โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ เป็นหน่วยประมวลผลส่วนกลางสำหรับสัญญาณภาพของเครื่องเล่น DVD และสำหรับอุปกรณ์ระบบนำทาง นอกจากนี้ โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ ยังช่วยให้การรับสัญญาณ TV ขณะขับขี่ดีขึ้นด้วย โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ติดตั้งพร้อมกับอุปกรณ์พิเศษ 'ชุดสร้างความบันเทิงด้านหลัง' แทนโมดูลวิดีโอ 5

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ (VM 5 ไดรฟ์)

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์มีตัวปรับหาคลื่น TV หลายตัว และมีการทำงานดังนี้

สัญญาณอินพุต : โมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟ จะรับสัญญาณต่างๆ จากแหล่งกำเนิดภาพและเสียงเพื่อใช้งานฟังก์ชั่นเหล่านี้

แหล่งกำเนิดภาพและเสียงจากภายนอก

สัญญาณ

หมายเหตุ

เครื่องเล่น DVD

CVBS

PAL 50 Hz สามารถเปลี่ยนเป็น NTSC 60 Hz ได้

ระบบนำทาง

RGB

สีแดง-เขียว-น้ำเงินที่มีการซิงโครไนซ์ที่ช่องสีเขียว

ระบบนำทางสำหรับประเทศญี่ปุ่น

RGBC

สัญญาณ RGB พร้อมสัญญาณการซิงโครไนซ์จากภายนอก

วิดีโอ AUX

CVBS

PAL / SECAM 50 Hz สามารถเปลี่ยนเป็น NSTC 60 Hz ได้ เป็นลักณะพิเศษเฉพาะตัวของ BMW

แหล่งกำเนิดภาพและเสียงภายใน

 

 

โทรทัศน์

CVBS

แปลงเป็นสัญญาณ RGB ในเครื่องถอดรหัสสี

เอาต์พุต : โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ มีเอาต์พุตสองชุด โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ สามารถส่งสัญญาณจากอุปกรณ์เครื่องเสียงตัวเดียวกันไปยังเอาต์พุตทั้งสองชุดพร้อมกัน หรือสามารถส่งสัญญาณจากอุปกรณ์เครื่องเสียงคนละตัวไปยังแต่ละเอาต์พุตได้

เครื่องเล่น DVD จะส่งสัญญาณมาตรฐาน (PAL 50 Hz, NTSC 60 Hz) พร้อมข้อมูลควบคุมผ่าน MOST บัส

สำหรับสัญญาณอินพุตของวิดีโอ AUX ความถี่มาตรฐานสำหรับ PAL และ SECAM คือ 50 Hz และสำหรับ NTSC ใช้ความถี่ 60 Hz ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นประเทศ

สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาณมาตรฐานได้โดยใช้ DISplus

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ ติดตั้งอยู่ในช่องเก็บสัมภาระด้านซ้ายใต้คอมพิวเตอร์ระบบนำทาง

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์เป็นชุดควบคุมแบบวิเคราะห์ตัวเองในเครือข่าย MOST

จอแสดงผล (CD) และตัวควบคุม

จอแสดงการควบคุม นอกจากข้อยกเว้นบางประการ จอแสดงการควบคุม (CD) รวมการควบคุมและการแสดงผลสำหรับชุดอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์เข้าไว้ด้วยกัน จอแสดงการควบคุมทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากระบบ และกำหนดคำสั่งที่ได้รับมาให้กับฟังก์ชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

สามารถแสดงผลฟังก์ชั่นทั้งหมดของโมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ผ่านสัญญาณ RGB ได้ที่จอแสดงการควบคุม

ตัวควบคุม : การสั่งงานจอแสดงการควบคุมสามารถทำได้โดยใช้ตัวควบคุมที่ติดตั้งอยู่ในที่วางแขนตรงกลางด้านหน้า

จอแสดงผลด้านหลัง (FD) พร้อมตัวควบคุมด้านหลัง (FCON)

