แหล่งจ่ายไฟ E70
แหล่งจ่ายไฟ E70
ชุดส่วนประกอบฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ช่วยทำให้มั่นใจได้ถึงแหล่งจ่ายไฟ
สำหรับระบบต่างๆ ของรถยนต์ ปัจจัยสำคัญสำหรับแหล่งจ่ายไฟ
คือ ฟังก์ชั่นซอฟท์แวร์สองฟังก์ชั่น ได้แก่ :
- ระบบควบคุมพลังงาน
- ระบบควบคุมกำลังไฟ
ระบบควบคุมพลังงานช่วยให้แน่ใจได้ว่า มีกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์สตาร์ทอยู่เพียงพอเสมอ
ระบบควบคุมพลังงาน
จะตรวจสอบรถยนต์แม้ในขณะที่เครื่องยนต์หยุดนิ่ง
ระบบควบคุมพลังงานประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งหมดในรถยนต์ซึ่งสร้าง, เก็บรักษา และใช้พลังงาน
ข้อมูลสำหรับระบบควบคุมพลังงานจะถูกส่งไปมาระหว่างชุดควบคุมจำนวนหนึ่ง
ระบบควบคุมกำลังไฟหรือระบบย่อยของ
ระบบควบคุมพลังงาน
ระบบควบคุมกำลังไฟจะถูกสั่งให้ทำงานโดยชุดควบคุมเครื่องยนต์
(DME หรือ DDE : ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล หรือชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล)
ขณะขับรถ ระบบควบคุมกำลังไฟจะทำหน้าที่ควบคุมกำลังส่งออกของอัลเทอร์เนเตอร์ รวมทั้งการชาร์จแบตเตอรี่
คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์
อุปกรณ์ต่อไปนี้สำหรับแหล่งจ่ายไฟ
มีคำอธิบายไว้ดังนี้ :
- แบตเตอรี่
- อัลเทอร์เนเตอร์
- ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
- กล่องจ่ายไฟ
- เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
- ระบบการเข้า-ออกรถ
- ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล /หรือชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล
- ระบบความปลอดภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ
- อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม
- สายแบตเตอรี่
- กล่องรีเลย์
แผนผังวงจรของระบบ
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
1
|
DME (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล) หรือ DDE (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล)
|
2
|
อัลเทอร์เนเตอร์
|
3
|
มอเตอร์สตาร์ท
|
4
|
กล่องจ่ายไฟด้านหลัง
|
5
|
กล่องรีเลย์
|
6
|
ระบบทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า (สำหรับรุ่นที่ใช้
เครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น)
|
7
|
ชุดอิเล็กทรอนิกส์กล่องต่อไฟ
(JBE) พร้อมกล่องจ่ายไฟด้านหน้า
|
8
|
เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS)
ที่ขั้วลบแบตเตอรี่
|
9
|
ขั้วบวกแบตเตอรี่
|
10
|
ระบบการเข้ารถ (CAS)
|
11
|
แผงฟิวส์
|
|
|
BSD
|
อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม
|
เทอร์มินอล 15 WUP
|
สายกระตุ้นให้กลับมาทำงาน (สั่งงานเทอร์มินอล 15)
|
K บัส
|
บอดี้บัส
|
K-CAN
|
CAN สำหรับระบบตัวถัง
|
PT-CAN
|
CAN สำหรับระบบส่งกำลัง
|
|
|
แบตเตอรี่
ขนาดของแบตเตอรี่ที่ติดตั้งรวมมาให้จะขึ้นอยู่กับ
เครื่องยนต์ที่ใช้และอุปกรณ์ของรถยนต์ หลักเกณฑ์การเลือก
ขนาดแบตเตอรี่ที่จำเป็นได้แก่ :
- คุณลักษณะของการสตาร์ทขณะเครื่องเย็น
ของเครื่องยนต์
- การใช้กระแสไฟฟ้าของรถยนต์ขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์
- ความต้องการพลังงานของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม (ระบบทำความร้อนอิสระ,
โทรศัพท์ เป็นต้น)
อัลเทอร์เนเตอร์
ขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน อัลเทอร์เนเตอร์จะสร้าง
แรงดันไฟชาร์จแบบปรับค่าได้สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่
แรงดันไฟชาร์จแบบปรับค่าได้
จะควบคุมโดยระบบควบคุมกำลังไฟ โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและกระแสไฟฟ้าจาก DME/DDE ที่เพิ่มความเร็วรอบเครื่อง
JBE : ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
JBE เป็นอินเตอร์เฟสข้อมูลส่วนกลางในรถยนต์
(เกตเวย์สำหรับบัส)
JBE เป็นส่วนประกอบหนึ่งของกล่องต่อไฟ กล่องต่อไฟเป็นชุดอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
และกล่องจ่ายไฟด้านหน้า กล่องจ่ายไฟด้านหน้าและ JBEไม่สามารถ
เปลี่ยนแยกกันได้
กล่องจ่ายไฟประกอบด้วยฟิวส์และรีเลย์ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ
แหล่งจ่ายไฟอยู่ที่รีเลย์ต่อไปนี้ :
- รีเลย์ เทอร์มินอล 15
(กล่องจ่ายไฟด้านหลัง)
- รีเลย์ เทอร์มินอล 30g สำหรับปิดชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า (กล่องจ่ายไฟด้านหลังและด้านหน้า)
- รีเลย์ เทอร์มินอล 30g-f สำหรับ
การตัดการทำงานในกรณีที่เกิดความผิดปกติ (กล่องจ่ายไฟด้านหลัง)
