอร์ตของระบบจะได้รับการสร้างขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น โดยปกติแล้วระบบจะพยายามทำการแก้ไขสูงสุด 15 ครั้ง หลังจากนั้น จะถือว่าเอาต์พุตนั้นเกิดความผิดปกติ และจะถูกสั่งให้ไม่ทำงานตลอดรอบการทำงานนี้ การวิเคราะห์ตัวเองจะทำงาน และจะพยายามทำการแก้ไขเอาต์พุตที่เกิดความผิดปกติแต่ละตัวเป็นจำนวน 15 ครั้งนั้น จะทำได้เมื่อเทอร์มินอล 15 OFF และ ON อีกครั้งหนึ่งเท่านั้น

ภายในเวลา 3 วินาทีหลังจากปิดสวิตช์กุญแจ (เทอร์มินอล 15) ข้อมูลความผิดปกติจะถูกส่งผ่านจากหน่วยความจำรหัสความผิดปกติเข้าไปในหน่วยความจำ และจะทำการบันทึกข้อมูลรหัสไว้ทันที

หลังจาก ”การรีเซ็ตขณะเปิดเครื่อง” (เทอร์มินอล 30) ข้อมูลในหน่วยความจำจะถูกส่งผ่านเข้าไปในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติของชุดควบคุม ในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ ข้อมูล (ตำแหน่งความผิดปกติ และประเภทของความผิดปกติ) จะได้รัยการแทนที่ และ/หรือ เปลี่ยนแปลงตามสภาพความผิดปกติในขณะนั้นๆ

หลังจากการเปลี่ยนแปลงค่าตั้งของแผงควบคุมครั้งสุดท้าย จะทำการบันทึกค่าตั้งเหล่านี้ไว้ และจะทำการบันทึกซ้ำ ... :

- ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ทุก 10 วินาที

- ในขณะที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน ทุกๆ วินาที

 

รุ่นเฉพาะประเทศ