จอแสดงผลด้านหลัง : จอแสดงผลด้านหลังประกอบด้วยแขนพับและจอ LCD จอแสดงผลด้านหลังติดตั้งอยู่กลางคอนโซลกลางพอดี และสามารถใช้งานได้กับทั้งรถยนต์พวงมาลัยซ้ายและรถยนต์พวงมาลัยขวา จอแสดงผลด้านหลังสามารถพับเข้าในตำแหน่งเก็บได้ และเมื่อต้องการใช้ถุงสกี ก็สามารถพับจอลงด้านล่างได้ ที่จอแสดงผลด้านหลัง มีโฟโตเซลติดตั้งอยู่เพื่อวัดความสว่างโดยรอบ ความสว่างของจอ LCD จะปรับให้เหมาะสมกับความสว่างโดยรอบ (สลัว)

จอแสดงผลด้านหลังสามารถแสดงผลสัญญาณภาพ DVD และสัญญาณ TV จากโมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟได้เท่านั้น (สำหรับตั้งแต่เริ่มรุ่นผลิต 03/2002)

ตัวควบคุมด้านหลัง : ตัวควบคุมด้านหลังเป็นแผงควบคุมการทำงานของฟังก์ชั่น 'ชุดสร้างความบันเทิงด้านหลัง' ที่จอแสดงผลด้านหลัง การทำงานและโครงสร้างของตัวควบคุมด้านหลังเหมือนกันกับตัวควบคุมด้านหน้าทุกประการ แต่มีฟังก์ชั่นสำหรับการใช้งานด้านหน้าและด้านหลังที่แตกต่างกัน

เสาอากาศที่กระจกด้านหลัง

ที่กระจกหลังมีเสาอากาศติดตั้งอยู่ทั้งด้านซ้ายและขวาในที่ทำความร้อนกระจกหลัง

เครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศ

มีการติดตั้งเครื่องขยายสัญญาณเสาอากาศด้านซ้ายและขวาแยกกันต่างหาก เพื่อขยายสัญญาณ TV ที่ได้รับมา เครื่องขยายสัญญาณรับไฟเลี้ยงจากโมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ผ่านสาย HF

ตัวควบคุมระบบเสียง (ASK)

ตัวควบคุมระบบเสียง (ASK) เป็นชุดควบคุมในเครือข่าย MOST ASK เป็นตัวควบคุมระบบ ASK ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณเสียงทั้งหมด

MOST บัส

MOST บัส (Media Oriented Systems Transport) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเสียง, วิดีโอ และ ระบบนำทาง ข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งการทำงานจะถูกส่งผ่านไปยังชุดควบคุมที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ข้อความ MOST บัส

ฟังก์ชั่นหลัก

การรับสัญญาณ TV

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อรับสัญญาณมาตรฐาน TV และความถี่ TV ได้ทั่วโลก ระบบ TV แบบอนาล็อก PAL, NTSC และ SECAM ไม่เหมาะสำหรับการรับสัญญาณ TV ขณะขับขี่ ทั้งนี้เนื่องจากช่องสัญญาณ TV และหลักการทำงานของระบบดังกล่าวเอง นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อช่วยให้ภาพนิ่งขณะขับขี่ และมีการนำตัวปรับหาคลื่นสามตัว ไดเวอร์ซิตี้ และระบบช่วยให้ภาพ มาใช้ในโมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์

ตัวปรับหาคลื่นสามตัว

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ ประกอบด้วยตัวปรับหาคลื่นหลักสองตัว และตัวปรับพื้นหลังหนึ่งตัว

ตัวปรับหาคลื่นหลัก : ตัวปรับหาคลื่นหลักแต่ละตัวมีจุดต่อเสาอากาศสองจุด เนื่องจากสาอากาศ TV ในรถยนต์จะมีเพียงสองเสา ดังนั้น ตัวปรับหาคลื่นหลักแต่ละตัวจึงมีจุดต่อเพียงจุดเดียว การสลับสัญญาณอินพุตที่เสาอากาศด้วยความถี่ที่เหมาะสมที่สุดอย่างรวดเร็วช่วยให้คุณภาพการรับสัญญาณดีขึ้น คุณสมบัตินี้จะช่วยให้มั่นใจว่าสามารถรับสัญญาณ TV ได้เพียงพอ ในกรณีที่ความเร็วรถ > 80 กม./ชม. และสัญญาณถูกรบกวน