กล่องจ่ายไฟ
กล่องจ่ายไฟมีดังต่อไปนี้ :
- กล่องจ่ายไฟในห้องเครื่องยนต์ :
E-box
- กล่องจ่ายไฟด้านหน้าในกล่องต่อไฟ
- กล่องจ่ายไฟด้านหลัง
- แผงฟิวส์
แผงฟิวส์จำเป็นต้องเปลี่ยนออกทั้งชุดเท่านั้นไม่สามารถ
เปลี่ยนฟิวส์แต่ละอันแยกได้
แผงฟิวส์มีฟิวส์ต่างๆ
สำหรับชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ :
- วาล์วโทรนิก
- ท่อหัวฉีด (การฉีดเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล)
- ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า
- การจ่ายไฟด้านหน้าในชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
- กล่องจ่ายไฟด้านหลัง
- เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
- พัดลมไฟฟ้า (เครื่องยนต์ดีเซล 8 สูบ)
IBS : เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
IBS คือ เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะแบบกลไกอิเล็กทรอนิกส์
ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ของตัวเอง ไมโครโปรเซสเซอร์เป็นส่วนประกอบของ
โมดูลอิเล็กทรอนิกส์ โมดูลอิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่บันทึกแรงดันไฟฟ้า,
การไหลของกระแสไฟฟ้า และอุณหภูมิของแบตเตอรี่
อุปกรณ์ต่อไปนี้จะถูกติดตั้งอยู่ในโมดูลอิเล็กทรอนิกส์ :
- ตัวแบ่งแยกกระแสไฟ (ตัวต้านทาน
สำหรับการวัดกระแสไฟฟ้า)
- เซ็นเซอร์อุณหภูมิ
- ชุดประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์ออนบอร์ด
IBS จะทำการวัดค่าต่อไปนี้ที่แบตเตอรี่ตลอดเวลา
- แรงดันไฟที่ขั้ว
- กระแสไฟชาร์จ
- กระแสไฟฟ้าดิสชาร์จ
- อุณหภูมิของแบตเตอรี่
สำหรับการส่งข้อมูล IBS จะต่อกับ DME (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล) หรือ DDE (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล) ผ่านทาง BSD (อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม)
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
1
|
การวัดแรงดันไฟแบตเตอรี่ระหว่าง
ขั้วบวกแบตเตอรี่และขั้วลบแบตเตอรี่
|
2
|
การวัดอุณหภูมิแบตเตอรี่ (T)
|
3
|
ไมโครโปรเซสเซอร์ (C) ในเซ็นเซอร์
แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS)
|
4
|
ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล (DME) หรือ
ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล (DDE)
|
5
|
การวัดกระแสไฟฟ้า (A) [ทางอ้อม, ผ่านทาง
สัดส่วนแรงดันไฟตก (V) ที่การวัดค่าความต้านทาน (ตัวแบ่งแยกกระแสไฟ)]
|
6
|
ขั้วลบแบตเตอรี่
|
7
|
ขั้วบวกแบตเตอรี่
|
|
|
BSD
|
อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม (BSD)
สำหรับส่งผ่านค่าต่างๆ ไปยัง DME หรือ DDE
|
|
|
ข้อมูลการวัดนี้จะถูกตรวจสอบขณะขับรถและขณะจอดรถอยู่กับที่ :
- ขณะขับรถ :
- การคำนวณสถานะของแบตเตอรี่
ตามสถานะของการชาร์จแบตเตอรี่ (SOC : ”ระดับ
การชาร์จ”) และสภาพแบตเตอรี่ (SOH : ระดับการเก็บประจุไฟฟ้า”)
การปรับสมดุลกระแสไฟชาร์จและดิสชาร์จของแบตเตอรี่
มีการตรวจสอบ
สถานะของการชาร์จแบตเตอรี่และส่งข้อมูลดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา
- การคำนวณคุณลักษณะของกระแสไฟฟ้าเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์
เพื่อให้ทราบสภาพของแบตเตอรี่
ขณะขับรถ IBS จะส่งข้อมูลไปยังชุดควบคุมเครื่องยนต์ (DME/DDE) ผ่านอินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม (BSD) ซอฟท์แวร์ใน IBS จะทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งสัญญาณกับ
ชุดควบคุมเครื่องยนต์ในระดับที่สูงขึ้น (DME/DDE)
- ขณะจอดรถอยู่กับที่
ขณะจอดรถอยู่กับที่ ค่าที่วัดได้จะถูกตรวจสอบเป็นรอบๆ
เพื่อตรวจหาการสูญเสียพลังงาน
IBS จะถูก
ตั้งโปรแกรมให้ทำงานทุกๆ 40 วินาที เพื่ออัพเดทค่าที่วัดได้ด้วยการวัดค่าใหม่ การวัดนี้ใช้เวลาประมาณ 50 มิลลิวินาที (ms) ค่าที่วัดได้นี้
จะถูกป้อนเข้าไปที่หน่วยความจำใน IBS เพื่อบันทึกเป็นค่ากระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์
หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์อีกครั้ง DME/DDE
จะอ่านค่าของช่วงกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ ้ถ้ามีการเบี่ยงเบนออกจาก
ช่วงกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ จะมีข้อมูลเกิดขึ้นในหน่วยความจำรหัสความผิดปกติ
ของ DME/DDE
CAS : ระบบการเข้า-ออกรถ
ระบบการเข้า-ออกรถมีส่วนในการทำหน้าที่ควบคุมเทอร์มินอลด้วย (เทอร์มินอล R, เทอร์มินอล 15, เทอร์มินอล 30g)
การควบคุม
