ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้ายแบบควบคุมด้วยไฟฟ้าจะมีอยู่ใน E70 ตั้งแต่ 10/07 เป็นต้นไป โดยจะนำระบบขับเคลื่อนด้วยแกนหมุนมาใช้เป็นครั้งแรก

ฝากระโปรงหลังส่วนบนจะสามารถเปิดและปิดได้แบบอัตโนมัติโดยใช้ปุ่มกด ฝากระโปรงหลังส่วนล่างยังต้องใช้วิธีการเปิดแบบแมนนวลอยู่

มุมการเปิดของฝากระโปรงหลังสามารถปรับตั้งได้ในเมนูจอแสดงข้อมูลส่วนกลางโดยใช้ปุ่มควบคุม ซึ่งจะมีขั้นตอนการปรับทั้งหมด 5 ขั้นตอน ในกรณีนี้ ฝากระโปรงหลังจะเลื่อนขึ้นไปยังมุมที่ได้ปรับตั้งเอาไว้เท่านั้น

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

อุปกรณ์ต่อไปนี้ได้อธิบายไว้สำหรับระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย :

ตัวขับแกนหมุน

ตัวขับแกนหมุนจะติดตั้งอยู่ในสปริงอัดแก๊สที่ด้านซ้ายและขวาของฝากระโปรงหลัง ตัวขับแกนหมุนประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้ :

GR_FB6107060

ดัชนี

คำอธิบาย

ดัชนี

คำอธิบาย

1

ชุดสปริง

2

แกนหมุน

3

เฟืองแบบขั้น

4

มอเตอร์ตัวขับแกนหมุน

5

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์

 

 

แผนผังวงจรของระบบ

GR_FB6107057

ดัชนี

คำอธิบาย

ดัชนี

คำอธิบาย

1

ระบบการเข้ารถ (CAS)

2

ุปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายในแผงสวิตช์ที่คอนโซลกลาง

3

ระบบทำความร้อนและปรับอากาศอัตโนมัติรวม (IHKA)

4

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย (HKL)

5

มอเตอร์ตัวขับแกนหมุน, ด้านขวา

6

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์, ด้านขวา

7

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์, ด้านขวา

8

แผงจ่ายไฟด้านหลัง

9

รีเลย์ระบบปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ (SCA)

10

จุดต่อเข้ากับชุดควบคุมกล่องต่อไฟ

11

สวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลัง

12

มอเตอร์สำหรับตัวล็อคในฝากระโปรงหลังส่วนบน

13

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย, ฝากระโปรงหลังด้านนอก

14

หน้าสัมผัสตัวขับของระบบปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ

15

มอเตอร์ระบบปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติ, ฝากระโปรงหลัง

16

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย, ฝากระโปรงหลังด้านใน

17

ไฟภายในรถสำหรับปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายบนฝากระโปรงหลัง

18

ไมโครสวิตช์, ฝากระโปรงหลังส่วนล่าง

19

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์, ด้านซ้าย

20

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์, ด้านซ้าย

21

มอเตอร์ตัวขับแกนหมุน, ด้านซ้าย

22

ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรล

23

เซ็นเซอร์แบบฮอลล์, ด้านซ้าย

 

 


ชุดควบคุม

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย (HKL)

GR_FB6107058

ดัชนี

คำอธิบาย

ดัชนี

คำอธิบาย

1

ชุดควบคุมการยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย

 

 

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย (HKL) ติดตั้งอยู่ในช่องเก็บสัมภาระที่ด้านขวาบนที่ยึดอุปกรณ์ HKL จะทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบฟังก์ชั่นการสั่งงานของฝากระโปรงหลังแบบอัตโนมัติ

โลจิกการควบคุมจะต่ออยู่กับเทอร์มินอล 30g นอกจากนี้ HKL จะต่ออยู่กับเทอร์มินอล 30 ด้วย สำหรับกระแสไฟฟ้าโหลดของตัวขับแกนหมุน

ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้ายจะทำงานที่กระแสไฟระหว่าง 9 โวลท์และ 16 โวลท์ หากกระแสไฟไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว ระบบจะไม่ทำงานอีกต่อไป

ระบบการเข้ารถ (CAS)

ระบบการเข้า-ออกรถ (CAS) จะรับสัญญาณจากรีโมทคอนโทรลหรือเซ็นเซอร์ตรวจจับ จากนั้นจึงทำการตรวจเช็คสัญญาณดังกล่าว ถ้าการตรวจเช็ค (การยืนยันข้อมูลเจ้าของรถถูกต้อง) ประสบความสำเร็จ CAS จะสั่งปลดล็อคฝากระโปรงหลัง

ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ (JBE)

ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะทำหน้าที่ปลดล็อคฝากระโปรงหลัง ปลั๊กของชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะต่ออยู่กับชุดควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าด้านหน้า