ตัวปรับพื้นหลัง : ตัวปรับพื้นหลังไม่มีการต่อเสาอากาศแยกต่างหาก ตัวปรับพื้นหลังรับสัญญาณจากตัวปรับหาคลื่นหลัก และทำหน้าที่ค้นหาความถี่อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ตัวปรับพื้นหลังจะตรวจจับความถี่อื่นจากชื่อโปรแกรมที่ได้รับ (เช่น ITV) นอกจากนี้ ยังมีการอัพเดทรายการช่องที่สามารถรับสัญญาณได้โดยอัตโนมัติตลอดเวลา

ไดเวอร์ซิตี้

โมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟได้นำเทคนิคไดเวอร์ซิตี้มาใช้ในสองลักษณะ เพื่อให้เกิดคุณภาพการรับสัญญาณที่ดีที่สุด

ไดเวอร์ซิตี้ของตัวปรับหาคลื่น : ฟังก์ชั่น ”ไดเวอร์ซิตี้ของตัวปรับหาคลื่น” ที่รวมอยู่ในโมดูลวิดีโอ 5 จะเลือกตัวปรับหาคลื่นจากเสาอากาศที่สามารถรับสัญญาณได้ดีที่สุดเสมอ

ไดเวอร์ซิตี้ความถี่ : ฟังก์ชั่น ”ไดเวอร์ซิตี้ความถี่” ที่รวมอยู่ในโมดูลวิดีโอ 5 จะเลือกความถี่ที่ดีที่สุดของช่องสัญญาณที่เลือกไว้เสมอ ถ้าช่องสัญญาณที่เลือกมีหลายความถี่

ตัวปรับพื้นหลังจะทำการค้นหาอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงความถี่ของการรับสัญญาณโทรทัศน์ และอัพเดทรายการช่องในหน่วยความจำ การค้นหาความถี่อื่นตามความต้องการ สามารถทำได้สองวิธีดังนี้

ระบบสร้างเสถียรภาพให้แก่สัญญาณภาพ

มีการนำสัญญาณอิมพัลส์แนวตั้งและแนวนอนมาขยายใหม่เพื่อให้ภาพที่รับได้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ สัญญาณซิงค์ที่รวมอยู่ในสัญญาณการรับ จะถูกเลือกและประมวลในเวลาเดียวกัน จากนั้นจะถูกส่งกลับไปยังสัญญาณการรับอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพของภาพที่แสดงออกทางจอภาพยังคงมีคุณสมบัติที่ดีอย่างต่อเนื่อง แม้ในกรณีที่ไม่สามารถรับสัญญาณได้อย่างชัดเจน

การรับสัญญาณการแสดงผลตัวอักษร

โมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟมีฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นสำหรับฟังก์ชั่นการแสดงผลตัวอักษร โมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟ มีเครื่องถอดรหัสการแสดงผลตัวอักษร และหน่วยความจำสำหรับการแสดงผลตัวอักษรจำนวน 1000 หน้าติดตั้งมาด้วย

หมายเหตุ : ฟังก์ชั่นการแสดงผลตัวอักษรจะมีให้บริการในอนาคต

ระบบเสียง

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์รับสัญญาณเสียง TV ผ่านสัญญาณอินพุตเสาอากาศในระบบโมโน เสียง TV จะถูกส่งเป็นสัญญาณเอาต์พุตในระบบโมโนที่ช่องสัญญาณด้านซ้ายและขวาของ MOST บัส