เทอร์มินอลจะส่งข้อความที่จำเป็นให้กับแหล่งจ่ายไฟ
ทั้งนี้ CAS ถูกต่อเข้ากับอุปกรณ์และชุดควบคุมต่อไปนี้ :
- ระบบการเข้า-ออกรถถูกต่อตรงเข้ากับปุ่ม START-STOP ด้วยสายเคเบิล
และต่อเข้ากับช่องเสียบรีโมทคอนโทรล
ของเซ็นเซอร์ตรวจจับข้อมูลเจ้าของรถ
ปุ่ม START-STOP
และช่องเสียบรีโมทคอนโทรลอยู่ที่ด้านข้างคอพวงมาลัย
- มอเตอร์สตาร์ทและ DME หรือ
DDE จะต่อเข้ากับ CAS ด้วย
ชุดควบคุม CAS เป็นอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับบัส
ที่ K-CAN
DME หรือ DDE : ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล /หรือชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล
DME หรือ DDE มีส่วนต่อการทำงานของแหล่งจ่ายไฟดังนี้ : ถ้าแรงดันไฟฟ้าของอัลเทอร์เนเตอร์ลดลง DME/DDE
จะเพิ่มความเร็วรอบเครื่องขึ้นตามความต้องการ ซอฟท์แวร์ในที่นี้เรียกว่า ”ระบบควบคุมกำลังไฟ”
DME/DDE เป็นอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับบัสที่ PT-CAN
(Powertrain Controller Area Network)
DME/DDE จะทำหน้าที่ประเมินสภาพแบตเตอรี่ในขณะนั้น
ซึ่งหมายความว่า DME/DDE มีผลต่อเทอร์มินอล 30g-f ด้วย
MRS : ระบบความปลอดภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ
ถ้ากระตุ้นการทำงานระบบความปลอดภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ
ชุดควบคุม MRS จะส่งข้อความไปยังชุดควบคุมอื่นๆ DME จะปิดการทำงานของปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงไฟฟ้าโดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอุบัติเหตุ เป็นต้น
อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม
อินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรมคือสายข้อมูล
ที่อยู่ระหว่างชุดควบคุมเครื่องยนต์ (DME หรือ DDE) กับอัลเทอร์เนเตอร์
สายแบตเตอรี่
สายแบตเตอรี่ 2 เส้นทำหน้าที่ต่อแบตเตอรี่เข้ากับ
ห้องเครื่องยนต์ :
- สายแบตเตอรี่เส้นหนึ่ง
จะต่อผ่านขั้วที่ช่วยในการสตาร์ทไปยัง
มอเตอร์สตาร์ทและเข้ากับอัลเทอร์เนเตอร์ สายแบตเตอรี่เส้นนี้จะถูกตรวจสอบโดย
โมดูลความปลอดภัยขณะเกิดการชน
- ส่วนสายเคเบิลอีกเส้นมีไว้สำหรับแหล่งจ่ายไฟ
และมีการต่อเข้ากับแผงฟิวส์
กล่องรีเลย์
สิ่งที่นำมาติดตั้งขึ้นอยู่กับ
รุ่นเครื่องยนต์และรุ่นประเทศ
- รีเลย์วาล์วโทรนิค
ในเครื่องยนต์เบนซิน
- รีเลย์ปั๊มอากาศเสริม (รุ่น US
ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น)
- รีเลย์สำหรับท่อหัวฉีด (เครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น)
การทำงานต่างๆ ของระบบ
การทำงานต่างๆ ของระบบต่อไปนี้สำหรับแหล่งจ่ายไฟได้อธิบายไว้ดังนี้ :
- ระบบควบคุมกำลังไฟ (”ระบบควบคุมกำลังไฟ
ขั้นสูง”)
- การทำงานฉุกเฉินเมื่อเกิดความผิดปกติของอินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม
- ระบบควบคุมพลังงาน
แหล่งจ่ายไฟสำหรับชุดควบคุม, การปิดการใช้ไฟฟ้า
ของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม และการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์
- การรับ-ส่งข้อมูลสำหรับ
แหล่งจ่ายไฟ
ระบบควบคุมกำลังไฟ
ระบบควบคุมกำลังไฟเป็นซอฟท์แวร์ที่อยู่ในชุดควบคุมเครื่องยนต์
(DME/DDE : ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล หรือชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล)
ระบบควบคุมกำลังไฟจะคำนวณค่าเป้าหมายสำหรับควบคุมแหล่งจ่ายไฟ
สำหรับรุ่น E70 จะใช้เฉพาะระบบควบคุมกำลังไฟขั้นสูง (APM) เท่านั้น
ระบบควบคุมกำลังไฟขั้นสูง
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
1
|
ระบบควบคุมกำลังไฟขั้นสูง (APM)
|
2
|
ข้อมูลแบตเตอรี่ : - กระแสไฟฟ้า - แรงดันไฟฟ้า - อุณหภูมิ
|
3
|
เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS)
|
4
|
เครื่องยนต์
|
5
|
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า
|
6
|
อัลเทอร์เนเตอร์ (G)
|
7
|
แบตเตอรี่
|
8
|
ค่าเป้าหมายที่กำหนดสำหรับแรงดันไฟชาร์จ
|
9
|
การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือการลด
การใช้กำลังไฟฟ้า
|
10
|
การเพิ่มขึ้นของความเร็วรอบเดินเบา
|
ปัจจัยหลักสำหรับ
ช่วงการทำงานที่มากขึ้นของระบบควบคุมกำลังไฟขั้นสูงอยู่ที่เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS) IBS จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของแบตเตอรี่กับระบบควบคุมกำลังไฟ การคำนวณอุณหภูมิแบตเตอรี่
โดยใช้อุณหภูมิภายนอกไม่จำเป็นอีกต่อไป
IBS สามารถวัดอุณหภูมิแบตเตอรี่ได้โดยตรง
ระบบควบคุมกำลังไฟขั้นสูงสามารถดำเนินการต่อไปนี้ได้ :
