สายไฟแบตเตอรี่ได้รับการติดตั้งพร้อมชีลด์ป้องกันการเหนี่ยวนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นฉนวนกั้นระหว่างตัวถังรถและสายไฟแบตเตอรี่ การชีลด์ประกอบด้วยตาข่ายโลหะที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีสายไฟยื่นออกมาจากปลายแต่ละด้านของการชีลด์ กล่าวคือที่ขั้วนิรภัยสำหรับแบตเตอรี่ในช่องเก็บสัมภาระและที่ขั้วสายดินแบตเตอรี่ในห้องเครื่องยนต์ สายต่อทั้งสองจะถูกต่อเข้ากับชุดควบคุมถุงลมนิรภัย
ขั้วแบตเตอรี่นิรภัยติดตั้งอยู่ในสายขั้วบวกจากอัลเทอร์เนเตอร์โดยอยู่ที่ด้านหน้าของขั้วบวกแบตเตอรี่ ปลายสายเคเบิลจะอยู่ในปลั๊กเทเปอร์ ถ้าการตรวจสอบสายแบตเตอรี่พบว่ามีการลัดวงจร จะมีการกระตุ้นการทำงานของขั้วนิรภัยสำหรับแบตเตอรี่ ซึ่งทำให้อัลเทอร์เนเตอร์และปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหยุดทำงาน
นอกจากนี้จะยกเลิกการสั่งงานวงจรโหลดของมอเตอร์สตาร์ทด้วย และจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้อีกต่อไป
สายอัลเทอร์เนเตอร์ที่ขาดจะสามารถต่อเข้าใหม่ได้อีกครั้งเป็นการชั่วคราว เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ แต่ในกรณีนี้ฟังก์ชั่นตัวตัดไฟแบตเตอรี่จะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป เนื่องจากตัวจุดชนวนได้ถูกจุดชนวนแล้ว ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนตัวจุดชนวนและสายอัลเทอร์เนเตอร์
การทำงานของสายแบตเตอรี่จะมีการอ่านข้อมูลเข้าผ่านทางตัวต้านทานทั้งสองที่มีขนาดเดียวกันที่ด้านอินพุตของชุดควบคุมถุงลมนิรภัย ถ้าสายแบตเตอรี่เป็นปกติ จะมีการวัดการจ่ายไฟครึ่งหนึ่ง (U_V = แรงดันไฟแบตเตอรี่) ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ จะได้ค่าการวัดที่แตกต่างไป ตามที่แสดงไว้ในตารางต่อไปนี้
|
ค่าที่วัดได้ของตัวต้านทาน 1 |
ค่าที่วัดได้ของตัวต้านทาน 2 |
สถานะ |
|
|
สายไฟแบตเตอรี่ : ปกติ |
ประมาณ U_V / 2 |
ประมาณ U_V / 2 |
สายไฟแบตเตอรี่ : ขาด |
ประมาณ 0 โวลท์ |
ประมาณ U_V |
สายไฟแบตเตอรี่ : ลัดวงจรลงดิน |
ประมาณ 0 โวลท์ |
ประมาณ 0 โวลท์ |
สายไฟแบตเตอรี่ : ลัดวงจรกับขั้วบวก |
ประมาณ U_V |
ประมาณ U_V |
ในกรณีไม่ทำงาน หรือเกิดการลัดวงจร จะมีการบันทึกข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติที่เกี่ยวข้องไว้ในชุดควบคุมถุงลมนิรภัย
หมายเหตุ :
ในกรณีที่เกิดการลัดวงจร จะต้องตัดสายไฟแบตเตอรี่ด้วยขั้วแบตเตอรี่นิรภัยเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าฉนวนด้านนอกของสายแบตเตอรี่ชำำรุด แต่การชีลด์ไม่ได้เชื่อมต่อกับสายดิน อาจทำให้เกิดกรณีต่อไปนี้ได้ :
ความชื้น (เช่น ฝน) สามารถลดแรงดันไฟฟ้าลงทีละน้อย ตรวจพบการลัดวงจรลงดิน แต่ขั้วแบตเตอรี่นิรภัยไม่ทำงาน ตำแหน่งความผิดปกติต่อไปนี้จะถูกตั้งค่าไว้ในข้อมูลหน่วยความจำรหัสความผิดปกติของชุดควบคุมถุงลมนิรภัย ”สายแบตเตอรี่ (การตรวจสอบการชีลด์) : ผลการทดสอบไม่สอดคล้องกัน” ไฟเตือนถุงลมนิรภัยในแผงหน้าปัดจะทำงานด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ :
การทำงานกับถุงลมนิรภัยทั้งหมด จะต้องทำเมื่อถอดสายแบตเตอรี่ออกแล้วเท่านั้น !หากจะทำการต่อหรือถอดสายชุดควบคุมถุงลมนิรภัย, เซ็นเซอร์ต่างๆ และแก๊สเจนเนอเรเตอร์ตัวใดก็ตาม จะต้องถอดสายแบตเตอรี่ออกก่อน !ชุดควบคุมถุงลมนิรภัยประกอบด้วยข้อมูลเฉพาะสำหรับรถยนต์แต่ละคัน และต้องให้รหัสก่อนใช้งาน !ห้ามทำการถอดและติดตั้งในรถยนต์คันอื่น !