ตัวควบคุม

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย, ฝากระโปรงหลังด้านนอก

สวิตช์ของปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายจะต่อลงดิน ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาจากปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะส่งสัญญาณข้อมูลสถานะของปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายผ่าน K-CAN ไปที่ HKL

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย, ฝากระโปรงหลังด้านใน

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายด้านในต่อแบบขนานอยู่กับปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายด้านนอกที่ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟ ด้วยเหตุนี้ ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะไม่จำแนกระหว่างปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายทั้งสองปุ่ม

รีโมทคอนโทรลปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้าย

สัญญาณคลื่นวิทยุของรีโมทคอนโทรลจะรับผ่านมาทางเสาอากาศกระจกหลัง ตัวรับสัญญาณรีโมทคอนโทรลที่อยู่ในโมดูลเสาอากาศไดเวอร์ซิตี้จะส่งต่อสัญญาณผ่าน K-CAN ไปที่ระบบการเข้า-ออกรถ ระบบการเข้า-ออกรถมีหน้าที่รับผิดชอบส่วนกลางสำหรับการทำงานของระบบเซ็นทรัลล็อค เซ็นเซอร์ตรวจจับที่ใช้ภายในรถยนต์ที่มีระบบการเข้ารถแบบอัตโนมัติจะมีความสามารถในการใช้งานเช่นเดียวกับรีโมทคอนโทรล

ุปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายในแผงสวิตช์ที่คอนโซลกลาง

ปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายจะมีค่าความต้านทานที่ให้รหัสไว้ สถานะของปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายจะได้รับมาจากชุดควบคุมของระบบปรับอากาศ ชุดควบคุมของระบบปรับอากาศจะส่งข้อมูลสถานะผ่าน K-CAN

หน้าสัมผัส

สวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลัง

เมื่อปิดฝากระโปรงหลัง สวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลังจะเปลี่ยนไปเชื่อมต่อกับสายดิน ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟมีหน้าที่ประเมินสถานะของสวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลัง รวมทั้งทำให้สวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลังอยู่ในสถานะพร้อมใช้งาน

ไมโครสวิตช์, ฝากระโปรงหลังส่วนล่าง

GR_FB6107059

ดัชนี

คำอธิบาย

ดัชนี

คำอธิบาย

1

ไมโครสวิตช์, ฝากระโปรงหลังส่วนล่าง

 

 

หน้าสัมผัสของฝากระโปรงหลังส่วนล่างได้รับการออกแบบมาโดยมีลักษณะเป็นไมโครสวิตช์ และจะเปลี่ยนไปเชื่อมต่อกับสายดิน การประเมินสถานะของไมโครสวิตช์จะดำเนินการโดย HKL ถ้าฝากระโปรงหลังส่วนล่างปิดอยู่อย่างไม่ถูกต้อง จะทำให้ไม่สามารถสั่งงานฝากระโปรงหลังแบบอัตโนมัติได้ ระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้ายจะทำให้เกิดข้อความเช็ค-คอนโทรลขึ้น และจะส่งข้อความดังกล่าวผ่านมาทาง K-CAN

การทำงานต่างๆ ของระบบ

การทำงานต่างๆ ของระบบต่อไปนี้ได้อธิบายไว้สำหรับระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย :

การเปิดและปิดแบบอัตโนมัติ

การสั่งงานที่ปุ่มใดปุ่มหนึ่งของปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายจะส่งผลให้ฝากระโปรงหลังเปิดหรือปิดโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายที่อยู่ในแผงสวิตช์ที่คอนโซลกลาง โดยปุ่มดังกล่าวมีไว้สำหรับใช้ทำการเปิดแบบอัตโนมัติเท่านั้น

หลังจากที่มีการปลดออกโดย CAS แล้ว ชุดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกล่องต่อไฟจะปลดล็อคฝากระโปรงหลัง ก่อนอื่น ตัวขับของระบบปิดแบบผ่อนแรงกระแทกอัตโนมัติจะได้รับการสั่งงานเพื่อช่วยผ่อนแรงให้ฝากระโปรงหลัง จากนั้น ตัวล็อคของช่องเก็บสัมภาระจะถูกสั่งงาน

สถานะของสวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลังจะเปลี่ยนจากปิดกลายเป็นเปิด และจะมีการสั่งงานตัวขับแกนหมุนเพื่อทำขั้นตอนการเปิด

ฝากระโปรงหลังจะเปิดออกจนสุด หรือจะเลื่อนออกไปจนถึงมุมการเปิดที่ปรับตั้งไว้ ถ้ามีปัจจัยข้อใดข้อหนึ่งตรงกับเงื่อนไขการหยุดทำงาน (ดูที่ 'เงื่อนไขการหยุดทำงาน') ในระหว่างที่ช่องเก็บสัมภาระกำลังเคลื่อนที่ จะส่งผลให้การเคลื่อนที่ของช่องเก็บสัมภาระหยุดลง