- เพิ่มความเร็วรอบเดินเบา
ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ความเร็วรอบเดินเบาจะเพิ่มขึ้นถึง 200 รอบ/นาทีทันทีที่ได้รับกำลังไฟจากแบตเตอรี่ ถึงแม้ว่าอัลเทอร์เนเตอร์จะมีการทำงานสูงสุดแล้วก็ตาม
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม
ความเร็วรอบเดินเบา เหตุผล : อัตราทดเฟืองท้ายระหว่างอัลเทอร์เนเตอร์และการเผาไหม้เครื่องยนต์
จะสูงกว่าใน
เครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งหมายความว่า อัลเทอร์เนเตอร์จะมีความเร็วสูงแม้ในขณะอยู่ที่รอบเดินเบา
กำลังส่งออกของอัลเทอร์เนเตอร์
ที่รอบเดินเบาก็สูงด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไม่จำเป็นต้อง
เพิ่มความเร็ว
- แรงดันไฟชาร์จที่เหมาะสม
แรงดันไฟฟ้าอัลเทอร์เนเตอร์จะถูกควบคุมตามอุณหภูมิแบตเตอรี่ที่คำนวณได้
อุณหภูมิแบตเตอรี่
จะคำนวณตามอุณหภูมิภายนอก ดังนั้น ค่าเป้าหมาย
สำหรับแรงดันไฟชาร์จจะคำนวณตามอุณหภูมิแบตเตอรี่ ข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านอินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรมไปยังตัวควบคุมในอัลเทอร์เนเตอร์
- การทดสอบแบตเตอรี่
- การวิเคราะห์พลังงาน
- การปิดการทำงานของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่าง หรือการลด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
ในรถยนต์ที่มี IBS ถ้าจำเป็นต้องลดหรือปิดการทำงานทั้งหมดของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า
แม้ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน จะมีเฉพาะชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่เกี่ยวกับความปลอดภัยและชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่สำคัญเท่านั้น
ที่ถูกลดลงหรือถูกปิดการทำงานทั้งหมด
ในขณะขับรถ เช่น : สัญญาณกระตุ้น
ของที่ทำความร้อนกระจกหลัง หรือสัญญาณกระตุ้นของระบบอุ่นที่นั่ง, การลด
การทำงานของมอเตอร์พัดลมปรับอากาศโดยการแบ่งการทำงานเป็นช่วงๆ เป็นต้น
สำหรับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จะมีการควบคุม
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า
การตัดการทำงานของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างหรือการลด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วยทำให้การใช้ไฟฟ้าในสภาพวิกฤติลดลง
วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่หมดไฟ
ทั้งนี้ จะมีการสั่งปิดชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใต้เงื่อนไข 2 ประการเท่านั้น คือ :
- สถานะของการชาร์จแบตเตอรี่
อยู่ในช่วงวิกฤติ
- อัลเทอร์เนเตอร์มีการทำงานจนสุดกำลัง
- การควบคุมที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า
ในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและไม่มีระบบทำความร้อนอิสระ
คอยล์ร้อนของระบบทำความร้อนจะถูกทำความร้อนเพิ่มโดยใช้
ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าตามหลักการ PTC
ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าเป็นชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้กำลังไฟค่อนข้างสูง
(มากถึง 1200 W) ัดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมการทำงานโดยระบบควบคุมกำลังไฟ นอกจากนี้ มีการนำที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าชุดอื่น (600 W)มาใช้ในบริเวณด้านหลังสำหรับรถที่มีระบบปรับอากาศด้านหลังด้วย โหลดการใช้ไฟฟ้าสูงเหล่านี้จะถูกควบคุม ดังนี้ :
- ชุดควบคุม IHKA ทำหน้าที่ควบคุมที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า (ผ่าน LIN บัส)
และชุดควบคุม FKA จะควบคุมที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า
ในบริเวณด้านหลัง (โดยใช้สัญญาณโมดูเลตตามความกว้างพัลส์)
- DDE ทำหน้าที่ควบคุมกำลังส่งออกไฟฟ้าสูงสุด
ของที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้า (สัญญาณในข้อความ CAN)
กำลังส่งออกสูงสุดของที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์อัลเทอร์เนเตอร์ ดังนี้ :
- การใช้งานอัลเทอร์เนเตอร์ถึง 70 % : ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าได้รับกำลังไฟฟ้าเต็มที่
- การใช้งานอัลเทอร์เนเตอร์อยู่ระหว่าง 70 % ถึง
80 %: ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าจะคงรักษาระดับกำลังส่งออกไว้ แต่จะไม่เพิ่มขึ้น
- การใช้งานอัลเทอร์เนเตอร์ถึง 80 % :
ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าต้องลดกำลังส่งออกลง
อย่างต่อเนื่องจนเหลือ 0 %.
