ระบบควบคุมการกันสะเทือนแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบต่อเนื่อง (EDC-K)

ระบบ EDC-K จะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผิวถนน, น้ำหนักบรรทุกของรถ และลักษณะการขับขี่ ซึ่งชุดควบคุมจะปรับแรงสำหรับลดการสั่นสะเทือนของโช้คอัพตามพารามิเตอร์เหล่านั้น แรงสำหรับลดการสั่นสะเทือนเป็นแบบปรับได้อิสระ ซึ่งแตกต่างจากระบบก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ คนขับยังสามารถเลือกการตั้งค่าแบบนิ่มนวลหรือแบบสปอร์ตได้ด้วย สำหรับรถ E65 คนขับสามารถเลือกตั้งค่าตามต้องการได้โดยใช้ Ergocommander

คำอธิบายโดยย่อเกี่ยวกับอุปกรณ์

ชุดควบคุม

ชุดควบคุมจะมีไมโครโปรเซสเซอร์ในการสั่งการทำงานฟังก์ชั่นต่างๆ แหล่งจ่ายไฟของชุดควบคุมได้แก่ระบบไฟฟ้าของรถยนต์ (เทอร์มินอล 30) โดยจ่ายผ่านรีเลย์ปลดโหลดที่มีการป้องกันการสลับขั้วแบบรวมในตัว ถ้าแรงดันไฟจ่ายลดลงต่ำกว่า 9 โวลท์ ระบบ EDC จะปิดการทำงานลง ตำแหน่งติดตั้งชุดควบคุมนี้ จะอยู่บนโครงย่อยด้านหลังกล่องเก็บของ

เซ็นเซอร์อัตราเร่ง

ระบบ EDC มีเซ็นเซอร์อัตราเร่งตามแนวตั้งสามตัว โดยจะอยู่ที่จุดยึดส่วนบนของสตรัทกันสะเทือนด้านหน้าซ้ายและขวา และจุดยึดส่วนบนของสตรัทกันสะเทือนด้านหลังขวา เซ็นเซอร์เหล่านี้จะวัดอัตราเร่งแนวตั้งของตัวถังรถ เซ็นเซอร์อัตราเร่งจะใช้กระแสไฟฟ้า 5 โวลท์

เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว

ระบบขะใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวในการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงมุมบังคับเลี้ยว เซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวจะติดตั้งอยู่บนศูนย์ควบคุมคอพวงมาลัย

โช้คอัพแบบปรับได้อิสระ

โช้คอัพแก๊สแบบท่อคู่จะติดตั้งอยู่บนชุดกันสะเทือนด้านหน้าและด้านหลัง โช้คอัพที่ใช้กับระบบ EDC เป็นโช้คอัพที่มีการบันทึกแผนผังลักษณะการทำงานไว้ ซึ่งแรงสำหรับลดการสั่นสะเทือนจะไม่ได้กำหนดไว้ตายตัวเหมือนกับก่อนหน้านี้ โดยจะมีวาล์วควบคุมรวมอยู่ในลูกสูบของโช้คอัพแต่ละตัว เมื่อชุดกันสะเทือนเคลื่อนขึ้นลง แก๊สจะไหลเข้าออกผ่านวาล์ว วาล์วควบคุมจะทำให้ความดันด้านบนและด้านล่างลูกสูบแตกต่างกัน ความแตกต่างของความดันนี้จะทำให้แรงที่กระทำต่อก้านสูบเปลี่ยนแปลงไป กระแสไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวาล์วควบคุมจะถูกจำกัดไว้ที่ 2 แอมแปร์ นอกจากวาล์วควบคุมแล้ว ยังมีวาล์วฐาน (base valve) รวมอยู่ในโช้คอัพด้วย วาล์วนี้ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้การเปลี่ยนแปลงความดันเป็นไปอย่างรวดเร็วเกินไป

