ปั๊มน้ำมันเครื่องจะต้องสามารถจ่ายน้ำมันได้ในทุกสภาพการทำงาน เครื่องยนต์ใหม่จึงมีการสั่งงานปั๊มน้ำมันเครื่องที่ควบคุมตามแผนผังลักษณะการทำงาน (ไม่ได้ควบคุมปริมาณการไหล) ปั๊มนี้จะจ่ายน้ำมันเท่าที่จำเป็นสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์แต่ละช่วงเท่านั้น ผลลัพธ์ที่เป็นข้อดีมีดังนี้ :
DME จะสั่งให้ชุดควบคุมความดันน้ำมันทำงานแบบไฟฟ้าผ่านทางวาล์วควบคุมความดันน้ำมันแบบอิเล็กโทรไฮดรอลิก (โซลินอยด์วาล์ว) ส่วนเซ็นเซอร์ความดันน้ำมันก็จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ
การทำงานแบบไฟฟ้าช่วยทำให้การกระจายกำลังของปั๊มน้ำมันเครื่องเป็นไปด้วยดีมากยิ่งขึ้น
อุปกรณ์ต่อไปนี้ได้อธิบายไว้ :
ปั๊มแบบห้องกระเพื่อมที่คุ้นเคยกันดีจะถูกใช้เป็นปั๊มน้ำมันเครื่อง แกนปั๊มสำหรับการจ่ายน้ำมันจะเป็นแบบหนีศูนย์อยู่ในตัวเรือนหุ้ม และใบพัดจะถูกเหวี่ยงออกไปในแนวรัศมีในระหว่างที่หมุน ซึ่งหมายความว่า ห้องใบพัดต่างๆ จะทำให้เกิดปริมาตรที่แตกต่างกัน เมื่อปริมาตรเพิ่มขึ้น น้ำมันจะถูกดูดเข้ามา ในขณะที่ถ้าปริมาตรลดลง น้ำมันจะถูกอัดเข้าไปในท่อน้ำมัน
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
แกนปั๊ม |
2 |
แกนหมุน |
3 |
ใบพัด |
4 |
โรเตอร์ |
5 |
ลูกตุ้มแกว่ง |
6 |
ลูกสูบควบคุม, ส่วนรองรับลูกตุ้ม |
7 |
สปริงควบคุม |
8 |
สปริงอัด |
9 |
ลูกสูบควบคุม |
|
|
ปั๊มน้ำมันเครื่องจะถูกขับโดยโซ่เพลาข้อเหวี่ยง
วาล์วควบคุมความดันน้ำมันเป็นโซลินอยด์วาล์วชนิดหนึ่ง (วาล์ว 3/2) โซลินอยด์วาล์วนี้ติดตั้งอยู่ในห้องเพลาข้อเหวี่ยงที่ด้านข้าง ชุดอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิตอล (DME) จะสั่งงานวาล์วควบคุมความดันน้ำมันโดยการใช้สัญญาณโมดูเลตพัลส์
ทำให้การสั่งงานปั๊มน้ำมันเครื่องเป็นไปอย่างแม่นยำมากขึ้นกว่า การสั่งงานโดยใช้หลักปริมาณการไหล
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ห้องเพลาข้อเหวี่ยง |
2 |
วาล์วควบคุมความดันน้ำมัน |
เซ็นเซอร์ความดันน้ำมันถูกยึดเข้ากับกรองน้ำมันโดยตรง เซ็นเซอร์ความดันน้ำมันจะวัดความดันที่เกิดขึ้นจากปั๊มน้ำมันเครื่อง ความดันน้ำมันจะถูกวัดโดยสัมพันธ์กับความดันบรรยากาศ
สัญญาณจะถูกส่งไปยังชุดควบคุม DME
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
เซ็นเซอร์ความดันน้ำมัน |
2 |
กรองน้ำมัน |
3 |
ตัวแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำมันและน้ำ |
|
|
ในเอกสารนี้มีคำอธิบายเกี่ยวกับการทำงานต่างๆ ของระบบต่อไปนี้ :
ความดันน้ำมันจะควบคุมปริมาณน้ำมันที่จ่ายในท่อตามความจำเป็นด้วย
อย่างไรก็ตาม DME จะทำหน้าที่ควบคุมชุดควบคุมความดันน้ำมันตามแผนผังลักษณะการทำงาน ทั้งนี้ จะใช้ตัวแปรอินพุตดังต่อไปนี้ :
รายละเอียดโดยรวมต่อไปนี้แสดงถึงไดอะแกรมของวงจรควบคุมดังนี้ :
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
เครื่องยนต์ (เช่น N53) |
2 |
สัญญาณจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ที่เครื่องยนต์ |
3 |
เซ็นเซอร์ความดันน้ำมัน |
4 |
สัญญาณจากเซ็นเซอร์ความดันน้ำมัน |
5 |
ชุดควบคุม DME |
6 |
การสั่งงานวาล์วควบคุมความดันน้ำมัน (วาล์ว 3/2) |
7 |
กรองน้ำมัน |
8 |
การไล่ลมวาล์วควบคุมความดันน้ำมัน |
9 |
วาล์วควบคุมความดันน้ำมัน |
10 |
ท่อควบคุมของวาล์วควบคุมความดันน้ำมัน |
11 |
อ่างน้ำมันเครื่อง |
12 |
ปั๊มน้ำมันเครื่อง |
DME จะสั่งงานวาล์วควบคุมความดันน้ำมันโดยใช้สัญญาณโมดูเลตตามความกว้างพัลส์ จากนั้น วาล์วควบคุมความดันน้ำมันจะกำหนดความดันน้ำมันที่จะใช้สำหรับลูกสูบควบคุมของปั๊มน้ำมันเครื่อง
ปั๊มน้ำมันเครื่องที่ควบคุมการทำงานตามแผนผังลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์จะมีการควบคุมปั๊มน้ำมันเครื่องที่แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่า หลักการนี้ช่วยส่งเสริมให้ลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงและลดระดับ CO2 เพิ่มขึ้นด้วย
ความดันน้ำมันที่ต้องการจะลดลงผ่านช่วงความเร็วรอบเครื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับการควบคุมปริมาณการไหลแล้ว ปั๊มน้ำมันเครื่องต้องเกิดเอาต์พุตของปั๊มน้อยลง
ไดอะแกรมแสดงความดันน้ำมันตามโหลดที่อุณหภูมิน้ำมันเครื่อง 100 °C
ดัชนี |
คำอธิบาย |
ดัชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
เส้นกราฟ 20 % |
2 |
เส้นกราฟ 25 % |
3 |
เส้นกราฟ 50 % |
4 |
เส้นกราฟ 75 % |
5 |
เส้นกราฟ 100 % (โหลดสูงสุด) |
6 |
เส้นกราฟของการควบคุมปริมาณการไหล เช่น N52 |
หมายเหตุ : ชุดควบคุมความดันน้ำมันไม่ทำงาน
ถ้าชุดควบคุมความดันน้ำมันตามแผนผังลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ไม่ทำงาน การจ่ายน้ำมันจะถูกควบคุมตามปริมาณการไหล (การทำงานฉุกเฉิน) ซึ่งจะทำให้ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 % ขึ้นอยู่กับรุ่นเครื่องยนต์
อาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากการพิมพ์หรือความผิดพลาดอื่นๆ ได้ ข้อมูลทางเทคนิคอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า