- ที่ทำความร้อนเสริมแบบไฟฟ้าจะควบคุมความร้อนที่ปล่อยออกมา
ตามข้อกำหนดของ DDE ในการตรวจจับการทำความร้อน
ระบบควบคุมพลังงาน
ระบบควบคุมพลังงานมีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุม
การใช้พลังงานในรถ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่รวมอยู่ในหนึ่งวงจร
จะทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุม
ระบบควบคุมพลังงานจะเชื่อมโยงฟังก์ชั่นการทำงานหรือสัญญาณ
และเส้นกราฟลักษณะการทำงานเพื่อสร้างและส่งสัญญาณควบคุม
ในเอกสารนี้ ได้อธิบายฟังก์ชั่นการทำงานต่อไปนี้ไว้ดังนี้ :
- การควบคุมเทอร์มินอล
- การรับ-ส่งข้อมูลในระบบควบคุมพลังงาน
- การจ่ายไฟขณะจอดรถอยู่กับที่
- การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์
การควบคุมเทอร์มินอล
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชุดจะเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟผ่านทางเทอร์มินอล 30g
หรือเทอร์มินอล 30g-f
ุอย่างไรก็ตาม ยังคงมีชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ได้รับไฟจ่ายโดยตรง
จากเทอร์มินอล 30 เช่น ระบบสัญญาณกันขโมย
ซึ่งต้องทำงานขณะที่สวิตช์กุญแจอยู่ที่ OFF ด้วย
การรับ-ส่งข้อมูลในระบบควบคุมพลังงาน
ขณะเครื่องยนต์หยุดนิ่ง ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างจะปิดการทำงานผ่านทางเทอร์มินอล 30g ดังนี้ : CAS (ระบบการเข้า-ออกรถ) จะปิดการทำงานรีเลย์เทอร์มินอล 30g
(ควบคุมตามระยะเวลา)
การจ่ายไฟขณะจอดรถอยู่กับที่
ในการจ่ายไฟชุดอุปกรณ์ไฟฟ้า
จะมีการอัพเดทเทอร์มินอลต่อไปนี้ :
- เทอร์มินอล 30 :
ตลอดเวลา +
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จะยังคงต่อเข้ากับ
เทอร์มินอล 30 โดยตรง
- เทอร์มินอล R
CAS จะสั่งงานเทอร์มินอล R
- เทอร์มินอล 15
CAS จะสั่งงานเทอร์มินอล 15
- เทอร์มินอล 30g : มีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา +
การตัดการทำงานตามระยะเวลา :
รีเลย์เทอร์มินอล 30g ยังคงอยู่เสมอ
รีเลย์เทอร์มินอล 30g
จะปิดการทำงานชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ประมาณ 30 นาที หลังจากเทอร์มินอล R OFF
ถ้ามีการติดตั้งโทรศัพท์ในรถ ระยะเวลาทำงานหลังจากดับเครื่อง
จะเพิ่มขึ้นเป็น 60 นาที รีเลย์เทอร์มินอล 30g จะถูกสั่งให้ทำงานโดยระบบการเข้า-ออกรถ (CAS)
- เทอร์มินอล 30g-f :
การปิดการทำงานในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น :
ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น รีเลย์เทอร์มินอล 30g-f
จะปิดการทำงานของชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ รีเลย์เทอร์มินอล 30g-f
จะถูกควบคุมโดยชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ (JBE) มีหน้าที่ตรวจสอบ
กระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ในขณะจอดรถอยู่กับที่ โดยสามารถตรวจจับความผิดปกติได้ดังต่อไปนี้ :
- การกระตุ้นให้กลับมาทำงานในระบบบัสที่ไม่ถูกต้อง
- ชุดควบคุมที่ทำให้ระบบบัสทำงานตลอดเวลา (ยับยั้ง ”การเข้าสู่โหมดสแตนบายด์”)
เงื่อนไขสำหรับการเปิดและปิดรีเลย์เทอร์มินอล 30g-f มีดังนี้ :
- เงื่อนไขการตัดการทำงาน :
- การได้รับข้อความ ”สัญญาณ
ปิด”
หลังจากผ่านไป 5 นาที รีเลย์เทอร์มินอล 30g-f จะปิดการทำงาน
- สถานะของแบตเตอรี่จะถูกอ่านค่าตลอดเวลา และนำไปประเมินผลในชุดควบคุมเครื่องยนต์ ถ้าแบตเตอรี่รถยนต์
ไม่สามารถทำการสตาร์ทได้ รีเลย์จะ
ปิดการทำงานด้วย
- หลังจากปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g โดยไม่มีเงื่อนไขการเริ่มทำงาน จะสามารถทำการรับ-ส่งข้อมูลบนบัสได้อีก 10 นาที
- หลังจากปิดการทำงานเทอร์มินอล 30g โดยไม่มีเงื่อนไขการเริ่มทำงาน รถยนต์จะถูก 'กระตุ้นให้กลับมาทำงาน' ได้อีก 20 ครั้ง
รีเลย์เทอร์มินอล 30g-f เป็นรีเลย์แบบไบสเตเบิล (ฺBi-Stable) โหมดของสวิตช์แต่ละโหมดจะได้รับการคงไว้ แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าก็ตาม ภายใต้
