ตั้งแต่ 09/06 จะนำเทอร์โบชาร์จแบบหลายระดับซึ่งรู้จักกันดีจาก M57TUTOP มาใช้งานกับ M57TU2 ด้วย โดยเริ่มใช้เป็นครั้งแรกใน E90/91 และ E83
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
กระปุกสุญญากาศระดับต่ำสำหรับลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
2 |
ลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
3 |
เทอร์ไบน์ขนาดเล็ก |
4 |
คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก |
5 |
แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
6 |
คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ |
7 |
กระปุกสุญญากาศระดับต่ำ, วาล์วประตูไอเสีย |
8 |
เทอร์ไบน์ขนาดใหญ่ |
กลุ่มเทอร์โบชาร์จเจอร์, มองจากด้านขวา
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก |
2 |
เทอร์ไบน์ขนาดเล็ก |
3 |
กระปุกสุญญากาศระดับต่ำสำหรับลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
4 |
เทอร์ไบน์ขนาดใหญ่ |
5 |
วาล์วประตูไอเสีย |
6 |
กระปุกสุญญากาศระดับต่ำ, วาล์วประตูไอเสีย |
7 |
คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่ |
8 |
แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
9 |
กระปุกสุญญากาศระดับต่ำสำหรับแผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
|
|
ขนาดของเทอร์โบชาร์จเจอร์ที่ใช้ มีความสำคัญมากต่อการทำงานของเครื่องยนต์ (กำลังส่งออกและการตอบสนอง) เทอร์โบชาร์จเจอร์ขนาดเล็กมีการตอบสนองที่ดีมาก เนื่องจากใช้แก๊สไอเสียเพียงเล็กน้อยในการขับเคลื่อนการทำงาน ขณะเร่งความเร็ว ความดันเสริมจะถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็ว แสดงว่าเครื่องยนต์มีการตอบสนองที่ช้าเล็กน้อยมาก
ลักษณะของเทอร์โบชาร์จเจอร์ขนาดใหญ่จะต่างออกไป ขณะเร่งความเร็ว ต้องใช้แก๊สไอเสียปริมาณมากในการขับเคลื่อนการทำงาน ดังนั้น เทอร์โบชาร์จเจอร์และรวมไปถึงเครื่องยนต์ด้วย จึงมีการตอบสนองอย่างช้าๆ ในขณะเร่งความเร็ว อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการกำลังส่งออกสูง ซึ่งก็คือ ต้องการความดันอัดและปริมาณอากาศที่ไหลผ่านสูง เทอร์โบชาร์จเจอร์ขนาดใหญ่จะมีประโยชน์มากเนื่องจากมีขนาดหน้าตัดกว้าง
สำหรับเทอร์โบชาร์จแบบสองระดับ จะติดตั้งเทอร์โบชาร์จเจอร์ทั้งสองแบบเรียงกัน ในขั้นแรก แก๊สไอเสียจะขับเทอร์ไบน์ขนาดเล็กก่อน จากนั้น จึงขับเทอร์ไบน์ขนาดใหญ่ ที่ด้านไอดี คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่จะอัดอากาศบริสุทธิ์ก่อน จากนั้น คอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กจะทำเช่นเดียวกัน
ลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์จะควบคุมการกระจายการไหลของไอเสียระหว่างเทอร์ไบน์ชุดใหญ่และชุดเล็ก ลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์จะได้รับการปรับแบบนิวเมติกโดยกระบอกไดอะแฟรม ลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์สามารถปรับตั้งได้ คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกจะใช้สุญญากาศระดับต่ำกับกระบอกไดอะแฟรม
แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ช่วยให้เกิดการบายพาสของคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กที่ด้านไอดี แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์จะได้รับการปรับแบบนิวเมติกโดยกระบอกไดอะแฟรม แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์จะเปิดออกจนสุดหรือปิดจนสนิท วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าจะใช้สุญญากาศระดับต่ำกับกระบอกไดอะแฟรม