กดปุ่มฝากระโปรงหลังในระหว่างที่การเลื่อนเปิดหยุดลง

ฟังก์ชั่น ”การเริ่มทำงานแบบนุ่มนวล” หรือ ”การหยุดทำงานแบบนุ่มนวล” จะรวมอยู่ใน HKL ซึ่งหมายความว่า ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่ฝากระโปรงหลังจะเลื่อนถึงตำแหน่งสุด การเคลื่อนที่ของฝากระโปรงหลังจะเป็นไปอย่างนุ่มนวลจนกระทั่งถึงตำแหน่งสุด โดยความเร็วในการเลื่อนปิดหรือเปิดจะลดลง (ข้อยกเว้น : ไม่มีฟังก์ชั่นการหยุดทำงานแบบนุ่มนวลขณะที่ปิด) ขั้นตอนการทำงานดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความกว้างพัลส์ของแรงดันไฟในการสั่งงาน

ภายในรถยนต์ที่มีระบบการเข้ารถแบบอัตโนมัติ สามารถเปิดฝากระโปรงหลังได้แม้ว่ารถยนต์จะล็อคอยู่ เมื่อกดปุ่มฝากระโปรงหลัง / ประตูท้ายด้านนอก ฝากระโปรงหลังจะเปิดออกโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับที่เข้ากันกับรถยนต์ โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับส่วนด้านหลังรถมากที่สุด

การสั่งงานฝากระโปรงหลังแบบอัตโนมัติไม่สามารถทำได้ในระหว่างที่กำลังมีการขับขี่รถ จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อรถจอดอยู่กับที่เท่านั้น

ทันทีที่ฝากระโปรงหลังเปิดออกบางส่วน จะสามารถใช้มือเลื่อนฝากระโปรงหลังไปยัง ”เปิด” หรือ ”ปิด” ได้

การตรวจจับตำแหน่ง

มอเตอร์จะติดตั้งรวมอยู่กับตัวขับแกนหมุนแต่ละตัว เซ็นเซอร์แบบฮอลล์สองตัวจะติดตั้งอยู่ในมอเตอร์ โดยเซ็นเซอร์ทั้งสองตัวจะอยู่ในลักษณะทำมุมต่อกัน ซึ่งทำให้สามารถตรวจจับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ได้ นอกจากนั้น ระยะและมุมการเปิดฝากระโปรงหลังสามารถตรวจพบได้โดยใช้อิมพัลส์เซ็นเซอร์แบบฮอลล์ อิมพัลส์เซ็นเซอร์แบบฮอลล์จะถูกนำมาใช้ เช่น เพื่อปรับมุมการเปิดผ่านจอแสดงข้อมูลส่วนกลาง

การตรวจจับการติดขัด

การตรวจจับการติดขัดจะส่งผลต่อการเปิดและปิดฝากระโปรงหลัง เมื่อเกิดการติดขัดขึ้นในระหว่างที่ช่องเก็บสัมภาระเลื่อนเปิดจะส่งผลให้ช่องเก็บสัมภาระหยุดเคลื่อนที่ในทันที ถ้าช่องเก็บสัมภาระติดขัดขณะเลื่อนปิด HKL จะสั่งงานตัวขับแกนหมุนชั่วขณะในทิศทางตรงกันข้าม (= ถอยหลัง) ถ้าฝากระโปรงหลังยังคงติดขัดอยู่ ตัวขับแกนหมุนจะไม่ทำงานอีกต่อไป

การติดขัดจะถูกตรวจพบในขณะที่ไม่ได้รับอิมพัลส์เซ็นเซอร์แบบฮอลล์ หรือเมื่อกระแสไฟฟ้ามอเตอร์เพิ่มสูงขึ้น

ระบบป้องกันการทำงานซ้ำ

ระบบป้องกันการทำงานซ้ำถูกติดตั้งรวมอยู่ใน HKL เพื่อป้องกันไม่ให้มอเตอร์เกิดการโอเวอร์ฮีท เวลาการทำงานของมอเตอร์จะเพิ่มขึ้นสำหรับระบบป้องกันการทำงานซ้ำ ในกรณีที่เวลาทำงานรวมเกินกว่า 2 นาที (ขีดจำกัดสูงสุด) จะไม่สามารถเริ่มขั้นตอนการทำงานใหม่ได้ ขั้นตอนการทำงานที่ดำเนินการไปแล้วจะเสร็จสมบูรณ์ทุกครั้ง หลังผ่านช่วงระบายความร้อน 6 นาทีไปแล้ว จะสามารถสั่งงานมอเตอร์ให้ทำงานได้อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลา 2 นาที

เงื่อนไขการหยุดทำงานสำหรับการเคลื่อนที่ของฝากระโปรงหลัง

เพื่อป้องกันไม่ให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย ห้ามสั่งงานฝากระโปรงหลังในหลายๆ สถานการณ์

เงื่อนไขการหยุดทำงานจะแสดงไว้ที่ด้านล่าง :

เงื่อนไขการหยุดทำงาน

คำอธิบาย / หมายเหตุ

ความเร็วในการขับขี่สูงสุด > 3 กม./ชม.