สภาพปกติ รีเลย์จะทำงานเสมอ ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น รีเลย์จะปิดการทำงาน
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่
- เงื่อนไขการเริ่มทำงาน :
ขณะรีเลย์เทอร์มินอล 30g-f ปิดการทำงาน จะสามารถสั่งให้เปิดทำงานอีกครั้งได้เมื่อเงื่อนไขการเริ่มทำงานเป็นไปตามที่กำหนดเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการเริ่มทำงานของรีเลย์เทอร์มินอล 30g-f ได้แก่ :
- ปลดล็อครถยนต์
- เปิดฝากระโปรงหลัง / ฝากระโปรงหน้า หรือประตู
- เทอร์มินอล R
ON
การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์
การตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์มีความจำเป็น
ด้วยเหตุผลหลากหลาย
- การรักษาประสิทธิภาพในการสตาร์ท
ของแบตเตอรี่ :
ระบบควบคุมพลังงานจะส่งคำสั่งให้ตัดการทำงาน
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม เมื่อแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ
ที่จะทำการสตาร์ท
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมจะ
หยุดทำงานโดยไม่คำนึงถึงสถานะเทอร์มินอล
และจะเข้าสู่ช่วงกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์หลังจากผ่านไป 5 นาที
- การตัดโหลด
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างอาจทำงาน ถึงแม้ว่าการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์ของระบบควบคุมพลังงานจะทำงานอยู่ก็ตาม
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าจะปิดการทำงานตามเงื่อนไขที่ต่างกัน และสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ :
- ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับฟังก์ชั่นอัตโนมัติ
- ที่ทำความร้อนกระจกหลัง (ตัวไล่ฝ้า)
- ระบบอุ่นที่นั่ง
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับฟังก์ชั่นอัตโนมัติจะปิดการทำงานโดยอัตโนมัติหลังจากที่ดับเครื่องยนต์ โดยจะสามารถสั่งให้ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับฟังก์ชั่นอัตโนมัติที่ปิดการทำงานกลับมาทำงานอีกครั้งได้หลังจากที่สตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่อีกครั้งเท่านั้น
- ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริม
ที่กฎหมายกำหนด
หลังจากดับเครื่องยนต์แล้ว ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมที่กฎหมายกำหนดต้องยังคงทำงานเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมเหล่านี้จะไม่ปิดการทำงานแม้ในขณะที่แบตเตอรี่ถึงขีดจำกัดการสตาร์ท
- ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบอยู่กับที่
- ระบบทำความร้อนอิสระ
- ระบบระบายอากาศอิสระ
- อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ
(จอแสดงผล,
เทอร์มินอล 30g, บริการ Telematic)
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมตามรายการสามารถเปิดทำงานหลังจากดับเครื่องยนต์ได้ อย่างไรก็ตาม ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมจะปิดการทำงานเองเมื่อแบตเตอรี่ถึงขีดจำกัดการสตาร์ท DME/DDE จะสั่งตัดการทำงานโดยใช้ข้อความ CAN
- ชุดอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาทำงานหลังจากดับเครื่องเนื่องจากองค์ประกอบที่มีอยู่ในระบบ
ชุดอุปกรณ์ที่มีระยะเวลาทำงานหลังจากดับเครื่องเนื่องจากองค์ประกอบที่มีอยู่ในระบบ
สามารถที่จะคงฟังก์ชั่นการทำงานไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากดับเครื่องยนต์
การรับ-ส่งข้อมูลสำหรับ
แหล่งจ่ายไฟ
CAS (ระบบการเข้า-ออกรถ) จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลการควบคุมเทอร์มินอล
ดังนี้ :
- เทอร์มินอล R ON หรือ OFF
- เทอร์มินอล 15 ON หรือ OFF
- เป็นต้น
CAS (ระบบการเข้า-ออกรถ) จะสั่งงาน