เมื่อถึงระดับปกติ วาล์วประตูไอเสียจะเปิดออกเพื่อไม่ให้มีความดันเสริมสูงเกิน ิแก๊สไอเสียส่วนหนึ่งจะถูกจ่ายผ่านวาล์วประตูไอเสียไปยังเทอร์ไบน์ขนาดใหญ่ วาล์วประตูไอเสียจะได้รับการปรับแบบนิวเมติกโดยกระบอกไดอะแฟรม วาล์วประตูไอเสียสามารถปรับตั้งได้ คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกจะใช้สุญญากาศระดับต่ำกับกระบอกไดอะแฟรม
DDE ทำให้การสั่งงานดีขึ้น ชุดควบคุม DDE จะสั่งงานแอ๊คทูเอเตอร์ที่กล่าวถึงข้างต้นในการชาร์จแบบสองระดับ
ในการกำหนดค่าเทอร์โบชาร์จเจอร์ ต้องผสมผสานระหว่างการตอบสนองที่ดีและกำลังส่งออกสูงเสมอ เทอร์โบชาร์จเจอร์ที่มีรูปร่างเทอร์ไบน์แบบปรับได้ที่ BMW ใช้อยู่ จะลดข้อเสียของเทอร์โบชาร์จแบบระดับเดียวลง แม้ว่าจะไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมดก็ตาม ในการใช้เทอร์โบชาร์จแบบหลายระดับ เทอร์โบชาร์จเจอร์ทั้งสองตัวจะทำงานร่วมกัน ทำให้ได้การทำงานที่ดีที่สุด
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับลิ้นอากาศหมุนวน |
2 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับการหมุนเวียนไอเสีย |
3 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับวาล์วประตูไอเสีย |
4 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
5 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับแผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
6 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับแท่นเครื่องยนต์ |
ตัวจ่ายสุญญากาศ, มองจากด้านซ้าย
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ทิศทางการขับขี่ |
2 |
ชุดจ่ายสุญญากาศสำหรับลิ้นอากาศหมุนวน |
3 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, แท่นเครื่องยนต์ |
4 |
ชุดจ่ายสุญญากาศสำหรับการหมุนเวียนไอเสีย |
5 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์และลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
6 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, วาล์วประตูไอเสีย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
2 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, ลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
3 |
ตัวจ่ายสุญญากาศ |
4 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์และลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
5 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, วาล์วประตูไอเสีย |
6 |
สายสั่งงาน, วาล์วประตูไอเสีย |
7 |
ถังเก็บสุญญากาศ |
8 |
ชุดจ่ายสุญญากาศ, แผงบายพาสคอมเพรสเซอร์และลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
9 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับวาล์วประตูไอเสีย |
10 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับลิ้นอากาศควบคุมเทอร์ไบน์ |
11 |
สายสั่งงานสำหรับแผงควบคุมเทอร์ไบน์ |
12 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับแผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
13 |
สายสั่งงานสำหรับแผงบายพาสคอมเพรสเซอร์ |
|
|
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
ดรรชนี |
คำอธิบาย |
---|---|---|---|
1 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับลิ้นอากาศหมุนวน |
2 |
ชุดจ่ายสุญญากาศสำหรับหม้อลมเบรก |
3 |
ชุดจ่ายสุญญากาศสำหรับการหมุนเวียนไอเสีย |
4 |
สายสั่งงานสำหรับการหมุนเวียนไอเสีย |
5 |
คอนเวอร์เตอร์ความดันอิเล็กโทรนิวแมติกสำหรับการหมุนเวียนไอเสีย |
6 |
วาล์วเปลี่ยนทางไฟฟ้าสำหรับแท่นเครื่องยนต์ |
7 |
สายสั่งงานสำหรับแท่นเครื่องยนต์ |
8 |
ชุดจ่ายสุญญากาศสำหรับลิ้นอากาศหมุนวน |