ข้อยกเว้น : คำสั่งปิดเสร็จสมบูรณ์ สัญญาณระดับความเร็วที่ส่งมาจากแผงหน้าปัดผ่าน K-CAN

อุณหภูมิภายนอก < - 30 °C และ +80 °C

สัญญาณของอุณหภูมิภายนอกที่ส่งมาจากแผงหน้าปัดผ่าน K-CAN

แรงดันไฟจ่ายออนบอร์ด <9 โวลท์ จนถึง 16 โวลท์>

 

ฝากระโปรงหลังส่วนล่างไม่เลื่อนปิด

การยกเลิกการเคลื่อนที่ของฝากระโปรงหลังอย่างต่อเนื่อง, การหยุดสั่งงานในตำแหน่งสุดของฝากระโปรงหลัง ยังสามารถทำการเปิดได้

สตาร์ทเครื่องยนต์ (สถานะ ”เทอร์มินอล 50 On”)

สัญญาณที่ส่งมาจาก CAS ผ่าน K-CAN การยกเลิกการเคลื่อนที่ของฝากระโปรงหลังอย่างต่อเนื่อง, การหยุดสั่งงานในตำแหน่งสุดของฝากระโปรงหลัง

ในกรณีที่ระดับความเร็วหรือสัญญาณอุณหภูมิไม่ถูกต้อง จะไม่สามารถสั่งให้ฝากระโปรงหลังเลื่อนได้

ข้อสังเกตสำหรับฝ่ายบริการ :

การเปลี่ยนตัวขับแกนหมุน

ต้องเปลี่ยนตัวขับแกนหมุนที่ผิดปกติทั้งชุด

เทอร์มินอล 30g ต้องหยุดทำงาน ในระหว่างทำการเปลี่ยนตัวขับแกนหมุน มิฉะนั้น จะมีการสร้างข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติขึ้น และทำให้ไม่สามารถสั่งงานฝากระโปรงหลังแบบอัตโนมัติได้

การเปลี่ยนชุดควบคุมระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้าย

หลังจากที่เปลี่ยนชุดควบคุมระบบยกฝากระโปรงหลัง/ประตูท้ายหรือตัวขับแกนหมุนแล้ว จะต้องทำการรับรู้และกำหนดค่าให้กับตำแหน่งสุดด้านบนซ้ำอีกครั้ง ซึ่งทำได้โดยสั่งงานให้ฝากระโปรงหลังเลื่อนไปยังตำแหน่งสุดด้านบน

สั่งให้ฝากระโปรงหลังหยุดทำงาน จากนั้น แก้ไขอิมพัลส์เซ็นเซอร์แบบฮอลล์ของตัวขับแกนหมุนโดยทำเครื่องหมายตำแหน่งสูงสุดของมุมการเปิดฝากระโปรงหลังขึ้นมา ค่าของอิมพัลส์เซ็นเซอร์แบบฮอลล์ทั้งหมด ประมาณ 5 % จะถูกลบออกจากตำแหน่งนี้ ตำแหน่งดังกล่าวจะใช้เป็นมุมการเปิดในอนาคตสำหรับฝากระโปรงหลัง หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า 'การหยุดทำงานแบบนุ่มนวล'

ฟังก์ชั่นการหยุดทำงานแบบนุ่มนวลจะช่วยป้องกันไม่ให้ฝากระโปรงหลังเปิดออกไปจนถึงตำแหน่งสุด ซึ่งอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้

ตำแหน่งสุดด้านล่างสามารถตรวจพบได้โดยการเปลี่ยนแปลงของสวิตช์หน้าสัมผัสฝากระโปรงหลังของตัวล็อคช่องเก็บสัมภาระจากเปิดไปเป็นปิด

รุ่นเฉพาะแต่ละประเทศ

รุ่น US

ช่องเก็บสัมภาระจะเริ่มเคลื่อนที่ก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปุ่มฝากระโปรงหลังแล้วเท่านั้น

ไม่สามารถปิดฝากระโปรงหลังโดยใช้รีโมทคอนโทรลได้

อาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการพิมพ์หรือความผิดพลาดอื่นๆ ได้ ข้อมูลทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า