รีเลย์สำหรับเทอร์มินอลต่อไปนี้ :
- เทอร์มินอล 15
- เทอร์มินอล 30g
JBE (ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ) ทำหน้าที่สั่งงาน
รีเลย์สำหรับเทอร์มินอลต่อไปนี้ :
ชุดควบคุมที่เทอร์มินอลเหล่านี้จะได้รับ
แรงดันไฟฟ้า และจะ ”ถูกกระตุ้นให้กลับมาทำงาน”
ทั้งนี้
จะมีการสั่งงานระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของรถยนต์
ชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าจะได้รับไฟจ่ายส่วนใหญ่ผ่านทางเทอร์มินอล 30g และเทอร์มินอล 30g-f
ุอย่างไรก็ตาม ยังคงมีชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าบางอย่างที่ได้รับไฟจ่ายโดยตรง
จากเทอร์มินอล 30
เช่น ระบบสัญญาณกันขโมย
ซึ่งต้องทำงานขณะที่สวิตช์กุญแจอยู่ที่ OFF ด้วย
ถ้ากระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ในสถานะเดินเบาของรถยนต์ (ตั้งแต่ 68 นาที หลังจากเทอร์มินอล R OFF) เกินค่า 80 มิลลิแอมป์ (mA) (สามารถตั้งค่าได้ที่โรงงาน) จะมีข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติบันทึกอยู่ใน DME/DDE และข้อความเช็ค-คอนโทรล
จะปรากฏขึ้นต่อผู้ใช้รถ (การดิสชาร์จแบตเตอรี่ในสถานะเดินเบาจะเพิ่มขึ้น)
หากสงสัยว่ามีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ควรทำการวัดกระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์อย่างเคร่งครัด
การทำงานฉุกเฉินเมื่อเกิดความผิดปกติของอินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรม
ถ้าอินเตอร์เฟสข้อมูลบิตอนุกรมระหว่างชุดควบคุมเครื่องยนต์
และอัลเทอร์เนเตอร์ถูกขัดจังหวะการทำงาน แรงดันไฟฟ้าของอัลเทอร์เนเตอร์จะถูกควบคุมให้อยู่ในระดับคงที่ที่
14.3 โวลท์
ข้อสังเกตสำหรับฝ่ายบริการ :
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปมีดังนี้ :
- การชาร์จแบตเตอรี่โดยใช้กระแสไฟต่ำ
- การป้องกันเซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
- การเปลี่ยนแบตเตอรี่
- อัลเทอร์เนเตอร์
การชาร์จแบตเตอรี่โดยใช้กระแสไฟต่ำ
หมายเหตุ ! ห้ามต่อเครื่องชาร์จกระแสไฟต่ำเข้ากับที่จุดบุหรี่
ที่จุดบุหรี่จะได้รับแรงดันไฟจ่ายผ่านทางรีเลย์มาจากกล่องจ่ายไฟในกล่องต่อไฟ หลังจากเทอร์มินอล 15 OFF รีเลย์นี้จะไม่มีไฟจ่ายเหลืออยู่
ซึ่งหมายความว่า เครื่องชาร์จกระแสไฟต่ำที่ต่ออยู่ที่ที่จุดบุหรี่จะตัดออกจากแบตเตอรี่ ดังนั้น ให้ชาร์จแบตเตอรี่ผ่านเทอร์มินอลที่ช่วยในการสตาร์ทเท่านั้น วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่รถสามารถตรวจสอบการจ่ายไฟได้
การป้องกันเซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ
ข้อควรระวัง ! ให้ระวังความเสียหาย ถ้ามีแรงตึงทางกล
- ห้ามต่อจุดต่อใดๆ เพิ่มเติม
เข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่
- ห้ามดัดแปลงแก้ไขสายกราวด์
สายกราวด์
สามารถทนความร้อนได้ด้วย
- ห้ามทำการเชื่อมต่อระหว่าง IBS (เซ็นเซอร์แบตเตอรี่
อัจฉริยะ) กับสกรูของเซ็นเซอร์
- ขณะถอดส่วนขั้วออกจากเทอร์มินอลแบตเตอรี่
ห้ามออกแรงดึง :
- ห้ามดึงที่สายกราวด์
- ห้ามใช้เครื่องมือใดๆ งัดส่วนขั้วใต้ IBS ออก
- ห้ามใช้ปลั๊กของ IBS เป็นตัวงัด
- ใช้ประแจปอนด์และ
ตั้งค่าแรงบิดในการขันตามคำแนะนำการซ่อม
- ห้ามคลายหรือขันสกรูเซ็นเซอร์ (สกรูทอกซ์)
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสถูกระหว่าง IBS กับกราวด์
การเปลี่ยนแบตเตอรี่
ข้อควรระวัง ! ขณะเปลี่ยนแบตเตอรี่ ให้ระวัง IBS และสายเคเบิลชำรุดเสียหาย
ขณะเปลี่ยนแบตเตอรี่ IBS (เซ็นเซอร์แบตเตอรี่
อัจฉริยะ) และสายเคเบิลอาจได้รับความเสียหายจากแรงตึงทางกล
ขณะเปลี่ยนแบตเตอรี่ ให้ปฏิบัติดังนี้ :
- ปฏิบัติตามคำแนะนำการซ่อมเสมอ
- หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแรงตึงทางกลของเซ็นเซอร์แบตเตอรี่
ที่ติดตั้งรวมอยู่