ชุดอินเตอร์เฟส CAN

ศูนย์ควบคุมคอพวงมาลัย (SZL) จะเป็นตัวกำหนดมุมบังคับเลี้ยว และจะส่งข้อมูลผ่านทาง CAN บัส ชุดควบคุม DSC จะส่งสัญญาณความเร็วล้อสำหรับสองล้อหน้าไปที่ CAN บัส และชุดควบคุม EDC ก็ยังรับสัญญาณแบบอนาล็อกที่ส่งตรงมาโดยชุดควบคุม DSC

การเลือกโปรแกรม

คนขับสามารถเลือกโปรแกรมได้สองแบบ คือแบบคอมฟอร์ท หรือแบบสปอร์ต โดยอาจเลือกโปรแกรมบนพวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่น หรือโดยใช้ Ergocommander ก็ได้ ระบบกันสะเทือนจะแข็งกว่าถ้าเลือกแบบ ”สปอร์ต” และจะนิ่มนวลกว่าถ้าเลือกแบบ ”คอมฟอร์ท”

การทำงานหลัก

การทำงานของระบบ EDC-K

ระบบ EDC-K เป็นระบบโช้คอัพแบบปรับได้ที่ควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์ ระบบ EDC-K ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ไฮดรอลิก และกลไก โดยใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับลักษณะการขับขี่ และลักษณะผิวถนน และชุดควบคุมจะทำการปรับโช้คอัพตามข้อมูลที่วัดได้ การกระทำดังนี้ จะช่วยขจัดการสั่นสะเทือนของล้อและตัวถังในสถานการณ์ต่างๆได้ นอกจากนี้ คนขับยังสามารถเลือกระหว่างโปรแกรมคอมฟอร์ทและสปอร์ตด้วยตัวเองได้อีกด้วย เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ ระบบ EDC-K จะเริ่มอยู่ในโหมดคอมฟอร์ทเสมอ เมื่อรถยนต์หยุดอยู่กับที่ จะไม่มีการจ่ายไฟให้กับวาล์วของโช้คอัพ วาล์วเหล่านี้จะได้รับไฟจ่ายเมื่อรถยนต์แล่นด้วยความเร็วประมาณ 5 กม./ชม. ขึ้นไป

ในกรณีที่เกิดความผิดปกติขึ้น ระบบจะปิดการทำงาน และไม่มีการจ่ายไฟให้กับวาล์วของโช้คอัพ ในกรณีนี้ จะรู้สึกได้ว่าระบบกันสะเทือนจะแข็งมาก แต่อย่างไรก็ตาม จะยังสามารถขับรถยนต์ได้อย่างปลอดภัย ความผิดพลาดของวาล์ว, เซ็นเซอร์, วงจรไฟฟ้า และชุดควบคุมนั้น เป็นความผิดพลาดของระบบซึ่งสามารถตรวจจับได้ ทันทีที่ตรวจพบความผิดพลาด จะมีการบันทึกความผิดพลาดนี้ไปตลอดการเดินทาง เมื่อตรวจพบความผิดปกติของเซ็นเซอร์ จะส่งผลให้มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าค่าคงที่ให้กับชุดเอาต์พุตของวาล์ว (แรงสำหรับลดการสั่นสะเทือนปานกลาง) หรือระบบทั้งหมดปิดการทำงาน (แรงสำหรับลดการสั่นสะเทือนสูงมาก)

สามารแยกการทำงานของระบบ EDC-K ได้เป็นสามส่วน ดังต่อไปนี้ :

- ชุดควบคุม

- ตัวเลือกโปรแกรมและเซ็นเซอร์

- โช้คอัพแบบปรับได้อิสระด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4 ตัว

ฟังก์ชั่นบริการ

ออฟเซ็ตของเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยว

ถ้ามีการถอดเซ็นเซอร์มุมบังคับเลี้ยวออกแล้วติดตั้งใหม่ จะต้องปรับออฟเซ็ตมุมบังคับเลี้ยวโดยใช้ DIS หรือ MoDiC แต่มีเงื่อนไขว่าพวงมาลัยต้องอยู่ในตำแหน่งตรง