วาล์วระบายไอน้ำมัน จะช่วยในกระบวนการรีเจนเนอร์เรชั่นห้องดักไอน้ำมัน (AKF) โดยใช้อากาศที่ระบายออก อากาศที่ระบายออกจากห้องดักไอน้ำมันจะเต็มไปด้วยไฮโดรคาร์บอน (HC) ขึ้นอยู่กับระดับการชาร์จของคาร์บอน (HC) และจะป้อนเข้าสู่ภายในเครื่องยนต์เพื่อการเผาไหม้
การเกิดไฮโดรคาร์บอนในถังน้ำมันเชื้อเพลิงมักจะขึ้นอยู่กับ :
- น้ำมันเชื้อเพลิงและอุณหภูมิบรรยากาศ
- ความดันอากาศ
- ระดับน้ำมันเชื้อเพลิงภายในถังน้ำมัน
วาล์วระบายไอน้ำมันจะปิด เมื่ออยู่ในขั้นตอนที่ไม่มีอากาศไหล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไอน้ำมันจาก AKF เข้าไปในท่อร่วมไอดี ในขณะที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน
หากไม่คำนึงถึงสภาพมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์แล้ว รถยนต์จะปล่อยไฮโดรคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้ออกมาเป็นจำนวนมาก การปล่อนไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้ อาจเกิดจากการรั่วไหลในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบบระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง หรืออาจเนื่องมาจากการกักเก็บไอของห้องดักไอน้ำมัน (ห้องดักไอน้ำมันมีการรั่วซึม)
ด้วยเหตุนี้ ข้อกำหนดเพิ่มเติมของ OBD II จึงเกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย รวมทั้งได้กำหนดระดับไอน้ำมันที่ไหลออกมาที่ยอมรับได้สูงสุดใหม่แล้ว นอกจากนี้รอยรั่วที่ใหญ่กว่า 0.5 มม. ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงและระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง ยังต้องตรวจพบได้โดย DME อีกด้วย
เพื่อให้การดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ ได้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้แล้ว :
- การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไปยังท่อทางของหัวฉีดผ่านทางกรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีตัวควบคุมแรงดันรวมอยู่
- น้ำมันเชื้อเพลิงที่ควบคุมโดยตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงจะไหลเข้าตัวกรอง ผ่านท่อไหลกลับไปยังถังน้ำมันเชื้อเพลิง
- ท่อฉีดเชื้อเพลิงที่ดัดแปลงแล้วจะป้องกันการเกิดฟองไอน้ำมัน และไม่จำเป็นต้องมีท่อน้ำมันไหลกลับที่ไปยังถังน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไป
- การรับรู้อุปกรณ์ช่วยวิเคราะห์การรั่วของถังน้ำมันเชื้อเพลิงในชุดควบคุมเครื่องยนต์ โดยใช้ปั๊มความดันที่ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ (ปั๊มใบพัด) และวาล์วเปลี่ยนทางที่มีขนาดรอยรั่วอ้างอิง (0.5 ม.ม.) > โมดูลการวิเคราะห์การรั่วของถังน้ำมันเชื้อเพลิง (DMTL)