หมายเหตุ ! ให้สั่งงานฟังก์ชั่นบริการ ”ลงทะเบียนการเปลี่ยนแบตเตอรี่” ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่
ให้ใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาด (ความจุ) ที่ติดตั้งเป็นมาตรฐานของรุ่นในการเปลี่ยนแบตเตอรี่
ขนาดของแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถจะได้รับการให้รหัสไว้ในระบบการเข้า-ออกรถ (CAS) และในชุดอิเล็กทรอนิกส์เครื่องยนต์ (DME/DDE)
- ถ้าติดตั้งแบตเตอรี่
ที่มีขนาดความจุต่างออกไป ให้ทำการให้รหัส CAS ใหม่ โดยให้สั่งงานการติดตั้งเพิ่ม ”แบตเตอรี่” โดยใช้
Progman
- ให้ลบข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติโดยดูข้อมูลการเปลี่ยนแบตเตอรี่ในชุดควบคุมเครื่องยนต์
อัลเทอร์เนเตอร์
อัลเทอร์เนเตอร์รุ่นที่ติดตั้งจะขึ้นอยู่กับ
เครื่องยนต์ที่ใช้และอุปกรณ์รถยนต์
คำแนะนำการวิเคราะห์
การวิเคราะห์พลังงาน
อาการผิดปกติที่เกิดจากแบตเตอรี่ไม่มีไฟหรือปัญหา
ในระบบไฟฟ้ารถยนต์อาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง ในกรณีส่วนใหญ่
สาเหตุไม่ได้อยู่ที่แบตเตอรี่ ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแบตเตอรี่จึงเป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสมเพียงบางกรณีเท่านั้น
ดังนั้น จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ต้นเหตุของความผิดปกติ
อย่างเป็นระบบแทน
ความผิดปกติ
ไม่ค่อยเกิดขึ้นอีก เมื่อนำรถเข้าศูนย์บริการ นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมข้อมูลที่บันทึกไว้ในรถยนต์จึงเป็นพื้นฐาน
ของการวิเคราะห์ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของแบตเตอรี่ รวมทั้งกระบวนการทำงานในระบบ
บัสต่างๆ จะถูกบันทึกไว้ในชุดควบคุม
ระบบการวิเคราะห์ของ BMW สามารถเรียกข้อมูลนี้และทำการประเมินผลได้ ระบบการวิเคราะห์ของ BMW มีโมดูลทดสอบสำหรับในกรณีนี้ โมดูลทดสอบสำหรับการวิเคราะห์พลังงาน
จะอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจากชุดควบคุม
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
ดัชนี
|
คำอธิบาย
|
1
|
ระบบเครือข่ายของรถยนต์ที่มีชุดควบคุมต่างๆ
|
2
|
ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ
(JBE)
|
3
|
ระบบการวิเคราะห์ของ BMW
|
4
|
DME (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล) หรือ DDE (ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องดีเซลแบบดิจิตอล)
|
5
|
เซ็นเซอร์แบตเตอรี่อัจฉริยะ (IBS)
ที่ขั้วลบแบตเตอรี่
|
|
|
ข้อมูลต่อไปนี้จะแสดงขึ้น :
- ข้อมูลที่แน่ชัด
เมื่อสันนิษฐานได้ว่ามีความผิดปกติ จะมีข้อมูลเกิดขึ้น
- ข้อมูลมาตรฐาน
ข้อมูลนี้
สามารถแสดงขึ้นได้เสมอ
ระบบพลังงานตรวจพบความผิดปกติต่อไปนี้ :
- การทำงานผิดปกติ
- ความผิดปกติในรถยนต์
- การทำงานผิดปกติ
- มีการเปิดไฟข้าง, ไฟจอด หรือไฟเตือนฉุกเฉินนานเกินไปขณะที่รถจอดอยู่
- มีการเปิดสวิตช์เทอร์มินอล R หรือเทอร์มินอล 15 ทิ้งไว้นานเกินไปขณะที่ดับเครื่องยนต์อยู่
- ช่วงเวลาตรวจสอบสิทธิผู้ใช้รถของรถยนต์นานเกินไป
- มีการขับขี่ได้ในระยะทางสั้นๆ บ่อยๆ ขณะเปิดชุดอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง
- ความผิดปกติในรถยนต์
- แบตเตอรี่เสื่อม
- อัลเทอร์เนเตอร์ชำรุดเสียหาย
- กระแสไฟฟ้าขณะไม่ใช้งานอุปกรณ์มากเกินไป, บางครั้งมีกระแสไฟฟ้ามากกว่า 80 มิลลิแอมป์
(mA) ขณะที่ระบบบัสไม่ทำงาน
- รถยนต์ไม่เข้าโหมด ”สแตนด์บาย” รถยนต์
ไม่ถึงสถานะเดินเบา แต่ระบบบัสยังคงทำงาน
- รถยนต์ยังคงทำงานอยู่
หมายเหตุสำหรับการให้รหัส / การตั้งโปรแกรม
ข้อมูลของแบตเตอรี่จะได้รับการให้รหัสในระบบการเข้า-ออกรถ (CAS) ทั้งนี้ สามารถใช้ระบบการวิเคราะห์ของ BMW เพื่ออ่านข้อมูลดังกล่าวได้
เอกสารนี้อาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการพิมพ์หรือความผิดพลาดอื่นๆ ได้ ข้อมูลทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า