จอแสดงการควบคุม

จอแสดงผลด้านหลัง

ข้อมูลที่ทำซ้ำในโมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟจะปรากฏขึ้นที่จอแสดงผลด้านหลัง และสามารถใช้ตัวควบคุมด้านหลังในการเลือกฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่แสดงบนจอแสดงผลด้านหลังได้ (กรุณาดู : ฟังก์ชั่นจอแสดงผลด้านหลัง)

การใช้งานฟังก์ชั่น TV

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ สามารถเรียกใช้งานฟังก์ชั่น TV ได้ดังนี้ :

การตั้งค่าภาพ : สามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าภาพได้กับ จอแสดงผลทั้งสองจอ :

การตั้งค่าประเทศ : จำเป็นต้องทำการตั้งค่าประเทศเพื่อให้สามารถรับช่องสัญญาณในแต่ละประเทศได้ เมื่อทำการตั้งค่าประเทศแล้ว โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์จะสลับการทำงานไปยังสัญญาณ TV มาตรฐานหรือกริดความถี่ที่เหมาะสม

ไดเวอร์ซิตี้ ON/OFF : ในกรณีของฟังก์ชั่น ”ไดเวอร์ซิตี้ที่มีการเปรียบเทียบสัญญาณภาพ” อาจมีความถี่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ความถี่ที่จริงเกิดขึ้น อันเนื่อมาจากช่องสัญญาณที่แตกต่างกันมีเนื้อหาของภาพที่คล้ายกัน (เช่น การแข่งขันฟุตบอล) ถ้าโมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์เลือกความถี่ดังกล่าวเป็นความถี่จริงเนื่องจากความผิดพลาดในการตรวจจับความถี่ ช่องสัญญาณจะถูกเปลี่ยน

หมายเหตุ : การยกเลิกการทำงานของฟังก์ชั่นไดเวอร์ซิตี้สามารถทำได้ในเมนูบริการ สัญญาณการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า จะถูกส่งไปยังโมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์ผ่าน MOST บัส

รายชื่อช่องสัญญาณ : โมดูลวิดีโอ 5 ไดร์ฟ ทำหน้าที่ประมวลผลรายช่องสัญญาณ ที่ช่องสัญญาณที่สามารถรับได้ทั้งหมดในขณะนั้นปรากฏอยู่บนจอภาพ รายชื่อช่องสัญญาณดังกล่าวจะถูกการอัพเดทตลอดเวลา เนื่องจากสามารถกำหนดชื่อแต่ละช่องสัญญาณได้ ดังนั้น รายชื่อช่องสัญญาณจะถูกเรียงตามลำดับตัวอักษร (เช่น BBC, ITV, SKY, เป็นต้น) ตามด้วยช่องที่ไม่สามารถกำหนดชื่อได้ ช่องเหล่านี้จะมีอยู่ในรายการที่มีชื่อระบุช่องตามลำดับจากน้อยไปหามาก (CH3, CH7, CH12, เป็นต้น) ถ้ามีช่องที่มีชื่อเหมือนกัน (เช่นมี ITV สามชื่อ) แสดงว่ามีความถี่อื่นให้เลือก

ถ้า ไดเวอร์ซิตี้ทำงาน จะไม่มีชื่อช่องสัญญาณซ้ำในรายการ (เช่น มี ITV เพียงชื่อเดียว) เมื่อยกเลิกฟังก์ชั่นไดเวอร์ซิตี้ ช่องสัญญาณแต่ละช่องจะแสดงผลแยกจากกัน (ปรากฏชื่อ ITV สามชื่อ) โดยสามารถเลือกช่องสัญญาณที่ต้องการได้จากรายชื่อช่องสัญญาณในจอแสดงผล

ข้อสังเกตสำหรับฝ่ายบริการ :

โมดูลวิดีโอ 5 ไดรฟ์มีหน่วยความจำแบบเขียนทับได้เพื่อใช้ในการอัพเดทซอฟท์แวร์ผ่านแฟลชคอนเนคเตอร์ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยความจำรหัสความผิดปกติสำหรับการวิเคราะห์ด้วยเช่นกัน